ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
 
'''จิตวิทยา''' ({{lang-en|psychology}}) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ[[จิตใจ]] (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และ[[พฤติกรรม]] ของ[[มนุษย์]]ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
ส วิผป
 
== บทนำ ==
บรรทัด 37:
# '''วิธีวัดทางจิตวิทยา''' (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
# '''การสังเกตในสภาพธรรมชาติ''' (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
# '''การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค''' (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
 
วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้
บรรทัด 47:
# '''ลักษณะเนื้อหาวิชา''' แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
# '''เป้าหมายของจิตวิทยา''' เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
# '''การวิจัยประยุกต์''' ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
# '''การประยุกต์ใช้''' เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
บรรทัด 57:
 
== จิตวิเคราะห์ ==
 
[[จิตแพทย์]]ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว คือ น.พ. [[ซิกมันด์ ฟรอยด์]] ได้พัฒนาวิธี[[การบำบัดทางจิต]]เรียกว่า[[จิตวิเคราะห์]] การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจ[[จิตไร้สำนึก]] การเจ็บป่วยทางจิต และ[[จิตพยาธิวิทยา]] ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้
 
เส้น 65 ⟶ 64:
ใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 13]] ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 15]] การฟื้นฟูการสืบสวนโดย[[ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์|วิธีทางวิทยาศาสตร์]] ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้น[[คริสต์ศตวรรษที่ 17]] [[ฟรานซิส เบคอน]] กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
 
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลาง[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ [[กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน]] (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิด[[จิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม]] (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดง[[ปฏิกิริยาสะท้อน]] (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทาง[[ฟิสิกส์]] คือ [[จิตฟิสิกส์]] ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
เส้น 74 ⟶ 73:
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ [[กลุ่มหน้าที่นิยม]] (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา ให้เห็น
 
ในช่วงเวลาเดียวกัน [[ซิกมุนด์ ฟรอยด์]] <!-- Sigmund Freud --> ได้เสนอ[[ทฤษฎีจิตวิเคราะห์]] (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
 
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 [[จอห์น บี วัตสัน]] <!-- John B. Watson --> ได้ก่อตั้ง [[กลุ่มพฤติกรรมนิยม]] (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
 
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ [[จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์]] (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของ[[กลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ]] (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ
 
== จิตวิทยาในประเทศไทย ==
เส้น 90 ⟶ 89:
* หลุย จำปาเทศ. ''จิตวิทยาการบริหาร''. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2542.
* หลุย จำปาเทศ. ''จิตวิทยาสัมพันธ์''. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2533.
* [http://jubjitcamp.jimdo.com/history/ ประวัติศาสตร์ของต้นกำเนิดภาควิชาจิตวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย. ออนไลน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2555) ]
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 97 ⟶ 96:
* [[กลไกการป้องกันตนเอง]]
* [[จิตวิทยาภาษาศาสตร์]]
*[[สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==