ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินสตัน เชอร์ชิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ชื่อตัว "วินสตัน" เป็นที่นิยมในการเรียกขานมากกว่า
บรรทัด 51:
| signature = Sir Winston Churchill signature.svg
}}
เซอร์'''วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล''' ({{lang-en|Winston Leonard Spencer-Churchill}}) เป็น[[รัฐบุรุษ]]ชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้เชอร์ชิล วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับ[[รางวัลโนเบล]]สาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล
 
เชอร์ชิลวินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจาก[[จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ|ดยุกแห่งมาร์ลบะระ]] สาขาหนึ่งของ[[ตระกูลสเปนเซอร์]] บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจใน[[บริติชอินเดีย]] และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา
 
เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]เขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษใน[[การทัพกัลลิโพลี]] ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิด[[ภาวะเงินฝืด]]แพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร
 
ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 เชอร์ชิลวินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อ[[นาซีเยอรมนี]]เริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี [[เนวิล เชมเบอร์ลิน]] ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 เชอร์ชิลวินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] เชอร์ชิลวินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็น[[เครือจักรภพแห่งชาติ]]แทน
 
ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาล[[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงาน]] เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของ[[โซเวียต]]ในยุโรปผ่านมาตรการ "[[ม่านเหล็ก]]" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 เชอร์ชิลวินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้ง[[วิกฤตการณ์มาลายา]], กบฎมาอูมาอูในเคนยา, [[สงครามเกาหลี]] ตลอดจนสนับสนุนการ[[รัฐประหารในอิหร่าน ค.ศ. 1953|รัฐประหารในอิหร่าน]] ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิก[[สภาสามัญชน]]ไปจนถึงปี 1964 เชอร์ชิลวินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดย[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2]] พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของ[[ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ|ทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล]]จากการจัดอันดับในปี 2002
 
== ชีวิตวัยเยาว์ ==
บรรทัด 92:
 
=== การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ===
ส.ส. เชอร์ชิลวินสตันเป็นบุคคลที่ต่อต้านความเคลื่อนไหวต่างๆเพื่อปลดแอก[[บริติชราช|อินเดีย]]รวมถึงต่อต้านกฎหมายที่จะให้เอกราชแก่อินเดีย ในปี 1920 เขากล่าวว่า ''"[[มหาตมา คานธี|คานธี]]ควรจะถูกมัดมือมัดเท้าไว้หน้าประตูเมืองเดลี แล้วก็ปล่อยให้ช้างตัวเบ้อเร่อเหยียบ"''<ref>Barczewsk, Stephanie, John Eglin, Stephen Heathorn, Michael Silvestri, and Michelle Tusan. ''Britain Since 1688: A Nation in the World'', p. 301</ref><ref>Toye, Richard. ''Churchill's Empire: The World That Made Him and the World He Made'', p. 172<!--publisher; ISSN/ISBN needed--></ref> ยังมีเอกสารระบุในภายหลังอีกว่า เชอร์ชิลวินสตันอยากจะเห็นคานธีอดอาหารให้ตายๆไปซะ<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/4573152.stm|title=Churchill took hardline on Gandhi|publisher=BBC News|date=1 January 2006|accessdate=12 April 2010}}</ref> เชอร์ชิลวินสตันเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า สันนิบาตป้องกันอินเดีย (India Defence League) เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อธำรงไว้ซึ่งอิทธิพลของอังกฤษในอินเดีย ในปี 1930 เชอร์ชิลวินสตันออกมาประกาศว่า กลุ่มคนและทุกอย่างของลัทธิ[[มหาตมา คานธี|คานธี]]จะต้องถูกจับกุมและถูกทำลาย<ref name="independent.ie">{{cite news|first=Kevin|last=Myers|url=http://www.independent.ie/opinion/columnists/kevin-myers/kevin-myers-seventy-years-on-and-the-soundtrack-to-the-summer-of-1940-is-filling-britains-airwaves-2286560.html|title=Seventy years on and the soundtrack to the summer of 1940 is filling Britain's airwaves|work=The Irish Independent|accessdate=7 November 2010|date=6 August 2010}}</ref> เชอร์ชิลวินสตันถึงขนาดแตกหักกับ[[สแตนลีย์ บอลดวิน|นายกรัฐมนตรีบอลดวิน]]ที่จะเริ่มกระบวนการให้เอกราชแก่อินเดีย โดยกล่าวว่าจะไม่ขอรับตำแหน่งใดๆในรัฐบาลอีกตราบใดที่บอลดวินยังเป็นนายกฯอยู่
 
