ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจดีย์ชเวมอดอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
| height_max = {{convert|114|m|ft|0|abbr=on}}
}}
'''เจดีย์ชเวมอดอ''' ({{lang-my|ရွှေမောဓော ဘုရား}} {{IPA-my|ʃwè mɔ̀dɔ́ pʰəjá|pron}}; {{lang-mnw|ကျာ်မုဟ်တ}} {{IPA-my|tɕaɪʔmṵtú|pron}}) เป็นเจดีย์สำคัญที่อยู่ในเมือง[[พะโค]] [[ประเทศพม่า]] มีความสูง {{convert|114|m|ft|0|abbr=on}} ถือเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศพม่า แต่[[เจดีย์ชเวดากอง]] ในเมือง[[ย่างกุ้ง]] มักถูกบันทึกว่าเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศ {{convert|98|m|ft|0|abbr=on}} เพราะประดิษฐานบนเนินเขา เจดีย์ชเวมอดอเชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและ[[พระเขี้ยวแก้ว]]ของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] เจดีย์ชเวมอดอ เจดีย์ชเวดากอง และ[[พระธาตุไจทีโย]] เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสร้างโดย[[ชาวมอญ]] เทศกาลประจำปีเฉลิมฉลองพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ มักจัดในช่วงเดือนตะกู (Tagu) ในตามปฏิทินพม่าแบบดั้งเดิม<ref>{{cite news|url=http://www.mmtimes.com/no416/n017.htm|title=Shwemawdaw Pagoda welcomes in the New Year|author=Zaw Winn|date=28 April 2008|work=Myanmar Times|accessdate=5 March 2012|archiveurl=//web.archive.org/web/20111108234136/http://www.mmtimes.com/no416/n017.htm|archivedate=8 November 2011}}</ref>
 
==ประวัติ==
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ มีชื่อเรียกใน[[ภาษามอญ]]และ[[คนไทย]]คุ้นเคยกับชื่อนี้คือ พระธาตุมุเตา แปลว่า "จมูกร้อน" ทั้งนี้เพราะกล่าวกันว่าพระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้สูงมาก ต้องแหงนหน้ามองจนต้องกับ[[แสงอาทิตย์|แสงแดด]] ปัจจุบันพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอมีความสูงที่ 114 เมตร เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศพม่า
 
มีการสันณิฐานว่าพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ ถูกสร้างขึ้นราวประมาณ[[คริสต์ศตวรรษที่ 10]] ตั้งแต่สมัย[[อาณาจักรมอญ]]เรืองอำนาจ เดิมพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอมีความสูง {{convert|21|m}} สร้างโดย[[ชาวมอญ]] ตามตำนานเล่าว่าพ่อค้าชาวมอญสองคนชื่อ มหาศาล และ จุลศาล ได้เดินทางไปอินเดียสมัยพุทธกาลและได้รับพระเกศาธาตุจากพุทธองค์ นำกลับมาประดิษฐาน ณ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ ภายหลังได้มีการบรรจุพระเขี้ยวแก้วไว้ในพระมหาเจดีย์เมื่อปี ค.ศ. 982 และ ปี ค.ศ. 1385 ในสมัย[[พระเจ้าราชาธิราช]] ต่อมาในสมัย[[พระเจ้าธรรมเจดีย์]] ได้โปรดให้มีการสร้างพระวิหารและหล่อ[[ระฆัง]]ถวาย
 
ในสมัย[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] ใช้เป็นที่ทำพระราชพิธีเจาะพระกรรณเมื่อครั้งพระองค์ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ ที่ตองอู ภายใต้วงล้อมของทหารมอญหลายหมื่นนายที่เป็นศัตรู แต่ก็ไม่อาจทำอะไรพระองค์ได้<ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/5/2014-06-22/22/|title= Chill Out Travel Note: Myanmar|date=22 June 2014|accessdate=23 June 2014|publisher=ช่อง 5}}</ref> ภายหลังพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้สามารถยึดพะโคเป็นราชธานีแห่งใหม่ได้สำเร็จ ในรัชกาลต่อมา คือ [[พระเจ้าบุเรงนอง]]ได้มีการสร้างฉัตรถวายเพิ่มเติมอีกหลายชั้น จนพระมหาธาตุเจดีย์สูงขึ้นอีกหลายเท่า และได้มีการถวายพระมงกุฏเป็นพุทธบูชา อีกทั้งกล่าวกันว่าก่อนที่พระองค์จะออกทำศึกคราใด จะทรงมานมัสการพระมหาธาตุเจดีย์นี้ก่อนทุกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันจุดที่เชื่อว่าพระองค์ทำการสักการะก็ยังปรากฏอยู่ และ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]เมื่อครั้งยกทัพมาตีพะโคก็ได้เสด็จมานมัสการ ในสมัย[[พระเจ้าปดุง]]ได้มีการถวายฉัตรยอดพระเจดีย์องค์ใหม่
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระมหาเจดีย์ได้รับความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวหลายครั้ง รวมทั้งในปี ค.ศ. 1917 และ ปี ค.ศ. 1930 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1917 ทำให้ยอดพระเจดีย์พังลงมา หลังการบูรณะได้มีการเก็บส่วนยอดพระเจดีย์ที่พังลงมาไว้ในจุดเดิม
 
ในประเทศไทย มีเจดีย์จำลองของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ ที่[[วัดชมภูเวก]] [[อำเภอเมืองนนทบุรี|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ซึ่งเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายมอญ<ref>''ร่วมรากเดียวกัน'', รายการทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2556</ref> และที่[[วัดปรมัยยิกาวาส]] บน[[เกาะเกร็ด]] ใน[[อำเภอปากเกร็ด]] จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายมอญเช่นเดียวกัน<ref>หวน พินธุพันธ์. ''ประวัติศาสตร์เมืองนนทบุรี''. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547, หน้า 38</ref>
 
==คลังภาพ==
บรรทัด 60:
{{5ศาสนวัตถุสำคัญของพม่า}}
 
{{เรียงลำดับ|ชเวมอดอ}}
[[หมวดหมู่:เขตหงสาวดี]]
[[หมวดหมู่:เจดีย์ในประเทศพม่า|ชเวมอดอ]]