ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดสุทธิวาตวราราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Atiwat tle (คุย | ส่วนร่วม)
Atiwat tle (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 42:
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกวัดช่องลมเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2508 และถัดจากนั้นเป็นเวลาอีก 5 เดือนเต็ม ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชาย พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงทุกพระองค์ มาทรงบำเพ็ญพระ-ราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดช่องลมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508
 
 
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 1 ชื่อ หลวงพ่อเอี่ยม
มีผู้เล่าว่า ครั้นประมาณปี พ.ศ. 2350 มีพระรูปหนึ่งพายเรืองสำปั้นเล็ก ลำหนึ่งมีประทุนอยู่ด้วย มีผู้เห็นว่าพายเท่าไร ๆ ก็พายไม่ขึ้นจะเป็นด้วยลมแรงหรือน้ำเชี่ยวเหลือที่จะเดา เข้าใจว่าท่านหมดกำลังเข้า หรือว่ารอลมสงบน้ำอ่อนก็หาได้รู้เจตนาของท่านไม ่ เรือลำนั้นเลยลอยมาติดตลิ่งพอดี (ปัจจุบันก็คือวัดช่องลม) พระรูปนี้อายุพรรษาเท่าไร มาจากไหนไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เพียงชื่อว่า"เอี่ยม" เรียกว่าหลวงเอี่ยมก็มี เรียกว่า "ขรัวอีโต้" ก็มี เพราะในเรือปรากฏว่าไม่มีสมบัติอะไร มีแต่อีโต้เล่มเดียว
เมื่อคุณปู่และคุณย่าอ่วม แซ่เล้า (เจ้าของที่) และชาวบ้านได้ทราบข่าวนี้จากพวกเด็ก ๆ จึงต่างคนต่างไปดู เมื่อรู้แน่แก่ใจว่าพระจริง ก็เกิดศรัทธาช่วยกันหุงข้าวต้มแกงตามมีตามเกิด เพราะใกล้จะเพลแล้ว สุกก็เอาเผาดิบก็เอา แล้วต่างคนต่างนำไปถวายเพล แล้วพร้อมใจกันนิมนต์ท่านขึ้นมาพักพิงอยู่บนที่ที่ถากถางไว้บ้างแล้วนี้ วันนี้ปู่และย่า พร้อมทั้งชาวบ้านถิ่นนี้ ในสมัยนั้นได้ถือว่าเป็น "ศุภนิมิต" ของวัดนี้ย่างหนึ่ง โดยเข้าใจว่าจะต้องเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองวัดหนึ่งเป็นแน่ พระกำลังดำริจะสร้างวัดก็พอดีมีเรือพระลอยมาติดเอาง่าย ๆ โดยไม่ต้องไปเที่ยวหานิมนต์มา เมื่อท่านขึ้นพักพิงอยู่บนตลิ่งคือสถานที่วัดนี้แล้ว ปู่ ย่า สองคนตายาย ลูกหลาน พี่น้อง พร้อมทั้งชาวบ้านต่างช่วยกันถากถางหญ้า และปลูกกระต๊อบเล็ก ๆ ให้ท่านอาศัยอยู่ พร้อมทั้งยกที่ดินแปลงนี้ให้เป็นพื้นที่สร้างวัดช่องลม จึงนับได้ว่าพระเอี่ยม เป็นเจ้าอาวาสคนแรกของวัดช่องลม
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ชื่อ หลวงพ่อปั้น
เมื่อหลวงพ่อเอี่ยมมรณภาพลงจึงเห็นว่า ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง จึงไปนิมนต์หลวงพ่อปั้นมา ซึ่งเป็นญาติของคุณย่าอ่วมเอง ขณะนั้นจำพรรษาอยู่วัดตุ๊กตา ต.บางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช่องลมแทนหลวงพ่อเอี่ยม อายุพรรษาเท่าไร และมาเมื่อวัน เดือน ปี อะไรไม่มีหลักฐานปรากฏ
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 3 ชื่อ หลวงพ่อเชียง
หลวงพ่อเชียงรูปนี้ท่านเป็นน้องชายของคุณตา และ คุณนายทองสุข เยาวนัส เมื่อขณะยังมิได้อุปสมบท มาอาศัยอยู่กับพี่ชายซึ่งเป็นที่ "จางวางโต" ในสมัยรัชกาลที่ 4 อยู่บ้านข้างวัดช่องลมนี้เอง และหลวงพ่อเชียงก็ได้อุปสมบทที่วัดช่องลมในสมัยที่หลวงพ่อปั้นยังมีชีวิตอยู่
