ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หญ้ากุศะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Naiamphur (คุย | ส่วนร่วม)
พ่นพ่นน่ำมนต์ รดน้ำมนต์ เป็นเด รัจ ฉานวิชา -บาลี สี. ที. ๙/๘๓/๑๐๓.
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 17:
'''หญ้ากุศะ''' ([[ชื่อวิทยาศาสตร์]] ''Desmostachy bipinnata'' Stapf) เป็น[[หญ้า]]ในวงศ์ Gramineae (Poaceae) มีถิ่นกำเนิดที่[[ประเทศอินเดีย]]และ[[เนปาล]] ชอบขึ้นในที่แห้งแล้งริมฝั่ง[[แม่น้ำ]] โดยจะขึ้นเป็นกอเหง้าใหญ่ ใบอวบรูปยาวเหมือนหอก ขอบใบคม ดอกเป็นช่อรูป[[พีระมิด]] หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดฤดูฝน ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และแยกกอ
 
หญ้ากุศะเป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื่องจากเป็นหญ้าที่ปรากฏใน[[พุทธประวัติ]]ว่า ในวันก่อนที่[[พระพุทธเจ้า]]จะตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะได้รับถวายหญ้าชนิดนี้จำนวน 8 กำมือจากพราหมณ์โสตถิยะ และเจ้าชายสิทธัตถะได้นำหญ้ากุศะไปปูรองนั่งเป็น[[พุทธคยา|พุทธบัลลังก์]]ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ ทำให้ชาวพุทธถือว่าหญ้านี้มีความสำคัญมาก และจัดให้หญ้านี้เป็นต้นไม้สำคัญชนิดหนึ่งในพุทธประวัติ และชาวพุทธนิยมนำหญ้าชนิดนี้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำมาทำเป็นที่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นต้น
 
ชาว[[ฮินดู]]นับถือว่าหญ้านี้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน โดยนำหญ้านี้มาประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวันแรม 15 ค่ำ​เดือน 9 หรือที่เรียกว่า '''กุโศตปาฎนีอมาวสยา''' เพื่อเป็นการบูชา[[พระกฤษณะ]] เทพเจ้าองค์หนึ่งของ[[ศาสนาฮินดู]]<ref>[http://elearning.su.ac.th/elearning-uploads2/libs/document/6_b212.ppt บำรุง คำเอก.ผศ.ดร..ความสัมพันธ์ของศาสนาพราหมณ์​-​พุทธ​กับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.___] </ref>