ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
 
== ประวัติ ==
เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2384 เป็นบุตรคนที่สองของ[[พระยากระสาปน์กิจโกศล]]กับคุณหญิงพลอย บุตรี[[พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์)]] บิดาได้นำขึ้นถวายตัวเป็น[[มหาดเล็ก]]ในแผ่นดิน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อ พ.ศ. 2401-2404 ท่านจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเมื่ออายุเพียง 20 ปี จากสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ <ref>ศูนย์การเรียนรู้อุตสาหกรรมเหมืองแร่. (2560). ''พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล).'' ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560 จาก http://lc.dpim.go.th/kb/1010</ref>
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากระสาปน์กิจโกศลตั้งโรงกษาปณ์ผลิตเงินเหรียญขึ้นแทนเงิน[[พดด้วง]] ซึ่งมาแต่เดิม จึงและได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชากลการไปช่วยงานบิดาที่กรมกระษาปน์สิทธิการ
 
พระปรีชากลการเป็นผู้มีหัวคิดทันสมัย ชอบประดิษฐ์ ค้นคว้า ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศคล้ายบิดา จึงเป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ก็ได้เป็นเจ้ากรมกระษาปณ์สิทธิการแทนบิดาตามคาดหมาย พระปรีชากลการมีผลงานอย่างเช่น ประดิษฐ์ซุ้มจุดด้วยไฟแก๊สถวายในงานเฉลิมพระชนมพรรษา และเป็นนายงานสร้างตึกแถวบน[[ถนนบำรุงเมือง]]<ref>''บรรพบุรุษ และสกุลวงศ์ อมาตยกุล'', พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาปฏิภาณพิเศษ (อาเล็กแซนเดอร์ อมาตยกุล) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส 30 มีนาคม 2507</ref>
 
บรรทัด 38:
== ชีวิตส่วนตัว ==
 
พระปรีชากลการเป็นบุตรของ [[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] กับคุณหญิงพลอย ไกรฤกษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 8 คน <ref>มูลนิธิสกุลอมาตยกุล. (2514). ''ลำดับสกุลอมาตยกุล.'' กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาดไทย.</ref> คือ 1. (ญ.) ไม่มีชื่อ ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 2.พระปรีชากลการ (สำอาง) 3.นายสอาด ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 4.พระยาเพชรพิชัย (เจิม) 5. โม๊ะ ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 6. [[พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน_(แฉล้ม_อมาตยกุล)|พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล)]] 7.คุณหญิงทรามสงวน ภรรยาของ [[พระยาอภัยรณฤทธิ์_(จอมถวิล_อมาตยกุล)|พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)]] 8.นายอาดูร ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ นอกจากนี้ มีพี่น้องต่างมารดา <ref>มูลนิธิสกุลอมาตยกุล. (2514). ''ลำดับสกุลอมาตยกุล.'' กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาดไทย.</ref> คือ 1. นายหนู 2.นางสังวาลย์ 3.นายบาง 4.นายปริ่ม 5.ขุนประจักษ์ธนสาร (เผื่อน) 6.พระประกอบอัคนิกิจ (เหลอ) 7. นายหลา ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 8. ตุณหญิงปุย ภรรยา[[พระยาประชากรกิจวิจารณ์_(โอ_อมาตยกุล)|พระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล)]] 9.พระภิกษุชิด อุปสมบทจนมรณภาพ 10.นายแจก 11. นายวงษ์ ท่านจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเมื่ออายุเพียง 20 ปี จากสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ <ref>ศูนย์การเรียนรู้อุตสาหกรรมเหมืองแร่. (2560). ''พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล).'' ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560 จาก http://lc.dpim.go.th/kb/1010</ref>
 
ท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เชิงสะพานพุทธ โดยในปัจจุบันเป็นจุดที่สะพานประปกเกล้าซึ่งเป็นสะพานคู่กับสะพานพุทธตัดผ่าน โดยบ้านของท่านเป็นบ้านแบบตะวันตกที่หรูหราในยุคนั้น หลังจากท่านเสียชีวิตลง ทางการได้ใช้บ้านของท่านเป็นที่ทำการไปรษณีย์หรือที่เรียกว่า[[ไปรษณียาคาร|ไปรสะนียาคาร]] จนถูกทุบทิ้งเมื่อปีพ.ศ. 2525 อย่างไรก็ตาม บ้านของท่านถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์กิจการไปรษณีย์ไทย <ref>ศูนย์มานุษวิทยาศิรินธร. (2560). ''ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย.'' ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560 จาก http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=194&CID=37539</ref>