ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
 
=== '''ประวัติความเป็นมา''' ===
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เริ่มต้นจากการเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านกะช่อง หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ต่อมาประกาศจัดตั้งเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตามพระราชกฤษฎีกาพิเศษ หน้าที่ 1 ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 181 ลงวันที่ 4 กันยายน 2518 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 805,000 ไร่ แต่ในปี พ.ศ. 2520 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดสตูลออกให้นิคมสร้างตนเองภาคใต้จังหวัดสตูล เพื่อจัดให้ราษฎรทำกิน ปี พ.ศ. 2524 ได้เกิดอุทกภัยภาคใต้อย่างร้ายแรง ทำให้ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ ได้รับความเสียหาย ประกอบกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรมป่าไม้ในสมัยนั้น ได้จัดตั้งขึ้นซ้ำซ้อนในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกิดการเข้าใจผิดประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ไม่สามารถแยกแยะหน่วยงานแต่ละเขตรับผิดชอบแต่ละหน่วยงานได้ จึงได้ย้ายที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดไปอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านนาวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอศรีนครินทร์) จังหวัดพัทลุง เพราะเป็นสถานที่เหมาะสม คล่องตัวในการปฏิบัติงานและติดต่อประสานงานกับหน่วยราชการอื่นๆ ได้สะดวก และ ในปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนออกเพื่อสร้างและขยายถนนเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 (พัทลุง-ตรัง) เหลือพื้นที่ประมาณ 791,871.81 ไร่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 102 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2528 และปี พ.ศ. 2530 ก็ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดออกอีก เพื่อมอบพื้นที่ให้กองทัพภาคที่ 4 จัดตั้งกรมอาสาสมัครทหารพรานที่ 4154 เป็นสถานที่ฝึกการรบเป็นพิเศษของกองทัพขึ้น ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่รับผิดชอบอยู่ประมาณ 791,847 ไร่ หรือ 1266.96 ตารางกิโลเมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 104 ตอนที่ 278 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2530 
 
'''ประกาศในราชกิจจานุเบกษา:'''4/9/2518[104/278]
บรรทัด 35:
 
====== '''ลักษณะของชุมชนในพื้นที่''' ======
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพัทลุง โรงเรียนบ้านนาวง สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง หน่วยจัดการต้นน้ำคลองบางแก้ว สำนักงานสวนพฤกษศาตร์ สถานีเพาะชำกล้าไม้ จังหวัดตรัง ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9 สถานีวิจัยและพัฒนาการปลูกหวายเทือกเขาบรรทัด ชื่อหน่วยงาน เขาบรรทัด พื้นที่รับผิดชอบ 791976 ไร่ หรือ 1,267.16 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ในแผนที่สภาพภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 หมายเลขระวาง 4923 I , 4923 II , 4924 II , 5023 III , 5023 V จำนวนหน่วยพิทักษ์ป่า 1. สำนกงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 2. หน่วยพิทักษ์ป่าหรือหน่วยย่อย หน่วยพิทักษ์ป่าเขาช่อง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 7 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พิกัด 876348 หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกสายรุ้ง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง พิกัด 897224 หน่วยพิทักษ์ป่าไพรสวรรค์ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 4 ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง พิกัด 905192 หน่วยพิทักษ์ป่าโตนเต๊ะ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พิกัด975066 หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พิกัด 6-01-355 E 7-84-386 N หน่วยพิทักษ์ป่าเหนือคลอง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล พิกัด 6-12-876- E 7-73-210 N129747 หน่วยพิทักษ์ป่าท่ามะปราง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา พิกัด 217905 หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งนารี ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง พิกัด 187910 หน่วยพิทักษ์ป่าตะโหมด ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 11 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัด พัทลุง พิกัด 141014 หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัด พัทลุง พิกัด 6-06-427E 8-13-483N หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านโตน ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที 6 ตำบลลำสินธุ์ กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง พิกัด 991274 หน่วยพิทักษ์ป่าย่อยบ้านตระ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พิกัด 6-03-425E 7-99-761N หน่วยพิทักษ์ป่าคีรีวง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล พิกัด 885855 หน่วยพิทักษ์ป่าย่อยหินจอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พิกัด 918948 หน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร เพิ่มหลัง กย.2545
 
