ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอบราแฮม ลิงคอล์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
ลินคอล์นเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1861 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1865 ลินคอล์นประสบความสำเร็จในการนำพาประเทศผ่านพ้น[[สงครามกลางเมืองอเมริกา]] ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญ ทางทหารและศีลธรรมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ<ref>{{cite book|author=William A. Pencak|title=Encyclopedia of the Veteran in America|url=https://books.google.com/?id=yyvmcMsNnB4C&pg=PA222|year=2009|publisher=ABC-CLIO|page=222|isbn=978-0-313-08759-2|access-date=June 27, 2015}}</ref><ref>{{cite book|author1=Paul Finkelman|author2=Stephen E. Gottlieb|title=Toward a Usable Past: Liberty Under State Constitutions|url=https://books.google.com/books?id=xJuXT1sVhFcC&pg=PA388|year=2009|publisher=U of Georgia Press|page=388|isbn=978-0-8203-3496-7|access-date=June 27, 2015|archive-url=https://web.archive.org/web/20150905115453/https://books.google.com/books?id=xJuXT1sVhFcC&pg=PA388|archive-date=September 5, 2015}}</ref> ด้วยความสำเร็จดังกล่าว ลินคอล์นจึงสามารถรักษาความเป็นสหภาพของสหรัฐอเมริกาเอาไว้ได้ นอกจากนี้เขายังนำทางไปสู่[[การเลิกทาส]], สร้างความมั่งคงแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลาง ตลอดจนส่งเสริมการเศรษฐกิจและการเงินให้ทันสมัย
 
ลินคอล์นเกิดในครอบครัวยากจน ณ เมืองฮ็อดเจนวิลล์ รัฐ[[เคนทักกี]] ซึ่งสมัยนั้นเป็นพรมแดนทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ลินคอล์นศึกษาด้วยตนเอง และได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพทนายความในอิลินอยส์ใน[[อิลินอยส์]]ใน ปี 1836 เขากลายเป็นผู้นำ[[พรรควิก (สหรัฐอเมริกา)|พรรควิก]] และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐอิลลินอยส์ระหว่างค.ศ. 1834 - 1842 และต่อมาถูกเลือกเป็นสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา]]ในปี 1846 โดยดำรงตำแหน่งอยู่หนึ่งสมัย ลินคอล์นเน้นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และต่อต้าน[[สงครามเม็กซิโก-อเมริกา]] หลังหมดวาระลินคอล์นกลับไปประกอบวิชาชีพกฎหมายจนประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาสู่เวทีการเมืองอีกครั้งใน ปี ค.ศ. 1854 ลินคอล์นกลายเป็นผู้นำก่อตั้งพรรคใหม่ คือ [[พรรคริพับลิกัน]] ในระหว่าง[[:en:Lincoln-Douglas debates|การโต้วาที]]กับตัวแทนพรรคเดโมแครต [[สตีเฟน เอ. ดักลัส]] ใน ค.ศ. 1858 ลินคอล์นแสดงจุดยืนทางการเมืองที่คัดค้านการขยายตัวของ[[สถาบันทาส]] แต่ก็แพ้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแก่ดักลัส คู่แข่งผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองชนิดไม่แทรกแทรงการมีอยู่ของสถาบันทาส โดยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ประชาชนควรมีสิทธิกำหนดเอง
 
ลินคอล์นกลายเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งของ[[พรรคริพับลิกัน (สหรัฐอเมริกา)|พรรคริพับลิกัน]] ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปึ 1860 ในฐานะนักการเมืองผู้มีทัศนะทางการเมืองเป็นกลาง (moderate) และมาจากรัฐที่คะแนนเสียงไม่แน่นอน (swing state) แต่แม้จะแทบไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเลยในทางใต้ ลินคอล์นก็กวาดคะแนนเสียงในทางเหนือและได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1860 ชัยชนะการเลือกตั้งของลินคอล์นกระตุ้นให้เจ็ดรัฐทาสทางใต้ตัดสินใจประกาศแยกตัวออกจากสหภาพ และก่อตั้ง[[สมาพันธรัฐอเมริกา|สมาพันธรัฐ]]ทันทีโดยไม่รอให้มีพิธีเข้ารับตำแหน่งเสียก่อน การถอนตัวของนักการเมืองฝ่ายใต้ ทำให้พรรคของลินคอล์นกุมที่นั่งในรัฐสภาคองเกรสได้อย่างเด็ดขาด แต่ความพยายามที่จะประนีประนอมต่างจบลงด้วยความล้มเหลว และเหลือเพียงสงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย
 
สงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองกำลังของนายพลโบริการ์ด แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐเปิดการยิงโจมตี[[ยุทธการที่ฟอร์ตซัมเทอร์|ฟอร์ตซัมเทอร์]] รัฐฝ่ายเหนือให้การตอบรับการเรียกระดมพลของทางสหภาพอย่างพลอย่างแข็งขัน ลินคอล์นดำเนินกลยุทธการเมืองอย่างชาญฉลาด และเขายังเป็นนักปราศัยที่มีทักษะในการพูดที่ทรงพลัง สมารถโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้<ref>Randall (1947), pp. 65–87.</ref> [[สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์ก]]ของเขาใน ค.ศ. 1863 เป็นสุนทรพจน์ที่มีการยกคำพูดไปอ้างอิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา<ref name="Bulla">Bulla (2010), p. 222.</ref> และเป็นคำนิยมอันอุโฆษ ต่ออุดมคติแห่งหลักการชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม สิทธิเท่าเทียม เสรีภาพ และประชาธิปไตย
 
