ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วารสารวิชาการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
ในสาขา[[มนุษยศาสตร์]] (humanities) โดยเฉพาะแนวอังกฤษ-อเมริกันไม่มีวิธีการตายตัวที่ใช้ในการแจงนับ "[[ปัจจัยผลกระทบ]]" เพื่อนำมาใช้ในการจัดระดับวารสารดังที่ใช้กับสาขาวิทยาศาสตร์ เหตุผลอาจเป็นเพราะว่าวารสารวิชาการไม่ใช่ตัวชี้วัดสำคัญเพียงอย่างเดียวที่สามารถนำมาใช้ได้ในการจัดระดับชื่อเสียงหรือเกียรติภูมิของวารสารวิชาการสาขา[[มนุษยศาสตร์]]
 
== การบริหารการเงิน ==
'''วารสารวิชาการ'''ด้าน[[มนุษยศาสตร์]]และ[[สังคมศาสตร์]]เป็นวารสารที่ไม่แสวงกำไร จึงมักได้รับเงินอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหรือจากองค์การวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งวารสารวิชาการก็สามารถมีรายได้จากการโฆษณาหรือจากการแจ้งความ เพื่อนำรายได้มาใช้เป็นค่าจัดพิมพ์พิมพ์ ปกติสำนักพิมพ์วารสารวิชาการจะคิดค่าบอกรับเป็นสมาชิกวารสารจากห้องสมุดสูงกว่าจากการบอกรับของสมาชิกทั่วไป การบอกรับของสถาบันจะสูงหลายพันบาทถึงหลายหมื่นบาท บรรณาธิการของวารสารวิชาการโดยทั่วไปมักมีความรับผิดชอบด้านวิชาชีพของตนอยู่ด้วย เช่น เป็น[[ศาสตราจารย์]]สอนหนังสืออยู่ด้วย สำหรับวารสารวิชาการขนาดใหญ่มักต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นลูกจ้างประจำเต็มเวลาช่วยทำหน้าที่ตรวจบทความในกองบรรณาธิการ ส่วนการจัดพิมพ์เกือบทั้งหมดทำโดยพนักงานประจำที่กินเงินเดือน ผู้พิมพ์และโฆษณาวารสารวิชาการโดยทั่วไปคือสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย เช่น สำนักพิมพ์แห่ง[[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]] ([[:en:Oxford University Press]]) หรือ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นต้น
 
== พัฒนาการใหม่ๆ ==