====== '''การคมนาคม''' ======
มีความสะดวกมากเพราะที่ตั้งสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด อยู่ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4 ) จังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตรสามารถเดินทางได้โดย 1. เส้นทางรถยนต์มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน 2. เส้นทางรถไฟสายพัทลุงต่อรถยนต์โดยสารประจำทาง พัทลุง-ตรัง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร 3. เส้นทางอากาศโดยเครื่องบิน ลงที่สนามบินตรัง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางจากตรังไปตามถนนเพชรเกษม ตรัง-พัทลุง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 40กิโลเมตร ถ้าลงที่สนามบินหาดใหญ่แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปตามถนนเพชรเกษมสายหาดใหญ่-ตรัง ถึงสำนักงานเขตฯระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร สถานที่โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานได้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 93000 โทรศัพท์สาธารณะ 074-614456
 
====== '''ที่ตั้ง''' ======
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7องศา 10 ลิปดา ถึง 7 องศา 35 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 o.45/ ถึง 100 o 05 / ตะวันออก สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านนาวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา กิ่งอำเภอครีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ชิดทางหลวงหมายเลข 4 (ด้านซ้ายมือถนนเพชรเกษม) ช่วงพัทลุง-ตรัง ห่างจากตัวจังหวัดพัทลุงประมาณ 27 กิโลเมตร และจังหวัดตรัง ประมาณ 35 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 962 กิโลเมตร มี 12 อำเภอ 4 จังหวัด ดังนี้ 1. จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ประมาณ 265,625 ไร่ หรือประมาณ 425 ตารางกิโลเมตร (25 หมู่บ้าน 8 ตำบล 4 อำเภอ) - กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ (อำเภอเมืองเดิม) หมู่ที่ 1,2,4,5,7 ตำบลบ้านนา หมู่ที่ 5,6 ตำบลนำสินธุ์ - อำเภอกงหรา หมู่ที่ 1,5,8,9,11 ตำบลคลองเฉลิม หมู่ที่ 1,2,4,7 หมู่ที่ 5,7 ตำบลคลองทรายขาว และหมู่ที่ 5,7 ตำบลกงหรา - อำเภอตะโหมด หมู่ที่ 2,4,6,9,11 ตำบลตะโหมด หมู่ที่ 4 ตำบลคลองใหญ่ - อำเภอป่าบอน หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี หมู่ที่ 1,6 ตำบลหนองธง 2. จังหวัดตรัง เนื้อที่ประมาณ 259,375 ไร่ หรือประมาณ 415 ตารางกิโลเมตร (18 หมู่บ้าน 5 ตำบล 3 อำเภอ) - อำเภอนาโยง หมู่ที่ 2,3,4,5,7 ตำบลช่อง - อำเภอย่านตาขาว หมู่ที่ 2,4,8 ตำบลนาชุมเห็ด หมู่ที่ 1,4,6 ตำบลโพรงจระเข้ - อำเภอปะเหลียน หมู่ที่ 2,4,5,10,11 ตำบลปะเหลียน หมู่ที่ 5,6 ตำบลลิพัง 3. จังหวัดสตูล เนื้อที่ประมาณ 210,000 ไร่หรือประมาณ 336 ตารางกิโลเมตร(8 หมู่บ้าน 6 ตำบล 4 อำเภอ) - อำเภอทุ่งหว้า หมู่ที่ 7,9 ตำบลทุ่งหว้า หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแก่บ่อหิน - อำเภอละงู หมู่ที่ 4,10 ตำบลน้ำผุด - กิ่งอำเภอมะนัง หมู่ที่ 5,6 ตำบลปาล์มพัฒนา - อำเภอควนกาหลง หมู่ที่ 8 ตำบลควนกาหลง (หมู่ที่ 5,6 ตำบลควนกาหลงหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง เป็นที่ที่จะดำเนินการผนวกเพิ่มเติม) 4.จังหวัดสงขลาเนื้อที่ประมาณ 56,976 ไร่ หรือประมาณ 91 ตารางกิโลเมตร (5หมู่บ้าน 2 ตำบล 1 อำเภอ) - อำเภอรัตภูมิ หมู่ที่ 8,9 ตำบลท่าชะมวง หมู่ที่ 5,6,9 ตำบลเขาพระ
 
=== '''ข้อมูลด้านกายภาพ''' ===
บรรทัด 63:
 
====== '''สถานที่ติดต่อ''' ======
บ้านนาวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอศรีนครินทร์) จังหวัดพัทลุง
 
== อ้างอิง ==