ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอบราแฮม ลิงคอล์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 65:
สงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองกำลังของนายพลโบริการ์ด แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐเปิดการยิงโจมตี[[ยุทธการที่ฟอร์ตซัมเทอร์|ฟอร์ตซัมเทอร์]] รัฐฝ่ายเหนือให้การตอบรับการเรียกระดมพลอย่างแข็งขัน ลินคอล์นดำเนินกลยุทธการเมืองอย่างชาญฉลาด และเขายังเป็นนักปราศัยที่มีทักษะการพูดที่ทรงพลัง สมารถโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้<ref>Randall (1947), pp. 65–87.</ref> [[สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์ก]]ของเขาใน ค.ศ. 1863 เป็นสุนทรพจน์ที่มีการยกคำพูดไปอ้างอิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา<ref name="Bulla">Bulla (2010), p. 222.</ref> และเป็นคำนิยมอันอุโฆษ ต่ออุดมคติแห่งหลักการชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม สิทธิเท่าเทียม เสรีภาพ และประชาธิปไตย
 
ลินคอล์นให้ความสนใจต่อมิติทางการทหาร และกิจการในยามสงครามอย่างใกล้ชิด เป้าหมายของเขาคือการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว สมัยประธานาธิบดีของลินคอล์นมีจุดเด่นที่การใช้อำนาจฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี (presidential power) อย่างกว้างขวางและเฉียบขาด เมื่อทางใต้อยู่ในสถานะก่อการกบฏ ลินคอล์นจึงใช้อำนาจของตนยับยั้งการใช้ ''[[เฮบีอัส คอร์ปัส]]'' (habeas corpus) หรือ หมายสั่งเรียกไต่สวนเหตุผลในการคุมขัง ในสถานการณ์นั้น ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนหลายพันคนโดยไม่มีการไต่สวน; ในด้านการฑูตทูต ลินคอล์นสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการทหารกับอังกฤษ โดยจัดการกับ[[กรณีเรือเทรนต์|กรณีเรือ ''เทรนต์'']] (''Trent'' affair) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1861 ได้อย่างเฉียบขาด ลินคอล์นบริหารการสงครามด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง รวมทั้งการเลือก [[ยูลิสซิส เอส. แกรนท์]] เข้ามาเป็นผู้บัญชาการสั่งการกองทัพแทนที่ นายพล[[จอร์จ มี้ด]] ซึ่งทำให้กองทัพฝ่ายสหภาพสามารถทำสงครามได้หลายภูมิภาคการรบ หรือ[[เขตสงคราม]] (theater) พร้อมๆกัน<ref>Nevins, ''Ordeal of the Union'' (Vol. IV), pp. 6–17.</ref> ลินคอล์นให้การสนับสนุน นายพลแกรนต์ ทำสงครามที่ทั้งนองเลือดและเบ็ดเสร็จ ฝ่ายสมาพันธรัฐแม้จะได้เปรียบจากการเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ โดยการโจมตีของฝ่ายสหภาพไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบนสนามรบ แต่ยังรวมถึงการปิดกั้น และทำลายทางคมนาคนขนส่ง ทั้งทางแม่น้ำและทางรถไฟ รวมไปถึงฐานทางเศรษฐกิจของฝ่ายสมาพันธรัฐ จนในที่สุดแกรนต์สามารถเข้ายึดริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐได้ ในเดือนเมษายน ปี 1865
 
ลินคอล์นไม่เพียงแต่ใช้สงครามเพื่อนำไปสู่การเลิกทาส เขายังดำเนินกิจกรรมทางนโยบายอื่นๆ เช่น การออก[[การประกาศเลิกทาส]]ใน ค.ศ. 1863, การเกลี้ยกล่อมให้รัฐชายแดนประกาศให้สถาบันทาสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย, การออกกฎหมาย Confiscation Act เพื่อยึดและปลดปล่อยทาสจากผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าให้การสนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐ<ref>Donald (1996), p. 314</ref><ref>Carwardine (2003), p. 178.</ref> และช่วยผลักดัน[[การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาครั้งที่สิบสาม]]จนผ่านสภาคองเกรส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 ซึ่งห้ามการมีและซื้อขายทาสตลอดไป ในทุกๆพื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา
บรรทัด 84:
[[ค.ศ. 1830]] หลังจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาที่ดินในรัฐอินเดียนา บานปลายออกไปมากขึ้น ครอบครัวลินคอล์นจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่สาธารณะ<ref>[http://showcase.netins.net/web/creative/lincoln/sites/decaturock.htm Lincoln Trail Homestead State Park<!-- Bot generated title -->]</ref> เมคอน [[รัฐอิลลินอยส์]] หลังจากที่พายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำจนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจกลับไปอินเดียนา ปีถัดมา พ่อของลินคอล์นย้ายครอบครัวไปยังบ้านและที่ดินใหม่ที่เมืองโคลส์ รัฐอิลลินอยส์
 
ลินคอล์นใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนเพียง 18 เดือนขา้นขาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเขาชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ลินคอล์นยังมีทักษะเกี่ยวกับการใช้ขวานอีกด้วย<ref>[http://www.lincolnportrait.com/physical_man.asp Abraham Lincoln, The Physical Man<!-- Bot generated title -->]</ref>
[[ไฟล์:Mary Todd Lincoln 1846-1847 restored cropped.png|thumb|right|150px|ภาพแรกของมาดามลินคอล์น ถ่ายโดย ชีเฟิร์ด ในปี 1846]]
 