=== นายกรัฐมนตรีครั้งแรก ===
ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเยอรมนีจะเข้าบุกฝรั่งเศสด้วยกลยุทธ์[[บลิทซ์ครีก]]ผ่าน[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]] หลังจากความล้มเหลวของปฏิบัติการในประเทศนอร์เวย์ ผู้คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลของ[[เนวิล เชมเบอร์ลิน|เชมเบอร์ลิน]] ทำให้เชมเบอร์ลินตัดสินใจลาออก ตัวเต็งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอย่าง[[Edward Wood, 1st Earl of Halifax|เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์]]ก็ถอนตัว เนื่องจากเขาไม่เชื่อมั่นว่าตัวเขาซึ่งมาจาก[[สภาขุนนาง]]จะสามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน แม้ว่าโดยจารีตประเพณีแล้วนายกรัฐมนตรีจะมิทูลเกล้าฯเสนอชื่อนายกฯคนต่อไป แต่เชมเบอร์ลินต้องการใครซักคนที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งสามพรรคใน[[สภาสามัญชน]] จึงเกิดการหารือกันระหว่างเชมเบอร์ลิน, ลอร์ดฮาลิแฟกซ์, เชอร์ชิลวินสตัน และ[[David Margesson, 1st Viscount Margesson|เดวิด มาเกรสสัน]] ในที่สุด[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]] ก็ทรงเสนอชื่อเชอร์ชิลวินสตันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยสิ่งแรกที่เชอร์ชิลวินสตันทำคือการเขียนจดหมายขอบคุณเชมเบอร์ลินที่สนับสนุนเขา<ref>Self, Robert (2006). ''Neville Chamberlain: A Biography'', p. 431. Ashgate; ISBN 978-0-7546-5615-9.</ref>
 
ตอนปลายของ[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]] กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษในภาคพื้นทวีปต่างพ่ายแพ้ต่อเยอรมัน หมู่เกาะอังกฤษตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้คนต่างหวาดผวาต่อการรุกรานโดย[[นาซีเยอรมนี]] ทันใดนั้นก็เกิด[[การอพยพดันเคิร์ก|ปาฏิหาริย์แห่งดันเคิร์ก]]ขึ้นซึ่งช่วยทหารไว้กว่าสามแสนนาย ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลวินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาสามัญชน สุนทรพจน์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ''We shall fight on the beaches'' ซึ่งบางส่วนของสุนทรพจน์ดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเป็นวลีที่ดีที่สุดแห่งยุค
[[ไฟล์:Wc0107-04780r.jpg|155px|thumb|วินสตัน เชอร์ชิลสวมหมวกเกราะขณะสัญญาณเตือนภัยดัง ระหว่าง[[ยุทธการที่บริเตน]] ค.ศ. 1940]]
 
{{คำพูด|...วันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ขอสภาให้กำหนดบ่ายวันนี้เป็นวาระพิเศษเพื่อกล่าวแถลง ผมมีความลำบากใจเป็นอย่างมากที่จะต้องประกาศหายนะทางการทหารที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของเรา...รากเหง้า แก่น และมันสมองของกองทัพบริเตน...ดูเหมือนกำลังจะพังทลายลงในสนามรบ...[[การอพยพดันเคิร์ก|ปาฏิหาริย์การปลดปล่อย]]ซึ่งสำเร็จได้จากความกล้าหาญ จากความบากบั่น กลายเป็นที่ประจักษ์แก่เราทุกคน และราชนาวีด้วยความช่วยเหลือของชาวเรือพาณิชย์นับไม่ถ้วน ได้ใช้เรือทุกชนิดเกือบพันลำ นำพากว่า 335,000 นายทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ให้รอดพ้นจากปากมัจจุราชและความอัปยศ...มีคนบอกว่าเฮอร์ฮิตเลอร์มีแผนรุกรานหมู่เกาะอังกฤษ ข้อนี้ก็เคยคิดกันมาก่อนหลายครั้ง...เราจะขอพิสูจน์ตนเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดของเรา และเราจะผ่านพ้นภัยทรราชนี้...