ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 66:
== ข้อหาและการประหาร ==
[[ไฟล์:พระปรีชากลการ1.jpg|thumb|พระปรีชากลการ]] [[ไฟล์:HMS Foxhound (1877).jpg|thumb|เรือรบ Foxhound]]
[[ไฟล์:แฟนนี่.jpg|thumb|แฟนนี่ น็อกซ์]]
[[ไฟล์:จำรัส.jpg|thumb|สแปนเซอร์ หรือ จำรัส บุตรชายของแฟนนี่ น็อกซ์]]
แต่ต่อมาพระปรีชากลการถูกกล่าวหาในข้อหาว่า "ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี" จึงถูกจับมาล่ามโซ่ตรวนไว้ที่กรมทิมดาบ มร.น็อกช์ ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งเป็นกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย จึงเข้ามาขู่กับ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และ[[สมุหพระกลาโหม]] ให้ปล่อยลูกเขยของตนเสีย มิฉะนั้นจะจับผู้สำเร็จราชการไปขังไว้ในเรือรบอังกฤษและให้ปืนเรืออังกฤษระดมยิงพระนคร ทั้งยังจะฟ้องรัฐบาลอังกฤษในเรื่องนี้ด้วย"<ref>[http://www.surasak.ac.th/emissary.htm เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี] surasak.ac.th</ref> ด้วย [[โทมัส_ยอร์ช_น็อกซ์|มร. น็อกซ์]] รู้ดีว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์อยู่เบื้องหลังคดีนี้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ซึ่งถูกกดดันด้วยเหตุผลทางการเมือง จึงใช้เป็นข้ออ้างในการเร่งรัดคดีให้สิ้นสุดเร็วที่สุด ส่วน มร.น็อกซ์ ก็ทำตามคำขู่ที่กล่าวไว้คือ นำเรือรบที่ชื่อ Foxhound เข้ามาในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษาหารือกับขุนนางผู้ใหญ่ ในที่สุดเห็นพ้องว่า จะจัดส่งทูตออกไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อรัฐบาลอังกฤษ ในระหว่างที่เหตุการณ์เริ่มบานปลาย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็ได้ทูลแนะนำว่าให้เอาเรื่องการเมืองและการละเมิดอำนาจแผ่นดินเป็นประเด็นหลัก ส่วนเรื่องทุจริตเป็นประเด็นรอง และยังกราบบังคมทูลให้ทรงใช้มาตรการเด็ดขาดโดยเร็ว<ref name="มติชน"/>