ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 38:
== ชีวิตส่วนตัว ==
 
พระปรีชากลการเป็นบุตรของ [[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] กับคุณหญิงพลอย ไกรฤกษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 8 คน <ref>มูลนิธิสกุลอมาตยกุล. (2514). ''ลำดับสกุลอมาตยกุล.'' กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาดไทย.</ref> คือ 1. (ญ.) ไม่มีชื่อ ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 2.พระปรีชากลการ (สำอาง) 3.นายสอาด ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 4.พระยาเพชรพิชัย (เจิม) 5. โม๊ะ ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 6. [[พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน_(แฉล้ม_อมาตยกุล)|พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล)]] 7.คุณหญิงทรามสงวน ภรรยาของ [[พระยาอภัยรณฤทธิ์_(จอมถวิล_อมาตยกุล)|พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)]] 8.นายอาดูร ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ นอกจากนี้ มีพี่น้องต่างมารดา <ref>มูลนิธิสกุลอมาตยกุล. (2514). ''ลำดับสกุลอมาตยกุล.'' กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาดไทย.</ref> คือ 1. นายหนู 2.นางสังวาลย์ 3.นายบาง 4.นายปริ่ม 5.ขุนประจักษ์ธนสาร (เผื่อน) 6.พระประกอบอัคนิกิจ (เหลอ) 7. นายหลา ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์ 8. ตุณหญิงปุย ภรรยา[[พระยาประชากรกิจวิจารณ์_(โอ_อมาตยกุล)|พระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล)]] 9.พระภิกษุชิด อุปสมบทจนมรณภาพ 10.นายแจก 11. นายวงษ์ ท่านจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเมื่ออายุเพียง 20 ปี จากสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ <ref>ศูนย์การเรียนรู้อุตสาหกรรมเหมืองแร่. (2560). ''พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล).'' ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560 จาก http://lc.dpim.go.th/kb/1010</ref>
 
ท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เชิงสะพานพุทธ โดยในปัจจุบันเป็นจุดที่สะพานประปกเกล้าซึ่งเป็นสะพานคู่กับสะพานพุทธตัดผ่าน โดยบ้านของท่านเป็นบ้านแบบตะวันตกที่หรูหราในยุคนั้น หลังจากท่านเสียชีวิตลง ทางการได้ใช้บ้านของท่านเป็นที่ทำการไปรษณีย์หรือที่เรียกว่า[[ไปรษณียาคาร|ไปรสะนียาคาร]] จนถูกทุบทิ้งเมื่อปีพ.ศ. 2525 อย่างไรก็ตาม บ้านของท่านถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์กิจการไปรษณีย์ไทย <ref>ศูนย์มานุษวิทยาศิรินธร. (2560). ''ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย.'' ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560 จาก http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=194&CID=37539</ref>
[[ไฟล์:บ้านพระปรีชา สะพานพุทธ.jpg|thumb|บ้านของพระปรีชากลการตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ]]
 
พระปรีชากลการเป็นคนกว้างขวางในสังคมต่างประเทศ เนื่องจากจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเมื่ออายุเพียง 20 ปี จากสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ <ref>ศูนย์การเรียนรู้อุตสาหกรรมเหมืองแร่. (2560). ''พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล).'' ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560 จาก http://lc.dpim.go.th/kb/1010</ref> ท่านสมรสกับแฟนนี่ น็อกซ์ ลูกสาว[[โทมัส ยอร์ช น็อกซ์]] กงสุลใหญ่อังกฤษ เนื่องจากมีพื้นฐานทางสังคม ครอบครัว และการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ความรักของหนุ่มสาวทั้งคู่จึงเกิดขึ้นท่ามกลางสิ่งแวดล้อม ในวงสังคมชั้นสูง โดยเริ่มรู้จักกันเมื่อทั้งสองฝ่ายซึ่งนิยมกีฬาขี่ม้า ได้ขี่ม้าเล่นเพื่อออกกำลังกายในเวลาเช้า ฝายชายอยู่ในกลุ่มข้าราชบริพารที่โปรดปรานขี่ม้าตามเสด็จรัชกาลที่ 5 ส่วนฝ่ายหญิงก็ขี่ม้าเล่นกับนายน็อกซ์ผู้เป็นบิดา แม้ว่า ฝ่ายชายจะมีภรรยาและบุตรชายหญิงอยู่แล้ว เมื่อมีโอกาสรู้จักกัน ครั้งแรกจึงอยู่ในฐานะมิตรสหาย แต่ต่อมาเมื่อภรรยาพระปรีชาฯ ถึงแก่กรรม การรู้จักกันฉันเพื่อนทำให้มีโอกาสได้เข้าไปแสดงความเห็นอกเห็นใจ และสานความสัมพันธ์ต่อจนกลายเป็นความรักในที่สุด การสมรสของทั้งสองคนเกิดขึ้นท่ามกลางการสบประมาทของขุนนางชั้นผู้ใหญ่หัวโบราณและเป็นชาตินิยมสุดโต่ง<ref>Minney, R.J. ''FANNY & THE REGENT OF SIAM''. London : Collins Clear-Type Press, 1962</ref> และมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนชื่อ จำรัส อมาตยกุล หรือ เฮนรี สเปนเซอร์ ({{lang-en|Henry Spencer}})
 
ก่อนหน้านี้ พระปรีชากลการมีภรรยาจำนวน 2 คน และมีบุตรรวม 3 คน หลังจากที่เขาได้สมรสกับแฟนนี่แล้ว ก็มีภรรยาอีก 4 คน และมีบุตรธิดารวมกันอีก 6 คน คือ <ref>ไกรฤกษ์ นานา, "ฟื้นปริศนาคดีประวัติศาสตร์ นางแฟนนี่ น็อกซ์ แก้ต่างความผิดให้พระปรีชากลการ". นิตยสาร''ศิลปวัฒนธรรม'' เล่มที่ 7 พฤษภาคม 2551 หน้า 113</ref> <ref>ตระกูลไกรฤกษ์. (2549). ลำดับตระกูลไกรฤกษ์. กรุงเทพฯ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.</ref>