ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (2930).jpg|350600px|thumb|พลับพลาอิศริยาภรณ์และเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส]]
'''เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ [[วัดเทพศิรินทราวาส]]''' เป็น[[ฌาปนสถาน]]สำหรับพระราชวงศ์ซึ่งไม่ได้สร้าง[[พระเมรุมาศ]] ที่[[ท้องสนามหลวง]] และ พระศพเจ้านายฝ่ายในราชนิกูล ขุนนาง ข้าราชการผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ชั้นสายสะพายของแต่ละตระกูล และ ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ
 
== ประวัติ ==
=== ยุคเริ่มแรก ===
[[ไฟล์:Royal Crematorium of Prince Issariyaporn and Princess On-arnong 1896 (Wat Debsirin).gif|250300px|thumb|พระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ ณ ลานหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2437]]
นับแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]เป็นต้นมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประเพณีของบ้านเมืองมาแต่โบราณ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตย่อมต้องจัดสร้างพระเมรุมาศ เป็นที่ถวายพระเพลิงที่ท้องสนามหลวงเป็นพระเกียรติยศ นับเป็นธรรมเนียมมาแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เป็นประเพณีที่ถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงนั้น สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้าฟ้า ส่วนพระศพเจ้านายก็ดี ขุนนางก็ดี มีพระราชประเพณีต้องนำออกไปพระราชทานเพลิงในวัดนอกกำแพงเมืองชั้นนอกในเมรุปูน ซึ่ง[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] ทรงสร้างสถานปลงศพเป็นวัตถุถาวรถวาย เรียกสามัญ ว่า “เมรุปูน” ที่[[วัดสุวรรณาราม]]
[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงสันนิษฐานว่า เมื่อแรกสร้างเมรุปูนขึ้นนั้น สำหรับพระศพเจ้านาย ที่มียศไม่สูงศักดิ์ถึงกับสร้างเมรุกลางเมือง ส่วนขุนนางจะเผาในเมรุปูนได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ ดังนั้นเมื่อต้องเผาศพขุนนางนอกกำแพงเมือง จึงต้องนำศพออกไปทางสำราญราษฎร์ออกประตูกำแพงเมืองที่เวลานั้นเรียก “ประตูผี” คือประตูที่นำศพออกไปฝัง หรือเผานอกกำแพงเมือง
บรรทัด 15:
 
=== ยุคสมัยใหม่ ===
[[ไฟล์:วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (29).jpg|300px|thumb|เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส]]
[[พลตรี]] [[หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์]] (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) อดีตเลขาธิการพระราชวัง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมีความคิดที่จะก่อสร้างเมรุถาวรขึ้นที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส โดยให้มีเตาเผาสำหรับเผาศพโกศ ท่านจึงได้ลองเอาความคิดดังกล่าวไปสอบถามเห็นบุคคลหลายฝ่ายเสียงตอบรับความคิดพลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์<ref>{{อ้างหนังสือ||ผู้แต่ง=คณะกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์||ชื่อหนังสือ=หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)||URL=||จังหวัด=กรุงเทพ||พิมพ์ที่=||ปี= พ.ศ. 2514||ISBN=||หน้า=||จำนวนหน้า=280}}</ref>