ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนเมียวสีหบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
ใน พ.ศ. 2307 [[พระเจ้ามังระ]] ตัดสินพระทัยริเริ่มการสงครามกับอาณาจักรอยุธยาใหม่อีกครั้ง พระองค์ได้เลือกเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นผู้บัญชาการร่วมในการรุกรานคราวนี้ เนเมียวสีหบดีนำเส้นทางรุกรานทางเหนือโดยมีกำลังพล 20,000 นาย เริ่มต้นจากรัฐลาว ราชอาณาจักรเวียงจันทน์ตกลงยินยอมจะเป็นเมืองขึ้นของพม่าโดยไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น หลวงพระบางขัดขืนแต่ทัพเนเมียวสีหบดีสามารถยึดเมืองได้อย่างง่ายดายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2308 ทำให้พม่ามีอำนาจควบคุมอย่างสมบูรณ์ตามชายแดนทิศเหนือของอาณาจักรอยุธยาทั้งหมด<ref name=rlf-98/>
 
เนเมียวสีหบดีเคลื่อนทัพลงมาตามหุบเขาเจ้าพระยา มุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา กองทัพของเขามาถึงชานกรุงเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2309 ไปบรรจบกับทัพของมังมหานรธา<ref name=app-188>{{cite book | title=History of Burma | author=Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre | year=1883 | pages=188–190 | edition=1967 | publisher=Susil Gupta | location=London}}</ref> ฝ่ายพม่าเริ่มต้นการล้อมนาน 14 เดือน ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 มังมหานรธาเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ และเนเมียวสีหบดีกลายมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของปฏิบัติการทั้งหมด ทัพของเขาเจาะผ่านการป้องกันนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 และปล้นสะดมนคร<ref name=rlf-98/>
 
ดินแดนที่พม่าได้นั้นไม่คงอยู่นานเมื่อพระเจ้ามังระมีบัญชาให้ทหารพม่าส่วนใหญ่กลับประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2310 เพื่อรับมือกับการรุกรานของจีนและอินเดียซึ่งคุกคามพระนครอังวะ<ref name=rlf-98/><ref name=app-188/> ส่วนคนไทยนั้นยึดเอาดินแดนของตนกลับคืนภายในปี พ.ศ. 2312
 
=== กลับมาช่วยพม่ารบจีน (2310-2312) ===
ในขณะที่เนเมียวสีหบดีกำลังทำสงครามอยู่กับอยุธยาอยู่นั้น กองทัพ[[ต้าชิง]]ของ[[จักรพรรดิเฉียนหลง]]ได้เห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะเข้าทำลายกรุงอังวะ เนื่องจากมีปัญหาข้อพิพาทแถวชายแดนมานาน ในระยะแรกของการบุกครั้งที่1 และ2[[พระเจ้ามังระ]]ยังให้เนเมียวสีหบดีเพียรทำสงครามในอยุธยาต่อไป โดยสงครามกับจีนพระองค์จะทรงจัดการเอง ต่อมาภายหลัง ในการบุกครั้งที่3กองทัพต้าชิงส่งทัพใหญ่มา เนเมียวสีหบดีที่พิชิตอยุธยาลงได้แล้วเร่งเดินทางกลับมาช่วยกรุงอังวะรับศึก[[ต้าชิง]]ทันที แต่ยังไม่ทันกลับมาถึง[[อะแซหวุ่นกี้]]ก็สามารถพิชิตกองทัพต้าชิงได้แล้ว สุดท้ายในการบุกครั้งที่4 กองทัพของเนเมียวสีหบดีก็เดินทางกลับมาถึงต้าชิง และได้มีส่วนร่วมสำคัญในการตีกระหนาบกองทัพ[[ต้าชิง]] จนตกอยู่ในวงล้อมและต้องยอมทำการเจรจาอันเป็นการยุติ[[สงครามจีน-พม่า|สงครามระหว่างจีน-พม่าลง]] ในปี 2312]]
 
=== เชียงใหม่ (2316) ===
บรรทัด 41:
 
=== ธนบุรี (2318-2319) ===
ปรากฏว่าขุนนางท้องถิ่นเปลี่ยนไปเข้ากับฝ่าย[[กรุงธนบุรี]] และขับไล่ข้าหลวงพม่าออกจากเชียงใหม่ด้วยความช่วยเหลือของ[[กรุงธนบุรี]]ในปี พ.ศ. 2317 [[พระเจ้ามังระ]]ขณะนั้นพระองค์ประชวรหนัก ก่อนถึงเวลาจะพรากชีวิตสวรรคตของพระองค์ไปนั้น ได้มีบัญชาให้กองทัพพม่าเปิดศึกกับ[[กรุงธนบุรี]] เนเมียวสีหบดีได้คุมการกองทัพด้านเหนืออีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การบัญชาการของแม่ทัพ[[อะแซหวุ่นกี้]] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2318 เนเมียวสีหบดียกกองทัพซึ่งตั้งอยู่ที่[[เชียงแสน]]ลงมายังเชียงใหม่ แม้จะต้องเผชิญกับการต้านทานอย่างหนักของไทย แต่กองทัพของเขาก็สามารถยึดเชียงใหม่ได้เอาไว้ได้<ref>{{cite book | title=Siam: The History of the Thais: From 1569 A.D. to 1824 A.D. | author=Ronald Bishop Smith | year=1966 | publisher=Decatur Press | volume=2}}</ref> แต่แล้วเขาก็ต้องยกกองทัพกลับไปเชียงแสนอีกครั้ง หลัง[[อะแซหวุ่นกี้]]สั่งยกเลิกการรุกรานเมื่อทราบข่าว[[พระเจ้ามังระ]]สวรรคตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2319
 
== อ้างอิง ==