ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌอร์ฌ ด็องตง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
'''ฌอร์ฌ ฌัก ด็องตง''' ({{lang-fr|Georges Jacques Danton}}) เป็นนักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวคนสำคัญในช่วงต้นของ[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] นักประวัติศาสตร์ได้อธิบายว่าเขาเป็น ''"หัวหอกที่โค่นล้มระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสและสถาปนา[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1]]"''<ref>{{cite web|url=http://www.britannica.com/eb/article-9028728/Georges-Danton|title=Georges Danton profile|publisher=Britannica.com|accessdate=20 February 2009}}</ref>
 
ในช่วง[[สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว]] เขาในฐานะเลขาสภาพยายามผลักดันให้สภาฝรั่งเศสรักษาสันติภาพกับบรรดาต่างชาติไว้ แต่ท้ายที่สุด สภาก็ประกาศสงครามกับมหาอำนาจยุโรปอย่างอังกฤษ สเปน และโปรตุเกส ด็องตงหันไปร่วมมือกับนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่ง ลงบทความหนังสือพิมพ์ชื่อ '' Le Vieux Cordelier'' ซึ่งเรียกร้องให้ยุติ[[สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว]]และการกีดกันศาสนาคริสต์ รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการกรรมาธิการความปลอดภัยฯ การกระทำนี้ทำให้เขาขัดแย้งกับคณะกรรมการกรรมาธิการความปลอดภัยฯ ซึ่ง[[มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์]] กุมอำนาจอยู่ ส่งผลให้เริ่มมีคนพยายามขุดคุ้ยหาความผิดของเขา<ref>{{cite book|last=Andress|first=David|title=The Terror: The Merciless Fight for Freedom in Revolutionary France|year=2005|publisher=Farrar, Straus and Giroux|location=New York|isbn=978-0-374-53073-0|pages=271}}</ref>
 
ด็องตงถูกฟ้องร้องในข้อหาทุจริตรับผลประโยชน์ในช่วงที่เขาเรืองอำนาจ เขาถูกเพื่อนร่วมงานของเขาให้การถึงความอู้ฟู่ในช่วงการปฏิวัติฯ รวมไปถึงทรัพย์สินอันไม่สามารถอธิบายที่มาได้<ref>Hampson, Norman, ''The Life and Opinions of Maximilien Robespierre'' (London: Gerald Duckworth & Co., 1974), p. 204</ref> แต่หลักฐานที่นำมาแสดงกลับค่อนข้างคลุมเครือและไม่ปะติดปะต่อ ตัวด็องตงเองแม้จะถูกฟ้องร้องแต่ก็ไม่หนีไปไหนและยังคงทำงานที่สภา ในที่สุดด็องตงก็ถูกเข้าจับกุมอย่างฉับพลันในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1794 และถูกนำตัวไปประหารด้วย[[กิโยตีน]]ในอีก 6 วันให้หลัง