ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PP2014 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6092383 โดย Potaptด้วยสจห.
บรรทัด 31:
}}
 
'''สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตา''' ({{Lang-id|stasiun Jakarta Kota}}, ตัวย่อ: JAKK) หรือชื่อเดิม ''บาตาวียาเซยด์'' (''[[สถานีรถไฟบาตาเวียใต้|บาตาเวียใต้]]'')<ref>[http://indonesianheritagerailway.com/index.php?option=com_content&view=article&id=170&Itemid=176&lang=en Jakarta Kota station]</ref> เป็น[[สถานีรถไฟ]]ปลายทางในเขตเมืองเก่าของ[[จาการ์ตา]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]] สถานีรถไฟแห่งนี้รู้จักกันดีในชื่อ '''สถานีเบโอส''' ซึ่งย่อมาจากชื่อ ''บาตาวียัสเคอ โอสเตอร์ สโปร์เวค มาตสคาไป'' หรือ[[บริษัทรถไฟบาตาเวียตะวันออก]]
 
สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาทำหน้าที่เป็นสถานีรถไฟแห่งหลักของ[[จาการ์ตา]]ร่วมกับ[[สถานีรถไฟกัมบีร์]] [[สถานีรถไฟจาตีเนอการา]] และ[[สถานีรถไฟปาซาร์เซอเน็น]] รองรับ[[รถไฟระหว่างเมือง]]บน[[เกาะชวา]] และ[[รถไฟฟ้าชานเมือง]]อีก 3 สาย
 
== ประวัติ ==
สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1887 โดย''[[บริษัทรถไฟบาตาเวียตะวันออก]]'' (''โบส'') ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน เมื่อสร้างเสร็จ จึงได้รับการตั้งชื่อว่า ''[[สถานีรถไฟบาตาเวียใต้]]'' เพื่อแยกความกำกวมจาก ''[[สถานีรถไฟบาตาเวียเหนือ]]'' ต่อมาได้รับดำเนินงานโดยบริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่ง และย้ายตัวสถานีไปตั้งอยู่ด้านหลังศาลาว่าการหลังเก่า ต่อมา[[บริษัทสตาตส์สโปร์เวเคิน]]ได้เข้ามาดำเนินงานสถานีรถไฟบาตาเวียใต้ในปี ค.ศ. 1898 และสถานีรถไฟบาตาเวียเหนือในปี ค.ศ. 1913 ตามลำดับ<ref name="Jakarta">{{cite web|title=Beos, Stasiun |url=http://www.jakarta.go.id/web/encyclopedia/detail/3833/Beos-Stasiun |publisher=Jakarta.go.id |language=Indonesian| accessdate=23 February 2015}}</ref>
 
สถานีรถไฟบาตาเวียใต้ปิดทำการชั่วคราวในปี ค.ศ. 1923<ref name="Jakarta"/> และได้สร้างอาคารใหม่ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1926–1929 โดยให้สถานีรถไฟบาตาเหนือรับรองขบวนรถไฟแทน อาคารสถานีใหม่ได้รับการออกแบบในปี ค.ศ. 1927–1928 โดยสถาปนิกอัสเซิลแบคส์, ไคเซิลส์ และแฮ็ส จากบริษัทไอยาในบาตาเวีย ระหว่างการสร้างใหม่ ได้ใช้วัสดุ[[คอนกรีต]]จากบริษัทคอนกรีตดัตช์<ref name="Jakarta"/> ตัวอาคารสถานีแห่งใหม่ มี[[ทางรถไฟ]] 12 ทาง ซึ่งกำหนดให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างบาตาเวียกับท่าเรือเบยเตินซอร์คและท่าเรือเมอระก์ซึ่งมีเรือข้ามฟากไปยัง[[เกาะสุมาตรา]]<ref name="Jakarta"/> ทำพิธีเปิดอาคารใหม่ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1929<ref>"Het nieuwe Station Batavia", ''Bataviaasch Nieuwsblad'', Batavia, 14 October 1929</ref> ส่วนสถานีรถไฟบาตาเวียฝั่งเหนือได้ถูกยกเลิกและรื้อทิ้งเรียบร้อยแล้ว