ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพร่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 14:
[[หมวดหมู่:ชนชั้นทางสังคม]]
{{โครง}}
 
= ไพร่ =
"ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ, คนเลว สามัญ" ในสมัยอยุธยา (พ.ศ.1893 - 2310) สังคมไทยแบ่งออกเป็นหลายชั้น นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาก็คือ เจ้านาย ขุนนาง ราษฎรและทาส ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แบ่งหน้าที่ราชการออกเป็นฝ่ายทหาร และพลเรือน ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นหัวหน้า
 
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่สองได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำสารบัญชี ทำการพิธี การทำตำราพิชัยสงคราม เฉพาะการทำสารบัญชีนั้นได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมสรัสวดีขึ้น เรียกกันทั่วไปว่า สัสดี มีหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน ทำทะเบียน พลเมือง มีสาขาตั้งอยู่ตามหัวเมืองทุกแห่ง
 
ในการทำทะเบียนพลเมือง มีความมุ่งหมายที่จะจัดคนเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ
 
1.''' ไพร่สม''' ได้แก่ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี และมีหน้าที่รับราชการจนถึงอายุ 60 ปี หรือมีเหตุรับราชการสามคน จึงพ้นหน้าที่รับราชการ, ไพร่สมต้องฝึกหัดราชการจนถึงอายุ 20 ปี เมื่อมีอายุครบ 20 ปี ก็เปลี่ยนไปเป็นไพร่หลวง 
 
2. '''ไพร่หลวง''' เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา ไพร่หลวงรับราชการต่อไปจนถึงเวลาปลดออกจากราชการ และผลัดเปลี่ยนเข้าเวรรับราชการ โดยให้แรงงานแก่ทางราชการ 
 
3. '''ไพร่ส่วย''' ได้แก่ พวกที่ประสบความยากลำบากในการเดินทาง เพราะตั้งภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลจากสถานที่รับราชการ จึงต้องจัดหาสิ่งของ ที่ต้องการใช้ในราชการ ส่งมาทดแทนแก่ทางราชการ เมื่อมีศึกสงครามมาประชิดบ้านเมือง มีการระดมไพร่เข้ารับราชการพวกไพร่ส่วย จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งระดมพล เข้าประจำการในกองทัพอย่างพรักพร้อม
 
ในสมัยธนบุรี (พ.ศ.2310 - 2325)  สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้แก่บ้านเมืองได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกำหนด เมื่อปี พ.ศ.2317 ให้เริ่มมีการสักเลขหมายหมู่ของไพร่ไว้ที่ข้อมือว่า สังกัดนายกรมไหนและเมืองใด ควรสังเกตว่าไพร่มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เลก หรือ เลข หมายถึงเลขหมายหมู่ที่พวกไพร่สังกัดอยู่
 
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สถาบันไพร่ยังมีความจำเป็นสำหรับการป้องกัน และพัฒนาราชอาณาจักรไทย แต่ได้มีการผ่อนปรนให้ทำงานลดน้อยลง โดยในรัชกาลที่หนึ่งไพร่หลวงเข้ารับราชการเพียงปีละสี่เดือน ต่อมาในรัชกาลที่สองเหลือปีละสามเดือน ฝ่ายขุนนางซึ่งบังคับบัญชาไพร่ ก็ให้ความคุ้มครองแก่ไพร่ของตนในด้านต่าง ๆ เช่น ในการพิจารณาคดีไพร่ที่ต้องโทษขุนนางที่มีตำแหน่งสำคัญ ๆ บางคนออกหนังสือประทับตรา ยกเว้นภาษีบางอย่างให้แก่ไพร่ของตนเป็นต้น ไพร่ที่มีศักดินาตั้งแต่ 10 - 25 ไร่ และได้รับความอุปถัมภ์แก่ไพร่ และครอบครัว คนชรา ผู้หญิงและเด็กก็จัดอยู่ในประเภทบริวารของไพร่
 
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการทำศึกกับพม่า ญวน ลาว เขมร ตลอดไปจนถึงมลายู ในแต่ละครั้งมีการกวาดต้อนผู้คนเข้ามาเป็นเชลยจำนวนมาก โดยได้กวาดต้อนมาจากหัวเมืองชายแดน และทางราชการได้แจกจ่ายบุคคลเหล่านั้นให้เป็นไพร่ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภท ๆ ดังต่อไปนี้
 
1. '''ไพร่เชลยศึก'''  พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านาย แม่ทัพนายกองที่มีความดีความชอบในราชการสงคราม ส่วนที่เหลือให้เป็นไพร่หลวงสังกัดกรมกองต่าง ๆ 
 
2. '''ไพร่เกลี้ยกล่อม'''  ในการสงครามกับญวนในรัชกาลที่สามได้เกลี้ยกล่อมชาวลาวและชาวเขมรเข้ามาอยู่ในพระราชอาณาเขต มีฐานะเป็นไพร่เกลี้ยกล่อม 
 
3. '''ไพร่สวามิภักดิ์'''  เป็นพวกที่อพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
 
ในปี พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แผ้วถางเลิกระบบไพร่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2425 โดยมีการตรา พ.ร.บ.หลายฉบับมีลักษณะเป็นทหาร "สมัคร" เสียก่อน โปรดเกล้า ฯ ให้รับไพร่หลวง และบุตรในหมู่ใดกระทรวงใดเข้ามาเป็นทหารในกรมทหารม้า เมื่อรับราชการครบห้าปีก็พ้นจากประจำการ ปรากฎว่ามีผู้สมัครเป็นทหารกันมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2442 ทางราชการได้จัดให้มีการสำรวจสำมะโนครัวไพร่ขึ้น เมื่อไพร่ผู้ใดจะโอนไปอยู่กับผู้ใดจะโอนสำมะโนครัวไปด้วย ผู้ที่รับผิดชอบควบคุมสำมะโนครัว คือ นายอำเภอ และกำนันในแต่ละท้องที่
 
ในปี พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้าให้ตรา พ.ร.บ.ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124 เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบทหาร จากการสมัครมาเป็นเกณฑ์ โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ 18 - 20 ปี ต้องเข้ามารับการคัดเลือกเป็นทหารทุกคนในแต่ละปี ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะต้องเข้ามารับราชการทหาร ในกองประจำการเป็นเวลาสองปี จึงเป็นกองหนุน แล้วไม่ต้องเสียเงินค่าราชการใด ๆ อีกต่อไปจนตลอดชีวิต ส่วนคนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกจะเสียเงินให้ราชการแทน หรือรอไว้สำหรับการคัดเลือกในปีต่อไปก็ได้
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไพร่"