ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เจ้าชายอาหรับ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Lotje (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 ทรงกลายเป็นต้นแบบของตัวละครการ์ตูนของ[[แอร์เช]]นักวาดการ์ตูนชาว[[เบลเยียม]] สำหรับตัวละคร[[เจ้าชายอับดุลละฮ์แห่งคีเหม็ด]]ในเรื่อง[[การผจญภัยของตินติน]]<ref>Michael Farr, Tintin: The Complete Companion, John Murray, 2001.</ref> พระเจ้าฟัยศ็อลประชวรด้วยพระโรค[[หอบหืด]]มาตั้งแต่ประสูติ<ref>[http://www.s9.com/Biography/Faisal-II S9.com]. Retrieved on 14 July 2008.</ref>
===รัฐประหารพ.ศ. 2484===
พระมหากษัตริย์มีพระชนม์ชีพช่วงวัยเยาว์เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ซึ่งอิรักได้เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ[[จักรวรรดิอังกฤษ]]และ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 พระมาตุลาของพระองค์ทรงถูกขับไล่ออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงเวลาสั้นๆจากการที่กองทัพได้ก่อรัฐประหารที่ซึ่งต้องการให้อิรักเข้าร่วมกับ[[ฝ่ายอักษะ]] [[ไฟล์:King Faisal2 4II with his uncle and a governess.jpg|thumb|left|พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรักทรงฉายพระรูปร่วมกับ[[สมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก|สมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์]]และ[[มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์แห่งอิรัก|มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์]] พระมาตุลาและผู้สำเร็จราชการ]]การรัฐประหารนำโดย[[ราชิด อะลี อัล-เกละนิ]]โดยวางแผนจะลอบปลงพระชนม์ผู้สำเร็จราชการเพื่อยึดอำนาจในวันที่ 1 เมษายน แต่ในวันที่ 31 มีนาคม เจ้าชายอับดัลอิละฮ์ทรงทราบแผนการพระองค์จึงเสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศ ราชิด อะลี อัล-เกละนิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและดำเนินการกำจัดอิทธิพลของอังกฤษในอิรัก จากการ[[รัฐประหารอิรัก พ.ศ. 2484]]ส่งผลให้เกิด[[สงครามอังกฤษ-อิรัก]] การสนับสนุนจาก[[นาซีเยอรมนี]]ที่ตกลงกันไว้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามเจ้าชายอับดัลอิละฮ์ได้กลับคืนสู่อำนาจโดยการรวมกลุ่มของกองทัพสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วย[[กองทหารอาหรับ]]จอร์แดน, [[กองทัพอากาศจอร์แดน]]และทหารอังกฤษหน่วยอื่นๆ อิรักได้ดำเนินสัมพันธไมตรีกับอังกฤษอีกครั้งและเข้าร่วม[[องค์การสหประชาชาติ]]หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนราชิด อะลี อัล-เกละนิหลังจากแพ้สงครามต้องลี้ภัยไปยัง[[ราชวงศ์ปาห์ลาวี|เปอร์เซีย]] ก่อนที่เขาจะหนีออกจากแบกแดด เขาได้ติดต่อกับ[[มุลละ แอฟเฟนติ]] และแจ้งต่อเขาว่า เขาได้มอบบ้านของเขาเองให้เป็นที่พำนักที่ปลอดภัยสำหรับพระราชวงศ์โดยให้ทรงประทับจนกว่าความขัดแย้งจะสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าราชิด อะลี อัล-เกละนิเป็นผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์อย่างยิ่ง
 
ในระหว่างช่วงต้นพระชนม์ชีพ พระเจ้าฟัยศ็อลทรงได้รับการศึกษาที่พระราชวังร่วมกับเด็กชายชาวอิรักอื่นๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ทรงประทับร่วมกับพระมารดาในกรูฟ ล็อดที่หมู่บ้าน[[วิงค์ฟิลด์]]ใน[[บาร์กเชอร์]] [[สหราชอาณาจักร]] เมื่อทรงเจริญพระชันษา พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่[[โรงเรียนฮาร์โรลด์]]ร่วมกับพระญาติของพระองค์ [[สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน]] ทั้งสองพระองค์เป็นพระสหายสนิทกันและมีการบันทึกว่าทรงวางแผนที่จะรวมทั้งสองราชอาณาจักรเข้าด้วยกัน เพื่อต่อต้านสิ่งที่ทั้งสองพระองค์เชื่อว่ากระทำการคุกคามลัทธิ[[ชาตินิยม]][[แพน-อาหรับ]]