ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โฌแซ็ฟ ฟูเช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt ย้ายหน้า โฌแซ็ฟ ฟูว์เช ไปยัง โฌแซ็ฟ ฟูเช
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
หลังระบอบกษัตริย์ล่มสลายลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1792 ฟูเชก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนของ[[จังหวัดลัวรัตล็องติก]]ใน[[สภากงว็องซียงแห่งชาติ]] ช่วงแรกเขาไปคลุกคลีอยู่กับฝ่าย[[ฌีรงแด็ง]] แต่เนื่องจากพวกฌีรงแด็งไม่สนับสนุนการสำเร็จโทษ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 16]] ทำให้ฟูเชตัดสินใจย้ายไปอยู่ฝ่าย[[ลามงตาญ]] ฟูเชสนับสนุนอย่างแรงกล้าให้มีการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในทันที
 
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1793 ฟูเชเดินทางไปเมืองลียงกับฌ็อง-มารี กอโล แดร์บัว เพื่อประหารเหล่าผู้ก่อกบฎสภาจำนวน 271 คน<ref>Hanson, P.R. (2003) The Jacobin Republic Under Fire. The Federalist Revolt in the French Revolution, p. 193.</ref> มีการใช้โซ่ล่ามผู้ต้องโทษเข้าด้วยกันและใช้ปืนใหญ่ระดมยิงกระสุนพวงเพื่อสังหาร ทำให้ฟูเชได้รับฉายาว่า "เครื่องประหารแห่งลียง"<ref name="Napoleon">{{cite book |last=Schom |first=Alan |title=Napoleon Bonaparte |year=1997 |publisher=HarperCollins Publishers, New York |isbn=0-06-092958-8 |chapter=Fouche's Police |pages=253–255}}
</ref> ความโหดร้ายของฟูเชทำให้รอแบ็สปีแยร์เกิดหวั่นใจขึ้นมา รอแบ็สปีแยร์พยายามกำจัดฟูเชให้พ้นจากสโมสรฌากอแบ็งในวันที่ 14 กรกฎาคม 1794 แต่ฟูเชไหวตัวทันและหลบซ่อนตัวอยู่ในปารีสภายใต้การคุ้มครองของ[[ปอล บารัส]] และร่วมวางแผนโค่นล้มรอแบ็สปีแยร์ การโค่นล้มรอแบ็สปีแยร์ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่เรียกว่าคณะดีแร็กตัวร์