ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่างกุ้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
อันเดียวกัน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 60:
==ประวัติศาสตร์==
===ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มแรก===
ย่างกุ้งก่อตั้งขึ้นในชื่อ ''[[ดากอน]]'' (Dagon) ในช่วง[[พุทธศตวรรษที่ 16]] (พ.ศ. 1571-1586) โดย[[ชาวมอญ]]ซึ่งครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้ของพม่าในขณะนั้น<ref>Founded during the reign of King Pontarika, per {{cite book | title=Legendary History of Burma and Arakan | year=1882 | author=Charles James Forbes Smith-Forbes | publisher=The Government Press | page=20}}; the king's reign was 1028 to 1043 per {{cite book | last = Harvey| first = G. E.| title = History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824 | publisher=Frank Cass & Co. Ltd | year = 1925| location = London | page=368}}</ref> ดากอนเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ซึ่งมีศูนย์กลางคือเจดีย์ชเวดากอง ในพ.ศ. 2298 [[พระเจ้าอลองพญา]] ได้บุกยึดดากอน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น ''ย่างกุ้ง'' (Yangon) และมีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรที่เพิ่มขึ้นตลอดมา เมื่อถึงพ.ศ. 2367 [[กองทัพอังกฤษ]]สามารถยึดเมืองย่างกุ้งได้ใน[[สงครามอังกฤษ-พม่า]]ครั้งแรก แต่หลังจากสงคราม อังกฤษก็คืนย่างกุ้งให้แก่พม่า ในพ.ศ. 2384 เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ในเมืองซึ่งทำลายเมืองไปเกือบทั้งหมด<ref name=mcy>{{Cite book| title=Megacity yangon: transformation processes and modern developments | author=Kyaw Kyaw | isbn=3-8258-0042-3 | editor=Frauke Krass, Hartmut Gaese, Mi Mi Kyi | pages=333–334 | publisher=Lit Verlag | location=Berlin | year=2006}}</ref>
 
===ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม===
อังกฤษยึดย่างกุ้งและส่วนล่างของพม่าทั้งหมดได้ในระหว่าง[[สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สอง]] เมื่อ พ.ศ. 2395 และได้เปลี่ยนย่างกุ้งให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมืองของ[[พม่าของอังกฤษ]] (British Burma) และยังเป็นสถานที่ซึ่งอังกฤษส่งตัว[[จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2]] จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่ง[[ราชวงศ์โมกุล]]ของอินเดียมาจองจำหลังจากเกิดเหตุการณ์กบฎอินเดีย หรือ[[กบฎซีปอย]]ขึ้นเมื่อปี 2400 อังกฤษได้สร้างเมืองย่างกุ้งใหม่โดยวางผังเมืองเป็นรูปตารางบนที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยมีร้อยโทอเล็กซานเดอร์ เฟรเซอร์ นายทหารช่างเป็นผู้ควบคุมการออกแบบ มีพื้นที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกจรด[[แม่น้ำพะซุนดวง]] (Pazundaung Creek) ทิศตะวันตกและทิศใต้จรด[[แม่น้ำย่างกุ้ง]]
 
ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงพม่าของอังกฤษหลังจากที่อังกฤษยึดพม่าตอนบนได้ใน[[สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 3]] เมื่อปี 2428 และตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 เป็นต้นมา ประชากรและการค้าในย่างกุ้งเติบโตขึ้นอย่างรุ่งเรืองซึ่งเป็นผลให้เมืองขยายออกไปทางเหนือจรด รอยัล เลค หรือทะเลสาบ กันดอจี (Kandawgyi) และ[[ทะเลสาบอินยา]] (Inya Lake)<ref name="autogenerated4">{{cite web|url=http://www.bookrags.com/Yangon |title=Yangon Summary Review and Analysis |publisher=Bookrags.com |date=17 October 2005 |accessdate=17 April 2010}}</ref> นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลย่างกุ้ง (Rangoon General Hospital) และวิทยาลัย ซึ่งก็คือ [[มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง]] (Rangoon University) ในปัจจุบัน
 
ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม มีสวนสาธารณะและทะเลสาบที่กว้างขวาง อีกทั้งยังประกอบไปด้วยอาคารที่ทันสมัยและสถาปัตยกรรมไม้แบบดั้งเดิม ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สวนเมืองแห่งทิศตะวันออก" (the garden city of the East)<ref name="autogenerated4" /> และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ย่างกุ้งก็มีการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่เทียบเท่า[[ลอนดอน]]เลยทีเดียว<ref name="arc">{{Cite book| last=Falconer| first=John| year=2001| title=Burmese Design & Architecture| isbn=962-593-882-6| publisher=Periplus| location=Hong Kong|display-authors=etal}}</ref>
บรรทัด 71:
ในช่วงก่อน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ประชากรเกินครึ่งของ 5 แสนคนในย่างกุ้งเป็น[[ชาวอินเดีย]]หรือไม่ก็ชาว[[เอเชียใต้]]อื่นๆ มีเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่เป็น[[ชาวพม่า]]<ref name=tmmt>{{Cite book| title=Indian Communities in south-east Asia - Some Aspects of Indians in Rangoon| last=Tin Maung Maung Than| publisher=Institute of south-east Asian Studies| year=1993| pages=585–587| isbn= 9789812304186}}</ref> ขณะที่เหลือประกอบไปด้วย[[ชาวกะเหรี่ยง]] [[พม่าเชื้อสายจีน]] และลูกครึ่งอังกฤษ-พม่า
 
หลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ย่างกุ้งกลายเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชโดยมีนักศึกษาฝ่ายซ้ายเป็นแกนนำ มีการประท้วงต่อจักรวรรดิอังกฤษทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี 2463, 2479 และ 2481 ทั้งหมดเกิดขึ้นในย่างกุ้ง [[ย่างกุ้งตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น]] (2485-2488) และเมืองได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยึดคืนมาได้หลังสงครามสิ้นสุดลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนพฤษภาคม 2488 ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงของ[[สหภาพพม่า]]เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เมื่อประเทศได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ
 
===ย่างกุ้งในสมัยปัจจุบัน===
ไม่นานหลังจากการได้รับเอกราชของพม่าเมื่อปี 2491 ชื่อหลายชื่อของถนนและสวนสาธารณะที่เป็นแบบอาณานิคมถูกเปลี่ยนให้มีความเป็นชาตินิยมพม่ามากขึ้น ในปี 2532 รัฐบาลทหารพม่าได้เปลี่ยนชื่อเมืองในภาษาอังกฤษเป็น Yangon (เดิม Rangoon) พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมายในการทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยชื่อพม่า การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวพม่าจำนวนมากซึ่งคิดว่ารัฐบาลทหารไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ สำนักข่าวหลายสำนัก รวมไปถึงสื่อที่มีชื่อเสียงอย่าง [[บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ]] (สำนักข่าวบีบีซี) สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ<ref>{{Cite news|author=Who, What, Why? |url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/magazine/7013943.stm |title=Should it be Burma or Myanmar? |publisher=BBC News |date=26 September 2007 |accessdate=17 April 2010}}</ref><ref>{{cite web| url=http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/35910.htm | title=Background Note: Burma | publisher=Bureau of East Asian and Pacific Affairs, US Department of State | accessdate=1 January 2009}}</ref>
 
นับตั้งแต่ได้รับเอกราชย่างกุ้งมีการขยายตัวออกไปมาก รัฐบาลได้สร้างเมืองขึ้นมาโดยรอบ เช่นในทศวรรษที่ 1950 สร้างย่านธาเกตา (Thaketa) ออกกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ออกกะลาปาใต้ (South Okkalapa) จนถึงทศวรรษที่ 1980 เกิดย่าน แลงธายะ (Hlaingthaya) ชเวปยีธา (Shwepyitha) และดากอนใต้ (South Dagon)<ref name=mcy/> ทำให้ทุกวันนี้มหานครย่างกุ้งครอบคลุมพื้นที่เกือบ 600 ตารางกิโลเมตร (230 ตารางไมล์)<ref name=uncrd/>