ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมรุมาศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการก่อกวน
บรรทัด 41:
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคแรก บ้านเมืองยังคงอยู่ในภาวะศึกสงคราม จึงมิได้สร้างพระเมรุมาศสูงใหญ่เทียบเท่าพระเมรุมาศสมัยกรุงศรีอยุธยา <ref name="บทนำพระเมรุมาศ-พระเมรุ"/> ระหว่างรัชกาลที่ 1 - 4 พระเมรุมาศเริ่มเป็นทรงปราสาท พระเมรุมาศองค์แรกที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์คือ พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]] พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิถวายพระราชบิดาหลังจากบ้านเมืองสงบศึก โดยทรงอนุสรณ์คำนึงว่า พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ในระหว่างภาวะสงครามโดยมิได้ประทับร่วมกัน และเพื่อสนองพระคุณ จึงมีพระราชดำริจะบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย<ref name="เครื่องประกอบ"/> และยังมีการจัดงานพระศพเจ้านายสำคัญหลายพระองค์คือ งานพระศพ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี]] [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]]<ref>ธ เสด็จสู่สวรรค์นิรันดร, หน้า 20</ref> ส่วนการพระราชพิธีในงาน [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ยึดหลักอย่างประเพณีอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เพื่อฟื้นฟูประเพณีให้กลับรุ่งเรืองสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ประชาชนและเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมือง และยังมีการประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นคือ การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค สำหรับเชิญพระโกศ คิดค้นโดย[[เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี]]<ref>ธ เสด็จสู่สวรรค์นิรันดร, หน้า 21</ref>
 
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะยึดหลักการสร้างแบบพระเมรุมาศตามตำราโบราณราชประเพณีครั้งกรุงเก่าทุกประการ คือ ทำเป็นพระเมรุอย่างใหญ่ มีตัวพระเมรุ 2 ชั้นต่างไปอยู่ภายในพระเมรุชั้นนอกที่ทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบแผนมีต่างกันไปในรายละเอียดเรื่องการออกแบบตามฝีมือช่าง<ref>ธ เสด็จสู่สวรรค์นิรันดร, หน้า 23</ref> สำหรับพระเมรุมาศพระบรมศพรัชกาลที่ 4 ถือได้ว่า เป็นพระเมรุมาศสุดท้ายที่ทำตามแบบโบราณราชประเพณี แต่พระเมรุใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมียอดเรือนเพียง 5 ยอด ต่างจากแบบเดิมที่มีเรือนยอด 9 ยอด จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าสัญลักษณ์ที่สมบูรณ์อันเป็นแบบแผนในฐานะความเป็นเอกแห่งศูนย์กลางจักรวาลที่ถ่ายทอดออกมาเป็นพระเมรุยอดปรางค์ 9 ยอด ตามแบบอยุธยาได้ยุติลง และกลายเป็นว่ารูปแบบ พระเมรุโท ที่เป็นปรางค์ 5 ยอดตามแบบแผนอยุธยา กลับทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ความเป็นพระเมรุเอก สำหรับกษัตริย์ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น<ref>[https://www.academia.edu/attachments/49613700/download_file?st=MTQ3NjY4MzU2OSwxNzEuOTcuNTMuOSw1NTEyOTYyNw%3D%3D&s=profile งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง ส่วนที่ ๒ : จากอยุธยาสู่รัตนโกสินทร์]</ref>
 
=== สมัยรัชกาลที่ 5 - 8 ===
บรรทัด 90:
=== สมัยรัชกาลที 9 - ปัจจุบัน ===
 
การสร้างพระเมรุมาศตามแบบโบราณราชประเพณีได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]สวรรคต แต่การจัดสร้างพระเมรุมาศเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์กินเวลายาวนานถึง 3 ปี จากอุปสรรคในการวางแผนกำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง ด้วยเหตุว่ากำหนดการเสด็จนิวัติพระนครของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพต้องเลื่อนไปจากการที่ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2491 การก่อสร้างพระเมรุมาศได้สำเร็จลงในปี พ.ศ. 2493 และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม ของปีนั้น หลังจากการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระเมรุมาศองค์นี้เป็นพระเมรุตามเสด็จ สำหรับงานพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์อีก 4 พระองค์คือ [[สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]], [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย]]<ref>ธ เสด็จสู่สวรรค์นิรันดร, หน้า 24</ref> โดยเปลี่ยนนพปฎลมหาเศวตฉัตรที่ยอดพระเมรุมาศเป็นพระเศวตฉัตร 5 ชั้น ตามพระอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ทรงได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ต่อมาเมื่อ[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการสร้างพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวงอีกครั้ง เพื่อใช้ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ [[22 เมษายน]] [[พ.ศ. 2499]] พระเมรุมาศองค์นี้ได้สร้างขึ้นใหม่โดยใช้แบบพระเมรุมาศทรงบุษบกจากงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเป็นพื้นฐานในการออกแบบ หลังจากนั้นการสร้างพระเมรุมาศและพระเมรุที่ท้องสนามหลวงได้ว่างเว้นไปเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ในระยะต่ฃฃดกม่ต่อมาไม่ทรงมีพระอิสริยยศสูงถึงชั้นที่จะสร้างพระเมรุกลางเมือง และได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ [[เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส|พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์]] [[วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร|วัดเทพศิรินทราวาส]] ทั้งสิ้น
 
<center>