ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดของประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mayrakis (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7203660 สร้างโดย Potapt (พูดคุย)
บรรทัด 1:
{{เขตการปกครองของประเทศไทย}}
 
'''[[จังหวัด]]''' เป็น[[การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย|เขตบริหารราชการส่วนภูมิภาค]]ของ[[ประเทศไทย]] ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด{{Ref_label|A|ก|none}} (ทั้งนี้ [[กรุงเทพมหานคร]]ไม่เป็นจังหวัด{{Ref_label|B|ข|none}}) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ [[อำเภอ]]เข้าด้วยกันและมีฐานะเป็น[[นิติบุคคล]] ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วย[[ผู้ว่าราชการจังหวัด]]
 
เส้น 13 ⟶ 12:
=== การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435 ===
[[ไฟล์:Thailand monthon 1915.png|thumb|300px|แผนที่มณฑลเทศาภิบาล [[พ.ศ. 2458]]]]
[[พ.ศ. 2435]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้ง[[กระทรวง]]ขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับ[[กระทรวงมหาดไทย]] โดยมี[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์[[ปฐมเสนาบดี]]
 
เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]]จึงได้เริ่มมีขึ้นในปี [[พ.ศ. 2437]] โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูงสุดไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลางสามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และลิดรอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง
เส้น 23 ⟶ 22:
เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงลาออกจาตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี [[พ.ศ. 2458]] นั้น ประเทศสยามได้แบ่งการปกครองออกเป็น 19 มณฑล 72 จังหวัด ทั้งนี้ ได้รวมถึง[[จังหวัดพระนคร]] ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ[[กระทรวงนครบาล]]จนถึง [[พ.ศ. 2465]]
 
เดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2458]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "[[อุปราช]]" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปี [[พ.ศ. 2465]] อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงในปี [[พ.ศ. 2468]] และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]
 
=== สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ===
เส้น 29 ⟶ 28:
หลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ระบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]]ถูกยกเลิกในปี [[พ.ศ. 2476]] ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง [[พ.ศ. 2500]] เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี [[พ.ศ. 2515]] ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของ[[จังหวัดอุบลราชธานี]]มาจัดตั้งเป็น[[จังหวัดยโสธร]] ในปี [[พ.ศ. 2520]] มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของ[[จังหวัดเชียงราย]]มาจัดตั้งเป็น[[จังหวัดพะเยา]] ในปี [[พ.ศ. 2525]] ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของ[[จังหวัดนครพนม]]มาตั้งเป็นจังหวัด[[จังหวัดมุกดาหาร]] ในปี [[พ.ศ. 2536]] ได้มีการตั้งจังหวัดขึ้นมาพร้อมกัน 3 จังหวัดคือ[[จังหวัดหนองบัวลำภู]] (แยกจาก[[จังหวัดอุดรธานี]]) [[จังหวัดสระแก้ว]] (แยกจาก[[จังหวัดปราจีนบุรี]]) และ[[จังหวัดอำนาจเจริญ]] (แยกจาก[[จังหวัดอุบลราชธานี]]) และจังหวัดล่าสุดของ[[ประเทศไทย]]คือ[[จังหวัดบึงกาฬ]] (แยกจาก[[จังหวัดหนองคาย]]) ในปี [[พ.ศ. 2554]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2514]] ได้มีการรวม[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]]ขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ "'''นครหลวงกรุงเทพธนบุรี"''' และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "'''[[กรุงเทพมหานคร]]"''' เมื่อ [[พ.ศ. 2515]] ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของ[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]ซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้นมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจาก[[กระทรวงมหาดไทย]]อย่างผู้ว่าราชการจังหวัด <!--ในปัจจุบันนี้มีทั้งหมด77จังหวัด(ถ้านับ[[กรุงเทพมหานคร]]ด้วย)ซึ่งจังหวัดที่เพิ่มมาคือ[[จังหวัดบึงกาฬ]]เมื่อก่อนเป็น[[อำเภอ]]หนึ่งใน[[หนองคาย]]-->
 
== การแบ่งอย่างเป็นทางการ ==