ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคลิด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย''' ({{lang-en|Euclid of Alexandria}}, ประมาณ 325 – 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวกรีก
ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย (Euclid of Alexandria, ประมาณ 325 – 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1]) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมาก ที่สุดจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 เพียงแต่เรากล่าว ถึงชื่อของท่านก็จะทำให้เรานึกถึงวิชาเรขาคณิต แม้ว่าท่านจะไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ที่เป็นคนคิดริเริ่มสิ่งใหม่ แต่ท่านก็มีส่วนช่วยสนับสนุนในการรวบรวมวิชาเรขาคณิตลงในหนังสือมากที่สุด ที่เรารู้จักกันคือหนังสือ Elements ซึ่งรวบรวมผล งานชิ้นสำคัญ ๆ ของนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงก่อนหน้าท่าน ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของท่านชิ้นนี้กลายเป็นรูปแบบของการให้เหตุผลที่ดี เป็นมาตรฐานความรู้ทางเรขาคณิต อีกทั้งเป็นรูปแบบของการเขียนตำราทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลา มากกว่า 2000 ปี
 
== ''ประวัติ'' ==
เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและบุคลิกภาพของยุคลิดยูคลิดน้อยมาก รู้แค่เพียงว่าท่านเคยเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ (professor of mathematics) ของมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย (University of Alexandria) ต่อจาก [[พลาโต]] (Plato, ประมาณ 428 – 384 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และก่อนหน้า [[อาร์คีมีดีส]] (Archimedes, ประมาณ 287 – 212 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และได้ชีวิติใช้ชีวิตอยู่ที่อะเล็กซานเดรียอีกเป็นเวลานาน รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งสำนักคณิตศาสตร์แห่งอะเล็กซานเดรีย (Alexandria School of Mathematics) ขึ้นด้วย ซึ่งสำนักแห่งนี้ก็มีชื่อเสียงต่อมาอีกเป็นเวลานาน สถานที่เกิดและสถานที่ตายของท่านเราก็ไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่มีนักเขียนชาวอาหรับกล่าวไว้ว่ายุคลิดเกิดในเมืองไทร์ (Tyre) ของกรีก ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเลบานอน แต่ว่าเขาอาจจะเป็นชาวอียิปต์ก็เป็นได้
 
มีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อได้ว่ายุคลิดเคยได้รับการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ที่สำนักพลาโตนิก (Platonic School) ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) มาก่อน และมาอยู่ที่อะเล็กซานเดรียภายหลังจากที่พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ประมาณ 359 – 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้สร้างเมืองอะเล็กซานเดรียขึ้น และท่านก็มีชื่อเสียงแพร่หลายในรัชสมัยโตเลมีที่ 1 พระเจ้าโซเตอร์ (Ptolemy I Sotor, ประมาณ 367 – 282 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งพระเจ้าโตเลมีที่ 1 นี่เองที่ทรงเป็นผู้สร้างมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรียขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะชัดจูงคนที่มีการศึกษาดีมาอยู่ในเมืองนี้ และมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็นับได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมากที่สุด มีทั้งห้องบรรยาย ห้องทดลอง สวน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดและที่อยู่ของเจ้าหน้าที่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้องสมุด ซึ่งสร้างไว้ได้อย่างใหญ่โตมาก และนับว่าเป็นที่เก็บรวบรวมผลงานที่ใช้ในการศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ดังที่มีคำกล่าวเปรียบเปรยว่า ภายในระยะเวลา 40 ปีนับตั้งแต่มีการก็ตั้งห้องสมุดมาเท่านั้นก็มีม้วนกระดาษปาปิรุส (papyrus rolls) มากกว่า 6 แสนม้วน และอะเล็กซานเดรียก็กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการ (Intellectual metropolis) ของชาวกรีกติดต่อกันมาเป็นเวลานับพันปี
 
