ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารวีเอ็กซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
IAMAI1005 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
IAMAI1005 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 61:
| FlashPt_notes = <ref>{{cite web|url=http://www.ilpi.com/msds/vx.html |title=Material Safety Data Sheet: Nerve Agent (VX) |accessdate=October 25, 2007 |date=December 22, 2000|origyear=1998 |website=ilpi.com|publisher=Interactive Learning Paradigms Incorporated}}</ref>}}
}}
'''สารวีเอกซ์''' (VX ย่อมาจาก venomous agent X) มีชื่อทางเคมีคือ Methylphosphonothioic acid S-[2-[bis (1-methylethyl) amino]ethyl] O-ethyl ester และมีสูตรเคมีคือ <chem>C11H26NO2PS</chem> หรือ CH3-P(=O)(-SCH2CH2N[CH(CH3)2]2)(-OC2H5)<ref>{{citeweb|title= วีเอ็กซ์ (VX): สุดยอดมฤตยูร้ายอาวุธเคมี|url=http://webdbnih.dmsc.moph.go.th/ifc_toxicdata/a_tx_2data/fact_sheet/4_002c60.asp?info_idpdf|publisher=ศูนย์พิษวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข|accessdate=oct 26,2017|language=58thai}}</ref> สารวีเอกซ์เป็นสารพิษอันตรายทำลายประสาท ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม[[ออกาโนฟอสเฟต]] ถ้าอยู่ในรูปของสารบริสุทธิ์จะไม่มีสี แต่ถ้าอยู่ในรูปของสารที่ไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาล สารชนิดนี้ไม่มีกลิ่นและรส นอกจากนี้ยังไม่ระเหย สามารถแพร่กระจายอยู่ในสภาพแวดล้อมได้เป็นเวลานาน จึงมักถูกนำไปใช้เป็น[[อาวุธเคมี]]ซึ่งเป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตได้ 
 
== ประวัติการใช้สารวีเอ็กซ์ ==
สารวีเอ็กซ์ถูกค้นพบขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปีค.ศ. 1950 โดยนักเคมีที่มีชื่อว่ารานาจิ กอช หลังจากนั้นในปีค.ศ.1955 สารนี้ได้ถูกนำไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ในการทำอาวุธสังหาร และในปีค.ศ. 1961สหรัฐอเมริการได้ผลิตสารชนิดนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปเก็บไว้ที่คลังอาวุธเพื่อใช้ในยามสงคราม นอกจากนี้ยังมีประเทศอิรักที่ผลิตสารชนิดนี้ออกมาเป็นจำนวนมากกว่า 5,000 ตัน<ref>{{citeweb|last1=MacCurry|first1= Justin|title= What is the VX nerve agent that killed North Korean Kim Jong-nam?| url=https://www.theguardian.com/world/2017/feb/24/what-is-vx-nerve-agent-killed-kim-jong-nam-north-korea|publisher=the guardian|accessdate=Oct 26,2017|language=thai}}</ref> เคยถูกนำไปใช้โจมตีชาวเคิร์ดและสงครามอิรัก-อิหร่านในปี1988อีกด้วย
 
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 2017 คิมจองนัม ผู้ซึ่งเป็นพี่ชายของคิมจองอึนผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ เสียชีวิตจากการลอบสังหารด้วยสารพิษชนิดนี้ในประเทศมาเลเซีย จากการตรวจสอบ พบว่าพบสารวีเอ็กซ์บนใบหน้าของคิมจองนัม ผู้ต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนลอบสังหารคิมจองนัมคือผู้หญิงชาวเวียดนาม ซึ่งผู้หญิงคนนี้ก็เกิดอาการที่ได้รับสารวีเอ็กซ์เช่นกัน แม้จะใส่ถุงมือป้องกันแต่สารวีเอ็กซ์ก็ยังสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้<ref>{{citeweb|title= VX (nerve agent)|url=https://en.wikipedia.org/wiki/VX_(nerve_agent)#History|publisher=wikipedia|accessdate=oct 25, 2017|language=thai}}</ref>
 
== สมบัติทางกายภาพของสารวีเอกซ์ ==
สารวีเอกซ์มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 267.368  เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ความหนาแน่นใกล้เคียงกับน้ำคือ 1.0083 g cm<sup>−3</sup> มีลักษณะคล้ายน้ำมันเครื่องเพราะมีความเหนียวสูงและระเหยยาก ถูกจัดว่าเป็นสารพิษทำลายประสาทที่มีการระเหยยากที่สุด มีลักษณะเป็นไฮโดรโฟบิกคือเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ นอกจากนี้สารดังกล่าวสามารถคงอยู่ได้หลายวันหากอยู่ในอุณหภูมิปกติและอยู่ได้หลายเดือนหากอยู่ในอุณภูมิที่ต่ำ สารวีเอกซ์อยู่ได้ทั้งในรูปของเหลวและก๊าซหากอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง<ref>{{citeweb|title= VX (nerve agent)|url=http://www.newworldencyclopedia.org/entry/VX_(nerve_agent)#History|publisher=new world encyclopedia|accessdate=oct 26, 2017|language=thai}}</ref>
 
== สารวีเอ็กซ์ในร่างกาย ==
 
=== อาการ ===
สารดังกล่าวสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การแทรกซึมผ่านผิวหนัง และการผ่านเข้าสู่ดวงตา ฉะนั้นเมื่อร่างกายได้สัมผัสกับสารชนิดนี้ในปริมาณที่เป็นอันตราย (ประมาณ 5-10 มิลลิกรัม) แล้วระบบเอนไซม์ของร่ายกายจะถูกรบกวน ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ก่อให้เกิดอาการชัก หายใจไม่ออก ร่างกายเป็นอัมพาตและระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมจะเกิดอาการหลากหลาย เช่น น้ำลายฟูมปาก ท้องเสีย คลื่นไส้ หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ <ref>{{citeweb|title=ทำความรู้จักกับสารพิษที่VXใช้สังหารคิมจองนัม|url=https://www.posttoday.com/world/news/482487|publisher=posttoday|accessdate=Oct 25,2016|language=thai}}</ref>
 
=== วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ===
บรรทัด 80:
* การผ่านเข้าสู่ดวงตา: ล้างดวงตาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (respiratory protective mask) และรีบไปพบแพทย์โดยทันที
* สัมผัสกับผิวหนัง: สวมอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (respiratory protective mask) ถอดเสื้อผ้าที่ได้รับสารปนเปื้อนออกทันที หลังจากนั้นรีบล้างผิวหนังส่วนที่โดนสารด้วยสบู่กับน้ำ และรีบไปพบแพทย์โดยทันที
* การกลืนกิน: ห้ามพยายามอาเจียนโดยเด็ดขาด ต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด<ref>{{citeweb|title=MSDS: Lethal Nerve agent (VX)|url=https://cryptome.org/vx-msds.htm|accessdate=oct 25,2016|language=thai}}</ref>
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}