ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่ายกักกันนาซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่ใช่เผชิญหน้าแต่ให้มาดูศพสิ่งทีนาซีทำ ลบภาพเสีย
บรรทัด 1:
{{ดูเพิ่มที่|ค่ายมรณะ}}
[[ไฟล์:NaziConcentrationCamp.gif|thumb|right|375px|กองกำลังสหรัฐอเมริกา ณ ค่ายกักกันซึ่งได้รับการปลดปล่อย เผชิญหน้ากับแสดงให้พลเรือนชาวเยอรมันเห็นพร้อมกับหลักฐาน: รถบรรทุกซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ]]
[[นาซีเยอรมนี]]ได้จัดตั้ง'''[[ค่ายกักกัน]]'''ขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลัง[[เหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก]] ในปี ค.ศ. 1933 โดยตั้งใจที่จะคุมขังนักโทษการเมืองและผู้ต่อต้านรัฐบาล ค่ายกักกันดังกล่าวได้เพิ่มจำนวนขึ้นอีกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เมื่อมีการคุมขังนักโทษการเมืองและกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่มโดยไม่มีการไต่สวนหรือกระบวนการตุลาการ คำดังกล่าวเป็นคำยืมมาจาก ''ค่ายกักกันอังกฤษ'' ระหว่าง[[สงครามอังกฤษ-บัวร์ครั้งที่สอง]] นักวิชาการเรื่อง[[การล้างชาติโดยนาซี]] (Holocaust) ได้กำหนดข้อแตกต่างระหว่างค่ายกักกัน (ดังที่อธิบายในบทความนี้) แล[[ค่ายมรณะ]] ซึ่งเป็นค่ายที่สร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสังหารประชากรจำนวนมากลงเพียงอย่างเดียว ได้แก่ ชาวยิวในทวีปยุโรป ชาวโปล ชาวยิปซี และชาติอื่น ๆ ค่ายมรณะรวมไปถึง เบลเซค โซบิบอร์ ทริบลิงก้า และเอาชวิตซ์-เบอร์เคนาว
 
== ค่ายกักกันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ==
[[ไฟล์:Konzentrazionslager.png|thumb||left|300px|ค่ายกักกันหลักของนาซีเยอรมนีในทวีปยุโรป เมื่อปี ค.ศ. 1944]]
ภายหลังการปะทุของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ในปี ค.ศ. 1939 ค่ายกักกันนาซีได้กลายเป็นสถานที่คุมขังศัตรูของนาซี ระหว่างสงคราม ค่ายกักกันสำหรับ "ผู้ไม่พึงปรารถนา" นี้ได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป มีการสร้างค่ายใหม่ ๆ ขึ้นใกล้กับศูนย์กลางของประชากร "ผู้ไม่พึงปรารถนา" นี้ ซึ่งมักเพ่งเล็งไปยังประชาคมชาวยิว กลุ่มปัญญาชนชาวโปล พวกคอมมิวนิสต์ หรือโรมา ก่อนสงคราม ในโปแลนด์มีชาวยิวอาศัยอยู่หลายล้านคน ค่ายกักกันส่วนใหญ่มักพบเห็นในพื้นที่ของ[[เจเนรอลกอฟเวอร์เมนท์]] ในดินแดนยึดครองโปแลนด์ เพื่อจุดประสงค์ด้านการขนส่ง นอกจากนี้ยังทำให้นาซีขนส่งชาวเยอรมันเชื้อสายยิวออกนอกประเทศได้อีกด้วย
 
=== ผู้ต้องขัง ===
 
กลุ่มผู้ต้องขังในค่ายกักกันส่วนใหญ่มีจำนวน 6 กลุ่ม โดยชาวยิวและเชลยศึกโซเวียตมีจำนวนมากที่สุด คือ หลายล้านคน นอกจากนี้ ยังมีพวกโรมา (หรือยิปซี), ชาวโปล, นักโทษการเมืองสายกลางหรือฝ่ายซ้าย, พวกรักร่วมเพศ, ผู้ซึ่งมีความบกพร่อง, ผู้นับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์, นักบวชคาทอลิก, กลุ่มปัญญาชนยุโรปตะวันออก และอื่น ๆ รวมทั้งอาชญากรโดยทั่วไป สำหรับเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกจะถูกส่งไปยังค่ายกักกันในหลายจุดประสงค์<ref>One of the best-known examples was the 168 [[Commonwealth of Nations|British Commonwealth]] and [[United States|U.S.]] aviators held for a time at [[Buchenwald concentration camp]]. (See: [http://www.vac-acc.gc.ca/remembers/sub.cfm?source=historgokhopdkhpofkofkofjkhjkhjkhojkv luvnbdy/secondwar/fact_sheets/pow Veterans Affairs Canada, 2006, “Prisoners of War in the Second World War”] and [http://www.nationalmuseum.af.mil/factsheets/factsheet.asp?id=1575 National Museum of the USAF, “Allied Victims of the Holocaust”].) Two different reasons are suggested for this: the Nazis wanted to make an example of the ''[[terror bombing|Terrorflieger]]'' (“terror-instilling aviators”), or they classified the downed fliers as spies because they were out of uniform, carrying false papers, or both when apprehended.</ref> เขลยศึกเหล่านี้ที่เป็นยิว หรือที่พวกนาซีเชื่อว่าเป็นยิว มักจะถูกส่งไปยังค่ายเชลยศึกตามปกติ; อย่างไรก็ตาม มีจำนวนน้อยที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันภายใต้นโยบายต่อต้านชาวยิว<ref>See, for example, [https://www.h-net.org/reviews/showrev.cgi?path=295291169228827 Joseph Robert White, 2006, “Flint Whitlock. Given Up for Dead: American GIs in the Nazi Concentration Camp at Berga”] (book review) </ref>