ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทมัส ยอร์ช น็อกซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
}}
 
'''โทมัส ยอร์ช น็อกซ์''' ({{Lang-en|Thomas George Knox}}; พ.ศ. 2367–2430) เป็นกงสุลใหญ่ชาวอังกฤษประจำสยามในสมัย[[รัชกาลที่ 5]]<ref>http://archive.lib.kmutt.ac.th/king4/view.php?g_id=2&&ob_id=190&&page=2</ref> เป็นบุตรของนายเจมส์ สเปนเซอร์ น็อกซ์ กับนางคลารา บาร์บารา แบรส์เฟิร์ด<ref name="บา">[http://www.thepeerage.com/p33215.htm#i332145 thePeerage.com]</ref> เดิมเป็นทหารอังกฤษยศร้อยเอกประจำ[[ประเทศอินเดีย]] กล่าวกันว่าพอเล่นพนันแข่งม้าจนหมดตัว จึงลาออกจากตำแหน่งตามร้อยเอกอิปเป มาทำงานที่สยามในรัชสมัย[[รัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยร้อยเอกอิปเปได้เป็นครูทหารวังหลวง ส่วนนายน็อกซ์ [[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดฯโปรดเกล้าฯ ให้เป็นครู[[วังหน้า]] เป็นผู้ฝึกทหารอย่างยุโรป และยังได้เข้ากองทัพกรมหลวงวงศาธิราชสนิทไปตีเมือง[[เชียงตุง]]
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประทานผู้หญิงวังหน้าชื่อปราง ให้เป็นภรรยา มีลูกด้วยกันสามคน ต่อมาเมื่อรัฐบาลอังกฤษตั้งกงสุลใน[[กรุงเทพฯ]] และด้วยความรู้[[การเมือง]]และ[[ภาษาไทย]] จึงทำงานเป็นผู้ช่วยกงสุล แล้วได้เลื่อนตำแหน่งจนได้เป็นกงสุลเยเนอราล มีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์<ref>http://www.most.go.th/200year/king200year.htm</ref> อีกทั้งยังสนิทและคุ้นเคยกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์<ref>http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&group=8</ref> และได้เป็นกงสุลใหญ่อังกฤษกับอภิรัฐมนตรีในสมัย [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
 
== ชีวิตส่วนตัว ==
โทมัส ยอร์ช น็อกซ์สมรสกับปราง หญิงเชื้อสาย[[ทวาย]]ที่ได้รับพระราชทานจากวังหน้า<ref>พิมาน แจ่มจรัส. ''รักในราชสำนัก''. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2554, หน้า 293</ref> มีบุตรด้วยกัน 3 คน ได้แก่
# [[แฟนนี่นี น็อกซ์]] หรือ แฟนนี ปรีชากลการ (ค.ศ. 1856–1925)<ref>[http://www.librarything.com/subject/Preecha+Kolakan,+Fanny+(Knox),+1856-1925 Preecha Kolakan, Fanny (Knox)]</ref> สมรสกับ[[พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)]] มีบุตรชายเพียงคนเดียว
# [[แคโรไลน์ น็อกซ์|แคโรไลน์ อีซาเบลลา น็อกซ์]] หรือ ดวงแข<ref>[[จิระนันท์ พิตรปรีชา]]. ''ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์''. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552, หน้า 120</ref> (26 มิถุนายน ค.ศ. 1857 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1893)<ref>[http://www.findagrave.com/cgi-bin/fg.cgi?page=gr&GRid=16342374 Findagrave]</ref> สมรสกับ[[หลุยส์ ลีโอโนเวนส์]] บุตรชายของ[[แอนนา ลีโอโนเวนส์]] มีบุตรด้วยกันสองคน
# โทมัส น็อกซ์ (11 กันยายน ค.ศ. 1859 – ค.ศ. 1923)<ref name="บา"/>
 
ต่อมาบุตรสาว แฟนนี่ น็อกซ์ แต่งงานกับ[[พระปรีชากลการ]] (สำอาง อมาตยกุล) ซึ่งเกิดเหตุการณ์ระหองระแหงระหว่างพระปรีชากลกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จากการที่มาจากความประพฤติไม่ชอบของพระปรีชากลการ ทำให้นายน็อกซ์พยายามใช้อิทธิพลของตนในฐานะผู้แทนรัฐบาลอังกฤษสั่งเรือรบเข้ามาข่มขู่รัฐบาลสยามเพื่อช่วยลูกเขย แต่ผลคือพระปรีชากลการถูกลงโทษ[[ประหารชีวิต]] พร้อมถูกริบราชบาตร นายน็อกซ์ถูกทางการอังกฤษเรียกตัวกลับไป นางแฟนนี่ นีลูกสาวต้องหนีออกนอกประเทศและไม่มีข่าวหลังจากนั้นอีกเลย<ref>ไกรฤกษ์ นานา, "ฟื้นปริศนาคดีประวัติศาสตร์ นางแฟนนี่ น็อกซ์ แก้ต่างความผิดให้พระปรีชากลการ". นิตยสารศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 7 พฤษภาคม 2551 หน้า 106-121 </ref>
 
อนึ่ง ในช่วงแรกที่นายนอกซ์เป็นกงสุลนั้น มีชาวอังกฤษชื่อ[[เฮนรี อาลาบาศเตอร์]] ดำรงตำแหน่งเป็นรองกงสุล ซึ่งต่อมาคือต้นตระกูลของ[[พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา]] [[องคมนตรี]]