ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณกรรมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
วรรณคดีไทย คือ วรรณกรรมทุกประเภทไม่ว่าในลักษณะร้อยแก้ว หรือร้อยกรองที่ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาไทย โดยมีเอกลักษณ์ของการใช้ภาษาแบบไทย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์สร้างสรรค์วรรณคดี และเป็นสาเหตุประการสำคัญยิ่งที่ทำให้ลักษณะวรรณคดีของชาติในแต่ละยุคแตกต่างกัน วรรณคดีไทยที่ปรากฎขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 มีลักษณะที่สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตอนที่ชาวไทย หรือชาวสยาม ได้เริ่มพัฒนาภาษาของตนขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากภาษาของชนที่พูด[[ตระกูลภาษาไท-กะได|ภาษาไท-กะได]]เผ่าอื่น โดยเริ่มมีหลักฐานปรากฎชัดราวสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเริ่มการปกครองโดยกษัตริย์[[ราชวงศ์พระร่วง]] คนไทยกำลังแสวงหาลักษณะเฉพาะของชาติ วรรณคดีสุโขทัยก็ได้สะท้อนความจริงนี้ และได้บันทึกถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นต้นเค้าของลักษณะไทย เช่น การบันทึกในศิลาจารึกเรื่องการประดิษฐ์ตัว[[อักษรไทย]] โดยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่สาม เมื่อ พ.ศ. 1826 การประกาศใช้กฎหมายมรดก กฎหมายการค้าระเบียบและสิทธิการฟ้องร้องคดีศาล การนำพุทธศาสนามาอบรมปลูกฝัง เพื่อให้เป็นศาสนาประจำชาติ การประพฤติธรรมอย่างเคร่งครัดอันเป็นต้นเค้าของประเพณีต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ดังนี้เป็นต้น
 
เมื่อชาติไทยมีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างดีแล้ว ลักษณะของวรรณคดีไทยก็เปลี่ยนจากรูปแบบการบันทึกและจากวรรณคดีศาสนา เป็นวรรณคดีสะเทือนอารมณ์ พร้อมด้วยศิลปะการแต่งที่ประณีตลึกซึ้งขึ้น และเมื่อคนไทยติดต่อกับชนชาติยุโรป ก็สามารถรับความคิดทางวรรณคดีของยุโรปได้โดยคงลักษณะความเป็นไทยไว้เป็นอย่างดี