== ''เรื่องเล่าเกี่ยวกับยุคลิด'' ==
ปัปปุส (Pappus, ประมาณ ค.ศ. 300) นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งเคยยกย่องยุคลิดไว้ว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับอะโปลโลเนียส (Apollonius of Perga, ประมาณ 225 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แล้ว ยุคลิดช่างเป็นคนที่ถ่อมตนและนึกถึงคนอื่น ๆ อยู่เสมอ”
 
โปรคลุส (Proclus, ค.ศ. 410 – 485) ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับยุคลิดในหนังสือ Eudemian Summary ว่า “เมื่อยุคลิดได้เป็นพระอาจารย์วิชาเรขาคณิตในพระเจ้าโตทอเลมีที่ 1 พระองค์มีรับสั่งถามยุคลิดว่า ‘มีทางลัดสำหรับการเรียนวิชาเรขาคณิตไหม?’ ยุคลิดทูลตอบว่า ‘ไม่มีลาดพระบาทสำหรับการเรียนเรขาคณิต’ (There is no royal road to geometry.)” กล่าวคือ การศึกษาวิชาเรขาคณิตไม่ใช่สิ่งที่สะดวกสบายและทำได้ง่าย ๆ แต่มีบางคนกล่าวว่าคำพูดนี้เป็นคำพูดของเมแนชมุส (Menaechmus, ประมาณ 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อทูลตอบพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช
 
เมื่อมีลูกศิษย์คนหนึ่งถามยุคลิดในระหว่างที่เรียนเรขาคณิตว่า “เราจะได้อะไรเป็นผลตอบแทนบ้างจากการเรียนสิ่งที่ยากเหล่านี้” (What will I get by learning difficult thing?) ซึ่งคำถามนี้คงจะหมายความว่าจะนำความรู้ทางเรขาคณิตไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เพราะเรขาคณิตที่ยุคลิดสอนนั้นมีแต่การพิสูจน์และการให้เหตุผล ซึ่งเป็นการยากที่ยุคลิดจะตอบได้ในทันทีทันใด ท่านจึงสั่งให้ทาสไปหยิบเหรียญเงิน 2 โอปอลมา 1 เหรียญมอบให้แก่ลูกศิษย์คนนั้นและตอบว่า “เจ้าจะต้องได้รับกำไรหรือประโยชน์จากสิ่งที่เรียนรู้แน่นอน” (for he must make a profit from what he learns.) ที่ยุคลิดกล่าวเช่นนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่มีทางลัด และไม่สามารถเรียนหรือฝึกหัดแทนกันได้ ผู้เรียนจะต้องพอใจและรักในวิชาคณิตศาสตร์เพราะตัววิชาคณิตศาสตร์เอง
บรรทัด 20:
ยุคลิดมีผลงานอย่างน้อยที่สุด 9 ชิ้น ได้แก่ Elements, Data, On Divisions (หรือ ), Pseudaria, Porissms, Conics, Phacnomena, Optics, Elements of Music แต่มีผลงานที่ ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 5 ชิ้นด้วยกัน คือ
 
'''1. Division of Figures''' กล่าวถึงการแบ่งรูปในระนาบ ประกอบด้วยทฤษฎีบท 36 บท เข่นเช่น ทฤษฎีบทที่ 1 ว่าด้วยการสร้างเส้นตรงให้ขนานกับฐานของสามเหลี่ยมและแบ่งสามเหลี่ยมออกเป็นสองส่วนโดยมีพื้นที่เท่ากัน เป็นต้น
 
'''2. Data''' เปรียบเทียบได้กับคู่มือการสอนที่ใช้ควบคู่กับหนังสือ Elements 6 เล่มแรก เนื้อหาสาระจึงเน้นที่การชี้แนะวิธีวิเคราะห์ปัญหาทางเรขาคณิต
บรรทัด 172:
{{บทความเกี่ยวกับกรีซโบราณ}}
 
{{birth|-330}}{{death|-275}}
{{เกิดปี|213}}
{{death|-275}}
{{ตายปี|268}}
[[หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก]]
[[หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยุคลิด"