ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Black Lantern (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Black Lantern (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 72:
 
== เบื้องหลัง ==
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาติมหาอำนาจยุโรปไม่มีปัญหากับการรักษาไว้ซึ่ง[[สมดุลของอำนาจ]]ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากเครือข่ายพันธมิตรทางการเมืองและทหารอันซับซ้อนทั่วทั้งทวีปจนถึง ค.ศ. 1900<ref name=Willmott15/> พันธมิตรเหล่านี้ถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1815 ด้วย[[พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์]][[ยุทธการซาริกามิช]]ระหว่าง[[รัสเซีย]] ปรัสเซียและออสเตรีย จากนั้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1873 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี [[ออตโต ฟอน บิสมาร์ก]] เจรจาตั้ง[[สันนิบาตสามจักรพรรดิ]]ระหว่างพระมหากษัตริย์ของออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและเยอรมนี ความตกลงดังกล่าวล้มเหลวเพราะออสเตรีย-ฮังการีและรัสเซียไม่สามารถตกลงกันได้ในนโยบายเหนือ[[คาบสมุทรบอลข่าน]] ทิ้งให้เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีจัดตั้งพันธมิตรกันสองประเทศใน ค.ศ. 1879 เรียกว่า [[ทวิพันธมิตร]] ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิธีการตอบโต้อิทธิพลของรัสเซียในคาบสมุทรบอลข่านเมื่อจักรวรรดิออตโตมันอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง<ref name=Willmott15 /> ใน ค.ศ. 1882 พันธมิตรนี้ขยายรวมไปถึงอิตาลีและเกิดเป็น[[ไตรพันธมิตร]]<ref name=keegan52>{{harvnb|Keegan|1998|p=52}}</ref>
 
หลัง ค.ศ. 1870 ความขัดแย้งในยุโรปเบี่ยงเบนไปส่วนใหญ่ผ่านเครือข่ายสนธิสัญญาที่มีการวางแผนไว้อย่างระมัดระวังระหว่างจักรวรรดิเยอรมันกับประเทศที่เหลือในยุโรปด้วยฝีมือของนายกรัฐมนตรีบิสมาร์ค เขาเน้นการทำงานเพื่อยึดรัสเซียให้อยู่ฝ่ายเดียวกับเยอรมนีเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามสองแนวรบกับฝรั่งเศสและรัสเซีย เมื่อ[[สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2]] เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเยอรมนี (ไกเซอร์) พันธมิตรของบิสมาร์คค่อย ๆ ถูกลดความสำคัญลง เช่น จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงปฏิเสธจะต่อ[[สนธิสัญญาประกันพันธไมตรี]]กับรัสเซียใน ค.ศ. 1890 อีกสองปีต่อมา มีการลงนามจัดตั้ง[[พันธมิตรฝรั่งเศส-รัสเซีย]]เพื่อตอบโต้อำนาจของไตรพันธมิตร ใน ค.ศ. 1904 สหราชอาณาจักรประทับตราเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่า [[ความตกลงฉันทไมตรี]] และใน ค.ศ. 1907 สหราชอาณาจักรและรัสเซียลงนามใน[[อนุสัญญาอังกฤษ-รัสเซีย]] ระบบนี้ประสานความตกลงทวิภาคีและก่อตั้ง[[ไตรภาคี]]<ref name=Willmott15/>