ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ลักษณะแผ่นดินไหว: +แทนที่ "Simeulue" → "ซิเมอลูเอ" ด้วยสจห.
บรรทัด 23:
 
== ลักษณะแผ่นดินไหว ==
[[ไฟล์:Earthquake_20041226_epicentre.png|thumb|left|[[จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว]]อยู่ใกล้กับเกาะ [[Simeulueเกาะซิเมอลูเอ]] ของอินโดนีเซีย]]
 
แผ่นดินไหวถูกบันทึกครั้งแรกด้วยค่าความรุนแรง[[แมกนิจูด]] 8.8 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงได้ปรับเพิ่มเป็นแมกนิจูด 9.0<ref>McKee, Maggie. "[http://www.newscientist.com/article.ns?id=dn6991 Power of tsunami earthquake heavily underestimated]." ''[[New Scientist]].'' 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005.</ref> โดยศูนย์เตือนภัยสึนามิมหาสมุทรแปซิฟิกได้ยอมรับค่าใหม่นี้ ส่วนสำนักธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey) ยังคงยึดค่าเดิมที่ประมาณการไว้ที่แมกนิจูด 9.1 ด้านผลการศึกษาล่าสุดในปี พ.ศ. 2549 บ่งชี้ว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวมีค่าระหว่างแมกนิจูด 9.1–9.3 อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์ฮิโระโอะ คะนะโมริ (Hiroo Kanamori) แห่ง[[สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย]]แนะนำว่าแมกนิจูด 9.2 เหมาะสมที่จะใช้เป็นค่าตัวแทนสำหรับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งนี้<ref>EERI Publication 2006–06, หน้า 14.</ref>
 
จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดีย ลึกลงไป {{convert|30|km|abbr=on}} จาก[[ระดับน้ำทะเล]] ห่างจากเกาะ Simeulue[[เกาะซิเมอลูเอ]] ไปทางทิศเหนือประมาณ {{convert|160|km|mi|-1|abbr=on}} ซึ่งตัวเกาะตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของ[[เกาะสุมาตรา]] โดยรอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ได้เลื่อนตัวแตกออกยาวถึง {{convert|1300|km|abbr=on}}<ref name="Archived">Nalbant, S., Steacy, S., Sieh, K., Natawidjaja, D., and McCloskey, J. "[http://www.gps.caltech.edu/~sieh/pubs_docs/papers/P05b.pdf Seismology: Earthquake risk on the Sunda trench]." ''[[Nature (journal)|Nature]].'' Vol. 435, No. 7043, 756–757. 9 June 2005. Retrieved 16 May 2009. [http://www.webcitation.org/5gsK7TQaG Archived] 18 May 2009.</ref> ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและตามด้วยคลื่นสึนามิ ประชาชนในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ และมัลดีฟส์รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว<ref>Lovholt, F., Bungum, H., Harbitz, C.B., Glimsal, S., Lindholm, C.D., and Pedersen, G. "[http://www.nat-hazards-earth-syst-sci.net/6/979/2006/nhess-6-979-2006.pdf Earthquake related tsunami hazard along the western coast of Thailand]." ''Natural Hazards and Earth System Sciences.'' Vol. 6, No. 6, 979–997. 30 November 2006. Retrieved 16 May 2009. [http://www.webcitation.org/5gsKCAmW5 Archived] 18 May 2009.</ref> จากนั้นรอยเลื่อนย่อย (Splay fault) จึงขยับตาม ทำให้พื้นทะเลเกิดรอยแตกยาวในเวลาไม่กี่วินาที และเกิดน้ำทะเลยกตัวสูงและเพิ่มความเร็วแก่คลื่นให้มากขึ้น จากนั้นคลื่นสึนามิได้เข้าทำลายเมืองล็อกนา (Lhoknga) ใกล้กับเมือง[[บันดาอาเจะฮ์]] จนราบเป็นหน้ากลอง<ref>Sibuet, J-C., Rangin, C., Le Pichon, X., Singh, S., Cattaneo, A., Graindorge, D., Klingelhoefer, F., Lin, J-Y., Malod, J., Maury, T., Schneider, J-L., Sultan, N., Umber, M., Yamaguchi, H., and the "Sumatra aftershocks" team, "[http://archimer.ifremer.fr/doc/2007/publication-3508.pdf 26 December 2004 great Sumatra–Andaman earthquake: Co-seismic and post-seismic motions in northern Sumatra]." ''Earth and Planetary Science Letters.'' Vol. 263, Issues. 1–2, 88–103. 15 November 2007. Retrieved 16 May 2009. [http://www.webcitation.org/5gsKIqvg4 Archived] 18 May 2009.</ref>
 
ด้านธรณีสัณฐาน อินโดนีเซียตอนเหนือและตะวันออกใกล้กับ[[นิวกินี]]จะตั้งอยู่บนแนว[[วงแหวนแห่งไฟ]]แห่งแปซิฟิก ส่วนตอนใต้พาดไปทางตะวันตกของประเทศเป็นแนวแผ่นดินไหวเรียกว่า [[แนวแอลไพด์]] ผ่าน[[เกาะติมอร์]] [[เกาะฟลอเรส|ฟลอเรส]] [[เกาะบาหลี|บาหลี]] [[เกาะชวา|ชวา]] และ[[เกาะสุมาตรา]]