ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทกูงาวะ อิเอยาซุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
|succession = [[ไดโจไดจิง]]
|จักรพรรดิ = [[จักรพรรดิโกะ-มิซุโนะ]]
|ดำรงตำแหน่ง = [[พ.ศ. 2159]] - [[พ.ศ. 2159]] 1616
|reign-type1 = ระยะเวลา
|ระยะเวลา = ไม่ถึงปี
บรรทัด 15:
|succession1 = [[โชกุน|ปฐมโชกุนแห่งเอะโดะ]]
|จักรพรรดิ1 = [[จักรพรรดิโกะ-โยเซ]]
|ดำรงตำแหน่ง1 = [[พ.ศ. 2146]] - [[พ.ศ. 2148]]1603–1605
|ระยะเวลา1= 2 ปี
| ก่อนหน้า1 = ตำแหน่งใหม่
บรรทัด 22:
| เกิด ={{birth date|1543|01|31|df=y}}
|สถานที่เกิด = [[ปราสาทโอะกะซะกิ]]
| อสัญกรรม =[[1 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1616]] ({{อายุปีและวัน|2086|1|31|2159|6|1}})
|สถานที่ = [[ปราสาทซุมปุ]]
| บิดา = [[มะสึไดระ ฮิโระตะดะ]]
บรรทัด 30:
}}
 
'''โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ''' ({{ญี่ปุ่น|徳川家康|Tokugawa Ieyasu|| [[31 มกราคม]] [[พ.ศ. 2086]] – [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2159]]}}) คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมือง [[เอะโดะ]] (โตเกียวในปัจจุบัน) และ เป็น[[โชกุน]] คนแรกของ จาก[[ตระกูลโทะกุงะวะ]] ที่ปกครอง[[ประเทศญี่ปุ่น]] ตั้งแต่สิ้นสุด [[ศึกเซะกิงะฮะระ]]และเริ่มต้น[[ยุคเอะโดะ]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2143]] (ค.ศ. 1600) กระทั่งเริ่ม [[ยุคเมจิ]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2411]] (ค.ศ. 1868)
 
อิเอะยะซุได้รับการแต่งตั้งเป็นโชกุนในปี พ.ศ. 2146 (ค.ศ. 1603) และออกจากตำแหน่งในอีกสองปีต่อมา แต่เขาก็ยังมีอิทธิพลเรื่อยมากระทั่งเขาเสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616)
 
โทะกุงะวะ อิเอะยะซุเป็น[[ไดเมียว]]คนหนึ่งที่สำคัญ เขาปราบปรามคู่แข่งโดยใช้กำลังทหารเข้าจัดการ หลังจากได้รับชัยชนะในสงครามที่เซะกิงะฮะระ อิเอะยะซุแต่งตั้งตนเองเป็นโชกุนคนแรกแห่ง[[ตระกูลโทะกุงะวะ]]ซึ่งตระกูลนี้ปกครองญี่ปุ่นจนถึงค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) ก่อนจะหมดอำนาจลงและพระราชอำนาจก็กลับมาอยู่ที่องค์พระจักรพรรดิอีกครั้ง
 
==ปฐมวัย==
บรรทัด 48:
 
===สงครามกับตระกูลทะเกะดะ===
เมื่อรวบรวมอำนาจในแถบคันไซได้อย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว โอะดะ โนะบุนะงะ ได้เบนความสนใจไปยังแถบ[[คันโต]]ในทางตะวันออก ซึ่งในขณะนั้นตระกูลทะเกะดะ (武田) กำลังเรืองอำนาจ มี[[ทะเกะดะ ชิงเง็น]] (武田信玄) และทะเกะดะ กะสึโยะริ (武田勝頼) บุตรชาย เป็นผู้นำ ในค.ศ. 1572 ทะเคะดะ ชิงเง็น ได้ยกทัพเข้าบุกแคว้นโทโตมิ ( 遠江) อันเป็นดินแดนของตระกูลโทะกุงะวะ ในยุทธการมิกะตะงะฮะระ (三方ヶ原の戦い) จังหวัดชิซุโอะกะในปัจจุบัน แม้จะได้รับกำลังเสริมจากโอะดะ โนะบุนะงะ แต่การสู้รบในครั้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิเอะยะซุ จนต้องหลบหนีออกจากสมรภูมิพร้อมกำลังพลเพียงหยิบมือ แต่โชคดีที่ในปีต่อทะเกะดะ ชิงเง็น ได้เสียชีวิตลงในค.ศ. 1573 ในค.ศ. 1575 กะสึโยะริบุตรชายได้ยกทัพมาล้อมปราสาทนะงะชิโนะ (長篠) ในแคว้นมิกะวะ (จังหวัดไอจิ) ซึ่งดูแลป้องกันโดยโอะกุไดระ ซะดะมะซะ (奥平貞昌) ทั้งอิเอะยะซุและโอะดะ โนะบุนะงะต่างส่งทัพของตนเข้ากอบกู้ปราสาทอย่างเต็มที่ จนกระทั่งประสบชัยชนะสามารถขับทัพของตระกูลทะเกะดะออกไปได้
 
กล่าวถึงนางซึกิยะมะ ภรรยาของอิเอะยะซุ มักจะมีปัญหาขัดแย้งกับลูกซะใภ้อยู่เสมอ คือท่านหญิงโทะกุ ภรรยาของโนะบุยะซุ จนกระทั่งในปี 1579 ท่านหญิงโทะกุทนไม่ได้จึงเขียนจดหมายฟ้องโอะดะ โนะบุนะงะ บิดาของตน ว่านางซึกิยะมะ ซึ่งเป็นคนจากตระกูลอิมะงะวะ ได้ติดต่อและสมคบคิดกับทะเคะดะ กะสึโยะริ ในการทรยศหักหลังท่านโอดะ เมื่อทราบเรื่องอิเอะยะซุได้มีคำสั่งให้กักขังนางสึกิยะมะภรรยาเอกของตนไว้ ต่อมาไม่นานจึงมีคำสั่งจากโอะดะ โนะบุนะงะ ให้โนะบุยะซุ บุตรชายคนโตของอิเอะยะซุ กระทำการ''เซ็ปปุกุ'' และประหารชีวิตนางสึกิยะมะ ในข้อหาทรยศสมคบคิดกับตระกูลทะเกะดะ อิเอะยะซุจึงจำต้องสั่งประหารชีวิตภรรยาและบุตรชายของตนไป แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง นางไซโง (西郷の局) ภรรยาน้อยคนโปรดของอิเอะยะซุ ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สาม คือ นะกะมะรุ หรือภายหลังคือ [[โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ]] (徳川秀忠)