ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาร์ลี แชปลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Panas Pimchan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
ตัวละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของแชปลินคือ "คนจรจัด" (The Tramp) ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง ''Kid Auto Races at Venice'' (1914) ส่วนหนังที่สร้างชื่อเสียงให้เขาคือ ''The Kid'' (1921) , ''City Light'' (1931) , ''Modern Times'' (1936) และ ''The Great Dictator'' (1940)
 
ภาพยนตร์เงียบของแชปลิน มิใช่ภาพยนตร์ตลกธรรมดา แต่เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนความคิดที่มีต่อสังคมและมนุษย์ โดยเฉพาะความคิดที่มีต่อสังคมในระบบทุนนิยม ดังจะเห็นได้จากผลงานเด่น ๆ เช่น The Gold Rush เป็นเรื่องของยุคคลั่งทองในอเมริกาสะท้อนภาพชีวิตของคนอเมริกันในยุคต้นของระบบทุนนิยมที่สังคมเต็มไปด้วยการแย่งชิงและฉวยโอกาส คนรวยยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่คนจนไม่มีโอกาสที่จะยกระดับตัวเอง เรื่อง City Lights ชี้ถึงผลการเติบโตของสังคม เรื่อง Modern Times แสดงถึงชีวิตของคนในสังคมอุตสาหกรรมที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระเบียบเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ได้รับการพัฒนา หนังเปรียบเทียบให้เห็นว่ามนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และระบบการทำงานของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น<ref>[http://web.archive.org/20120512033424/www.onopen.com/2006/02/1191 ชาร์ลี แชปลิน: สุภาพบุรุษพเนจร] โดย จิตรลดา อุดมประเสริฐกุล</ref><ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=320352 "Modern Times" บทเรียนเศรษฐศาสตร์ของชาลี แชปลิน]</ref>เรื่อง Modern Times เป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของแชปลิน(แต่ออกมาในฉากเสียงวิทยุในคุกและฉากที่ตัวเขาเองกำลังร้องเพลง)
 
=== ประพันธ์เพลงและดนตรี ===
บรรทัด 58:
[[ไฟล์:Dictator charlie3.jpg|thumb|left|180px|''The Great Dictator'' (1940)]]
 
ในปี 1940 ชาร์ลี แชปลินสร้างภาพยนตร์เรื่อง ''The Great Dictator'' เป็นภาพยนตร์ล้อเลียน[[ฮิตเลอร์]] เป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกต่อมาของชาร์ลี แชปลิน ซึ่งสอดแทรกความคิดทางการเมืองของเขาไปด้วย เป็นเรื่องของฮิงเกลผู้นำตลอดกาลแห่งรัฐโทมาเนีย ผู้นำที่บ้าคลั่งอำนาจและสงครามและมีความฝันสูงสุดคือการที่จะได้ครองโลก โดยเดินเรื่องคู่ไปกับ ช่างตัดผมชาวยิว ที่หน้าตาเหมือนกันกับผู้นำฮิงเกล ที่เคยไปออกรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและเมื่อกลับมาก็ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิตนับสิบปี จนเมื่อออกมาจากโรงพยาบาล ก็พบว่าบ้านเมืองของเขาภายใต้การปกครองของฮิงเกล ไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
 
แชปลินในขณะนั้นถึงเป็นมหาเศรษฐีแต่ก็มีปัญหาอย่างหนักเรื่องทัศนคติทางการเมือง โดยเฉพาะเขากำลังถูกจับตามองจากรัฐบาลอเมริกาในข้อหาฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ <ref>[http://www.oknation.net/blog/kakalot/2009/03/27/entry-1 The Great Dictator - อย่าฟังคนบ้า จะพาไปตาย]</ref> ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ประสบความสำเร็จด้านวิจารณ์และประสบความสำเร็จอย่างดีด้านรายได้ <ref>[http://www.phongphit.com/older/content/view/272/54/ The Great Dictator สยบเผด็จการด้วยเสียงหัวเราะ]</ref>