ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บารอมิเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37:
[[เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี]] เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นบารอมิเตอร์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาการทดลองที่สำคัญ การสร้างน้ำพุกลางบ่อที่ขุดลึกประมาณ 16-18 เมตร ของแกรนด์ดยุกแห่งทัสโคนี พยายามสูบน้ำในท่อให้สูง 12 เมตรหรือมากกว่า โดยขณะลูกสูบยกน้ำขึ้น จะเกิดสุญญากาศทำให้เกิดแรงยกของเหลวขึ้นที่ปลายท่อขาออก แต่ค้นพบว่าไม่ว่าทำอย่างไรก็ขึ้นไปได้เพียงขีดจำกัดที่ 9-10 เมตร ไม่สามารถสูบให้สูงกว่านี้
 
เมื่อ พ.ศ. 2186 โตร์ริเชลลีทดลองเพิ่มเติมโดยใช้ปรอท ซึ่งหนักเป็น 13-14 เท่าของน้ำ และพบว่าได้ผลทำนองเดียวกัน โดยขีดจำกัดต่ำกว่า เขาสร้างท่อที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร บรรจุด้วยปรอท ปลายข้างหนึ่งตัน แล้วติดตั้งในแนวตั้ง ให้ปลายอีกข้างจมอยู่ในอ่าง ปรอทในท่อถูกยกขึ้นไปกับท่อได้สูงเพียงประมาณ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร แม้ว่าท่อจะถูกยกให้สูงกว่านี้ ภายในเหนือปรอทเป็นสุญญากาศ (Torricellian vacuum) วิธีนี้เป็นที่มาของหน่วยเทียบความดันของอากาศ โดยความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอท และที่ระดับความสูงกว่าระดับน้ำทะเล ความดันอากาศจะน้อยกว่า 760 7600มิลลิเมตรของปรอท
 
ในปี พ.ศ. 2184 เขาประกาศการค้นพบสิ่งนี้ว่า "บรรยากาศเป็นตัวการทำให้เกิดแรงกดของอากาศเปลี่ยนไปในเวลาต่างกัน" และสิ่งนี้คือเครื่องวัดความดันอากาศเครื่องแรก เป็นการค้นพบที่สร้างชื่อเสียงตลอดกาลแก่เขา หลายศตวรรษต่อมา ชื่อหน่วยในการวัดความดัน จึงถูกตั้งตามชื่อนามสกุลของเขาว่า ทอร์ (torr) ซึ่งก็คือหน่วยมิลลิเมตรปรอทนั่นเอง โดยเทียบ 1 มิลลิเมตรปรอท หรือ 1 ทอร์ เท่ากับประมาณ 133.322 ปาสคาล ในหน่วยอนุพันธ์ของหน่วยเอสไอ เขายังทดลองต่อมา พบอีกว่า แรงดันหรือความดันอากาศในแต่ะวัน จะแตกต่างเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ปัจจุบันเข้าใจกันดีว่า ความสูงของของเหลวในท่อแปรผกผันกับความดันอากาศ (ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละระดับความสูง) อีกด้วย