ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัคร สุนทรเวช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42:
| death_date = 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552<br>({{อายุปีและวัน|2478|06|13|2552|11|24}})
| death_place = [[กรุงเทพฯ]] [[ประเทศไทย]]
| party = [[พรรคพลังประชาชน|พลังประชาชน]] (พ.ศ. 2551)<br/>[[พรรคประชากรไทย|ประชากรไทย]] (พ.ศ. 2522)<br>[[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]] (พ.ศ. 2511])
| spouse = คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช
| religion = [[ศาสนาพุทธในประเทศไทย|พุทธศาสนา]]
บรรทัด 50:
}}
 
'''นายกองใหญ่ สมัคร สุนทรเวช''' ([[ชื่อจีน]]: 李沙馬 ''Lǐ Shāmǎ'';<ref>{{cite book|title=泰国华侨华人研究|author=[泰国] 洪林, 黎道纲主编|publisher=香港社会科学出版社有限公司|month=April |year=2006|pages=187|isbn=962-620-127-4}}</ref> 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 25 และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] หัวหน้า[[พรรคพลังประชาชน]] อดีต[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] และผู้ก่อตั้ง[[พรรคประชากรไทย]] เกิดที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม]] (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "'''น้าหมัก'''" "'''ออหมัก'''" หรือ "'''ชมพู่'''" (มาจากลักษณะ[[จมูก]]ของสมัคร) "'''ชาวนา'''" (จากกรณี[[กลุ่มงูเห่า]]) เป็นต้น
 
สมัครเริ่มทำงานหลังจบ[[นิติศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|ธรรมศาสตร์]] เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน [[สยามรัฐ|หนังสือพิมพ์สยามรัฐ]], [[สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์]] และ[[ชาวกรุง]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537
บรรทัด 58:
เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ใน พ.ศ. 2519 สมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]] พร้อม ๆ กับการลาออกจาก[[พรรคประชาธิปัตย์]] และใน พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง [[พรรคประชากรไทย]] และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น
 
ความคิดและบทบาทของสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]], [[พฤษภาทมิฬ]], ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] ประธาน[[องคมนตรี]] ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้น พ.ศ. 2549
 
== ประวัติ ==