ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วารสารวิชาการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
กระบวน[[การตรวจแก้โดยผู้รู้เสมอกัน]]นับเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผล[[งานวิจัย]]และความรู้ใหม่ในสาขาวิชานั้นๆ นักปราชญ์หรือผู้รู้ย่อมเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งเฉพาะในสาขาวิชาของตน ดังนั้น นักวิชาการจึงต้องอาศัย[[วารสารวิชาการ]]ที่ผ่านกระบวน[[การตรวจแก้โดยผู้รู้เสมอกัน]]เท่านั้นเพื่อเป็นการพิสูจน์ความถูกต้อง สร้างความเชื่อถือและความเลื่อมใสให้เกิดแก่งานวิจัยนั้นๆ และความรู้ใหม่ นอกจากนี้ [[วารสารวิชาการ]]ยังช่วยสร้างความต่อเนื่องหรือการต่อยอดสืบจากงานค้นคว้าวิจัยหรือความรู้ใหม่จากบุคคลใน[[วงวิชาการ]]นั้นๆ ต่อไป
 
==บทความบทปริทัศน์ (Review articles)==
องค์ประกอบสำคัญของ[[วาสารวิชาการ]]อีกองค์หนึ่งได้แก่ "'''บทปริทัศน์'''" ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า "'''บทปริทัศน์ก้าวหน้า'''" (rewiews of progress) ถือเป็นการตรวจสอบบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ วารสารวิชาการบางฉบับอุทิศเนื้อที่เกือบทั้งหมดในวารสารสำหรับบทปริทัศน์ บางฉบับก็มีบทปริทัศน์เป็นส่วนน้อย แต่วารสารวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีบทปริทัศน์ บทปริทัศน์ส่วนใหญ่ทบทวนงานวิจัยที่เพิ่งลงในวารสารฉบับก่อนๆ บางฉบับอาจทบทวนบทความวิจัยที่ลงเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ได้ บางฉบับจะลงบทปริทัศน์เฉพาะเรื่อง บางฉบับลงอย่างกว้างๆ มีหลายฉบับที่ตีพิมพ์บทปริทัศน์เป็นชุด แต่ละชุดลงบทปริทัศน์ของวิชาหนึ่งๆ เป็นรายปี บางฉบับมากกว่า 1 ปี
 
'''บทปริทัศน์'''แตกต่างกับบทความวิจัยที่มักเป็นการเชื้อเชิญผู้เขียนให้เขียนมาลงในวารสาร บางบางฉบับมีการเตรียมการวางแผนการลงบทปริทัศน์ล่วงหน้าเป็นรายปี ผู้เขียนบทปริทัศน์อาจได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินก็ได้
 
==บทวิจารณ์หนังสือ==