เมื่อหลวงพ่อปั้นมรณภาพลงแล้วประชาชนทั้งหลาย พร้อมทั้งฝ่ายสงฆ์ เห็นว่าหลวงพ่อเชียงซึ่งเป็นน้องชายของจางวางโตรูปนี้ เป็นพระที่ทรงไว้ซึ่งสีลาจารวัตรอันดี ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เคารพนับถือและรักใคร่ของประชาชนทั่วไป จึงได้พร้อมใจกันยกท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 4 ชื่อ หลวงพ่อแก่น (พระครูธรรมสาคร)
หลวงพ่อแก่น อุปสมบทที่วัดตุ๊กตา ต.บางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ได้ย้ายตามหลวงพ่อปั้น มาอยู่ที่วัดช่องลมด้วย ในขณะที่หลวงพ่อปั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช่องลม
เมื่อหลวงพ่อเชียงมรณภาพไปแล้ว ราษฏรทั้งหลายเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ว่าควรอนุมัติให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงพ่อเชียง
หลวงพ่อแก่นองค์นี้ปรากฏว่ามีประชาชนเลื่อมใสเป็นอันมาก มีการสร้างเสริมต่อเติมวัดวาอารามให้เจริญไปมาก บรรดาถาวรวัตถุทั้งหลายแหล่เกิดขึ้นในสมัยนี้แทบทั้งสิ้น มีชื่อเสียงเลื่องลือไปในนานาจังหวัดก็สมัยนี้ การศึกษาปริยัติธรรมก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ด้วย ใช่แต่เท่านั้นตัวท่านเองก็ได้เลื่อนตำแหน่งจากเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะอำเภอและได้รับสมณศักดิ์เป็นที่ "พระครูธรรมสาคร" เป็นอันว่าท่านผู้นี้ได้ครอบตำแหน่งอันมีเกียรติ พร้อมทั้งยศเต็มอัตราเป็นรูปแรกในวัดช่องลมแห่งนี้ นำเกียรติประวัติมาสู่วัดหาน้อยไม่ จึงเห็นว่าท่านผู้นี้ควรอยู่ในตำแหน่ง "ปูชนียบุคคล" ของพุทธศาสนิกชน และผู้ที่เคารพนับถือท่าน พร้อมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ทั่วไป เพราะได้นำความรุ่งโรจน์มาสู่วัดช่องลมในทุกแง่ ทุกมุม และทุกด้าน พอเหมาะพอสมกันกับความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 5 ชื่อ หลวงพ่อเทิ้ม ญาโน
เมื่อพระครูธรรมสาคร (แก่น) ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว ประชาชนพร้อมทั้งคณะสงฆ์ ลงมติเป็นเอกฉันท์ที่จะถวาย ตำแหน่งเจ้าอาวาสให้แก่พระอาจารย์ เทิ้ม ญาโน เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ซึ่งท่านก็เป็นพระเถระชั้นอาวุโสรูปหนึ่ง และท่านก็จำพรรษาอยู่ในอาวาสนี้อยู่แล้ว ในสมัยของท่านนี้นับว่าพอจรรโลงวัด ให้เจริญรุ่งเรืองอยู่ในสภาพที่ปกติต่อมามิช้านาน
โรคร้ายแรง คือ ฝีที่คอ ได้คร่าชีวิตท่านไปท่ามกลางหมู่ญาติมิตรและคณะศิษย ์ พร้อมทั้งท่านที่เคารพนับถือทั้งหลาย นำความเศร้าสลดรันทดใจมาสู่คณะสงฆ์ และผู้ที่เคารพนับถือโดยทั่วไป เพราะมาสูญเสียพระเถระอันเป็นหลักชัยของพระศาสนาไปรูปหนึ่ง
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 6 ชื่อ พระปลัดไซ ติสฺสโร
เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ทางการคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้ พระปลัดไซ ติสฺสโร ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป กาลต่อมาประมาณ 2 ปี ท่านก็พ้นจากตำแหน่ง เพราะชรามาก บริหารกิจการคณะสงฆ์ไม่ได้ และมรณะเมื่อ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2499
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 7 ชื่อ พระทองใบ ชนาสโภ
เมื่อเจ้าอาวาสว่างลง ทางคณะสงฆ์ได้พิจารณาเห็นว่าพระทองใบ ชนาสโภ น.ธ.เอก ครูโรงเรียนประชาบาลวัดช่องลมนี้ และก็จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้มานาน เป็นผู้มีอัธยาศัยและละมุนละไมดีงามมาก ประกอบด้วยวิทยฐานะสูงทั้งโลกทั้งธรรม จรรยามารยาทอ่อนโยนควรเป็นผู้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ จึงได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไปเป็นองค์ที่ 7
ครั้นเวลาต่อมา ปรากฏว่าปกครองได้ราว 2 พรรษา ก็บังเอิญมรณภาพลงอย่างกระทันหัน ด้วยโรคลมอย่างปัจจุบันทันด่วน เหลือวิสัยที่แพทย์จะช่วยเยียวยาแก้ไขได้ทัน ก็เป็นอันว่าวัดช่องลมได้สูญเสียประมุขสงฆ์ไปอีกรูปหนึ่ง โดยมิได้คาดฝันมาก่อนเลย ข่าวนี้ย่อมนำมาซึ่งความเศร้าสลดแก่ผู้ที่เคารพนับถือหาน้อยไม่
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ชื่อ หลวงปู่แก้ว (พระเทพสาครมุนี)
เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง เจ้าคณะตรวจการภาพ 7 วัดพระเชตุพน (สมเด็จวันรัต) ได้จัดการย้ายพระราชสาครมุนี เจ้าอาวาสวัดคลองตันราษฏร์บำรุง ต.คลองตัน อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระครูสาครรัตนมุนี (แก้ว สุวณฺณโชโต น.ธ.เอก เปรียญ 6 ประโยค) อายุ 50 พรรษา 28 ตำแหน่งเผยแผ่จังหวัดสมุทรสาคร มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช่องลม และเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2495 แทนพระสมุทรคุณากร เจ้าคณะจังหวัดรูปเก่า ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ใน พ.ศ. เดียวกันนี้และได้รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดในวันนั้น ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2495 เป็นเจ้าคณะจังหวัดก่อนย้ายมาอยู่วัดช่องลม 5 วัน โดยไม่มีข่าวคราวมาก่อนเลยเรียกว่าไม่รู้ตัวก็ว่าได้
และสามารถดูประวัติ และรายเอียดของพระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว)
ได้จาก ประวัติหลวงปู่แก้ว หรือ คลิกที่นี่
 
เจ้าอาวาสรูปที่ 9 ชื่อ พระสาครมุนี
พระสาครมุนี ( ประสาท สุชีโว ) เดิมชื่อ ประสาท เกตุแก้ว บิดาชื่อนายจอน เกตุแก้ว และมารดาชื่อ นางหนู เกตุแก้ว เมื่ออายุถึงเกณฑ์ก็ได้เข้าเรียนหนังสือจนจบระดับประถนศึกษา และได้เรียนต่อโรงเรียนกุศลวิทยา (วัดบางยาง) ตำบลบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ หลังจากนั้นก็ได้ช่วยบิดามารดาทำนาทำสวนที่ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว บ้านเกิดตลอดมา จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2494 อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้รับการอุปสมบทที่ พัทธสีมาวัดคลองตันราษฎร์บำรุง ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครโดยมีพระสาครรัตนมุนี (หลวงปู่แก้ว) เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระอธิการสมบุญ วัดอ่างทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการพุ่ม วัดคลองตันฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งปัจจุบันท่านได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 ของวัดสุทธิวาตวราราม พระอารามหลวง ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
 
 
 
==สิ่งที่น่าสนใจ==