บรรทัด 132:
 
พรรครีพับลิกันตกลงเลือกลินคอล์นเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค เพราะเห็นว่าท่านเป็นนักการเมืองสายกลางที่ไม่แข็งกร้าวไปทางใดทางหนึ่ง และน่าจะได้เปรียบในพื้นที่เพนซิลเวเนีย กับรัฐทางมิดเวสต์ ตัวลินคอล์นเองก็ไม่ใช่นักเลิกทาส (abolitionist) แต่เขาสามารถสะท้อนความรู้สึกที่กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ชาวรัฐตอนเหนือว่า สถาบันทาสเป็นภัยคุกคามต่อสหภาพและอนาคตของประเทศ<ref>''ibid.''</ref>
[[fileไฟล์: ElectoralCollege1860.svg|thumb|right|250px|<center>ผลการเลือกตั้ง ปี 1860<br />ตามการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง]]
 
ในส่วนพรรครัฐธรรมนูญสหภาพ (Constitutional Union Party) นั้นประกอบไปด้วย นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมจากพรรควิกส์ (whigs) เดิม และพวกที่มาจากรัฐ"ชายแดน" (คือ รัฐที่ประกอบเป็นรัฐกันชนตามแนวชายแดนระหว่างฝ่ายหนือและฝ่ายใต้) ที่ต่อต้านการสลายตัวของสหภาพแต่ก็เห็นอกเห็นใจรัฐทาสทางใต้ และเนื่องจากพวกนี้ไม่นิยมพูดถึงประเด็นเรื่องทาส จึงได้รับความนิยมจากผู้อาศัยในรัฐทางใต้บางรัฐ ได้แก่เทนเนสซี, เวอร์จิเนีย, และเคนทักกี นายจอห์น เบลล์ ตัวแทนลงสมัครฯของพรรคจากรัฐเทนเนสซี สัญญาที่จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิของทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญ (รวมถึงสิทธิของรัฐที่จะปกครองตนเอง และสิทธิในการถือครองทาสเป็นทรัพย์สิน) และความคงอยู่ของสหภาพ แต่ประชาชนทางเหนือส่วนใหญ่ มองพรรคนี้ว่าเป็นพวก "คนแก่" ที่ไม่ทันกับการเมืองของยุคสมัย<ref>''ibid.''</ref>
 
พรรคเดโมแครตมี สว.[[สตีเฟน เอ. ดักลัส]] (ผู้ร่างกฎหมาย แคนซัส-เนบรากา) เป็นตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามเดโมแครตฝ่ายเหนือ ดักลัสสนับสนุนแนวคิดว่าด้วยการกำหนดความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาสโดยทางอธิปไตยปวงชน (กล่าวคือประสงค์จะให้สภาคองเกรสทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าแทรกแทรงไม่ว่าจะเพื่อจำกัด หรือสนับสนุนการขยายตัวของสถาบันทาสไปในพื้นที่ใหม่ๆของสหรัฐ) ดักลาสเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเตือนถึงภัยของการสูญเสียสหภาพ แต่ก็ได้รับความนิยมทางตอนเหนือสู้ลินคอล์นไม่ได้ ส่วน เบรคเบรกคิริดจ์ ตัวแทนผู้ลงสมัครของเดโมแครตฝ่ายใต้ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็น "คนทรยศ" และ เป็นพวก "บ่อนทำลายสหภาพ"<ref>''ibid.''</ref> จึงมีคะแนนนิยมจำกัดอยู่แต่ในภาคใต้
 
โดยภาพรวมการเลือกตั้งปี 1860 เป็นการแข่งขันที่แยกเป็นสองภาคส่วน ฝ่ายลินคอล์นนั้น แทบไม่ได้รับความนิยมในทางใต้เลย โดยไม่ชนะในรัฐทางใต้แม้แต่รัฐเดียว นอกจากนี้รัฐจำนวน 10 จาก 15 รัฐทางใต้ไม่ยอมใส่ชื่อลินคอล์นลงไปในบัตรเลือกตั้งด้วยซ้ำ<ref>{{cite news|last= SCHULTEN |first=Susan |title=How (and Where) Lincoln Won|newspaper=The New York TImes |date=Nov. 10, 2010 }}</ref> การหาเสียงของลินคอล์นจึงเป็นการแสวงหาชัยชนะเด็ดขาดทางเหนือ ซึ่งมีดักลาสเป็นคู่แข่ง ในขณะที่ เบรคเบรกคินริดจ์ กับ เบลล์ ก็ไปแบ่งคะแนนเสียงกันทางใต้ ลินคอล์นจึงกวาดคะแนนของ[[คณะผู้เลือกตั้ง]] (electoral vote) ไปแบบท่วมท้น และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ปี 1860 แม้ว่าจะได้รับคะแนนนิยมทั่วประเทศเพียงแค่ 40%<ref> ''ibid.''</ref> กลายเป็นผู้สมัครพรรคริพับลิกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
 
===คำสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่ง===