ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคล้ว ธนิกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''แคล้ว ธนิกุล''' ([[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2477]] [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2534]]) อดีตผู้กว้างขวางในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]]และอดีตโปรโมเตอร์และผู้จัดการในวงการ[[มวยไทย]], [[มวยสากล]]และ[[มวยสากลสมัครเล่น]]ใน[[ประเทศไทย]]
 
แคล้ว ธนิกุล เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่ตำบลดอนมะโนรา [[อำเภอบางคนที]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]] ในครอบครัว[[คนไทยเชื้อสายจีน]] ที่ได้ชื่อว่าแคล้ว เพราะตอนที่เกิดมีคู่[[ฝาแฝด|แฝด]]ด้วย แต่ว่าคู่แฝดได้เสียชีวิตไปหลังจากคลอดไม่นาน จึงได้ชื่อว่า "แคล้ว" ซึ่งหมายถึง การแคล้วคลาดจากอันตราย
บรรทัด 5:
แคล้ว ธนิกุล ได้เดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯครั้งแรกด้วยการตามพี่สาวมาอยู่ที่ย่านสวนมะลิ ต่อมาไปดูการซ้อมมวยเลยรู้จักนักมวยรุ่นพี่ ชื่อ หมึก ตรอกทวาย และก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกันตั้งแต่นั้นมา
 
จากนั้น แคล้ว ธนิกุล ก็สร้างชื่อด้วยการเป็นผู้กว้างขวางในย่านสวนมะลิ ในชื่อ "เหลา สวนมะลิ" หรือ "เฮียเหลา" มีผู้กว้างขวางเป็นเพื่อนสนิทสนมกันมากมายและมีลูกน้องอีกจำนวนมากด้วยเช่นกัน จนได้รับ[[ฉายา]]ว่า "เจ้าพ่อนครบาล" หรือ "เจ้าพ่อเบอร์ 1" ในแวดวงมวย แคล้ว ธนิกุล เป็นเจ้าของค่ายมวยของตัวเองที่มีชื่อว่า "ส.ธนิกุล" มีนักมวยที่มีชื่อเสียง อาทิ [[อินทรีน้อย ส.ธนิกุล]], สมบัติ ส.ธนิกุล, บุญหลง-บุญหลาย ส.ธนิกุล เป็นต้น และยังเคยดำรงตำแหน่งนายก[[สมาคมมวยสากลสมัครแห่งประเทศไทย]]
 
แคล้ว ธนิกุล เสียชีวิตในเวลาหัวค่ำของวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2534 ที่[[ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี]] ในเขต[[อำเภอสามพราน]] [[จังหวัดนครปฐม]] จากการถูก[[ลอบสังหาร]]ด้วยอาวุธสงคราม อาทิ ปืน[[เอ็ม 16]], ปืน[[อาก้า]], เครื่องยิงลูกระเบิด[[เอ็ม 79]] อย่างอุกอาจ ขณะกำลังโดยสารไปใน[[รถกระบะ]]ยี่ห้อ[[นิสสัน]][[สีดำ]]เพื่อเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยลูกน้องคู่ใจ คือ นายสกุลยุทธ์ ทองสายธาร<ref>[http://www.youtube.com/watch?v=HMvFb6q1LV4 เด็ดข่าวเก่า เล่าข่าวเด่น - สังหาร แคล้ว ธนิกุล 5 เม.ย. 2534]</ref> หรือฉายา "ตี๋ ดำเนิน" หรือ "มือปืนร้อยศพ" สภาพรถทั้งคันพรุนไปด้วยรูกระสุน และศพของทั้งคู่ก็ถูกยิงเลือดโชก โดยเฉพาะนายแคล้วที่นั่งอยู่เบาะหลัง ที่ภายในปากยังอม[[พระเครื่อง]]อยู่ ด้วยหวังว่าจะช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย ซึ่งสาเหตุการลอบสังหารครั้งนี้ จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นแคล้วเคยถูกลอบสังหารด้วยกระสุนและระเบิดมาแล้วถึง 2 ครั้ง จนกลายเป็นคำร่ำลือกันต่าง ๆ นานา ด้วยในขณะนั้น ทาง[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ซึ่งได้กระทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534|รัฐประหาร]]ไปก่อนหน้านั้นไม่นาน มีนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า แคล้ว ธนิกุล เองก็เป็นหนึ่งในรายชื่อเหล่านั้น<ref>[http://webboard.mthai.com/7/2006-03-03/204887.html ลืมกันหรือยัง ...กับอดีตเจ้าพ่อเบอร์ 1 คนนี้ แคล้ว ธนิกุล จาก[[เอ็มไทย]]]</ref><ref>กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1 [[สำนักพิมพ์มติชน]]</ref>