ลินคอล์นให้ความสนใจต่อมิติการทางการทหาร และกิจการในยามสงครามอย่างใกล้ชิด เป้าหมายของเขาคือการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว สมัยประธานาธิบดีของลินคอล์นมีจุดเด่นที่การใช้อำนาจฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี (presidential power) อย่างกว้างขวางและเฉียบขาด เมื่อทางใต้อยู่ในสถานะก่อการกบฏ ลินคอล์นจึงใช้อำนาจของตนยับยั้งการใช้ ''[[เฮบีอัส คอร์ปัส]]'' (habeas corpus) หรือ หมายสั่งเรียกไต่สวนเหตุผลในการคุมขัง ในสถานการณ์นั้น ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนหลายพันคนโดยไม่มีการไต่สวน; ในด้านการฑูต นอกจากนี้ลินคอล์นยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการทหารกับอังกฤษ โดยจัดการกับ[[กรณีเรือเทรนต์|กรณีเรือ ''เทรนต์'']] (''Trent'' affair) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1861 ไดได้อย่างเฉียบขาด ลินคอล์นบริหารการสงครามด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง รวมทั้งการเลือก [[ยูลิสซิส เอส. แกรนท์]] เข้ามาเป็นผู้บัญชาการสั่งการกองทัพแทนที่ นายพล [[จอร์จ มี้ด]] ซึ่งทำให้กองทัพฝ่ายสหภาพสามารถทำสงครามได้หลายภูมิภาคการรบ หรือ[[เขตสงคราม]] (theater) พร้อมๆกัน<ref>Nevins, ''Ordeal of the Union'' (Vol. IV), pp. 6–17.</ref> ลินคอล์นให้การสนับสนุน นายพลแกรนต์ ทำสงครามที่ทั้งนองเลือดและเบ็ดเสร็จ ฝ่ายสมาพันธรัฐแม้จะได้เปรียบจากการเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ โดยการโจมตีของฝ่ายสหภาพไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบนสนามรบ แต่ยังรวมถึงการปิดกั้น และทำลายทางคมนาคนขนส่ง ทั้งทางแม่น้ำและทางรถไฟ รวมไปถึงฐานทางเศรษฐกิจของฝ่ายสมาพันธรัฐ จนในที่สุดแกรนต์สามารถเข้ายึดริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐได้ ในเดือนเมษายน ปี 1865
 
ลินคอล์นไม่เพียงแต่ใช้สงครามเพื่อนำไปสู่การเลิกทาส เขายังดำเนินกิจกรรมทางนโยบายอื่นๆ เช่น การออก[[การประกาศเลิกทาส]]ใน ค.ศ. 1863, การเกลี้ยกล่อมให้รัฐชายแดนประกาศให้สถาบันทาสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย, การออกกฎหมาย Confiscation Act เพื่อยึดและปลดปล่อยทาสจากผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าให้การสนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐ<ref>Donald (1996), p. 314</ref><ref>Carwardine (2003), p. 178.</ref> และช่วยผลักดัน[[การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาครั้งที่สิบสาม]]จนผ่านสภาคองเกรส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 ซึ่งห้ามการมีและซื้อขายทาสตลอดไป ในทุกๆพื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา
 
ลินคอล์นเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลม และเข้าพัวพันอย่างลึกซึ้งในสถานการณ์อำนาจในแต่ละรัฐ เขาพยายามเกลี้ยกล่อมระหว่างสมาชิก[[พรรคเดโมแครต (สหรัฐอเมริกา)|พรรคเดโมแครต]]สายสงครามซึ่งต้องการให้มีการประนีประนอมในประเด็นเรื่องสถาบันทาส และสมาชิกริพับลิกันหัวก้าวร้าว ซึ่งต้องการกำจัดกบฏฝ่ายใต้และสถาบันทาสให้สิ้นซากโดยเร็วที่สุด<ref>Tagg, p. xiii.</ref><ref>Donald (1996), pp. 315, 331–333, 338–339, 417.</ref> ยิ่งไปกว่านั้น เขายังบริหารแคมเปญจ์การลงเลือกตั้งใหม่ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1864 ด้วยตนเอง ช่วงปลายสงคราม ลินคอล์นถือมุมมองการฟื้นฟูบูรณะ (Reconstruction) สายกลาง โดยแสวงการรวมประเทศอย่างรวดเร็วผ่านนโยบายการปรองดองอย่างเอื้อเฟื้อ ในสภาวะที่ความแตกแยกอย่างขมขื่นยังไม่ลดลงไป อย่างไรก็ดี เพียงห้าวันหลังการยอมจำนนของ[[โรเบิร์ต อี. ลี]] ผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายสมาพันธรัฐ ลินคอล์นถูกลอบยิงในโรงละคร โดยนักแสดงผู้ฝักใฝ่สมาพันธรัฐ [[จอห์น วิลค์ส บูธ]] (John Wilkes Booth) และเสียชีวิตในวันต่อมา การลอบสังหารลินคอล์นเป็นการลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และทำให้ทั้งประเทศตกอยู่ในความโศกเศร้า นักวิชาการและสาธารณชนชาวอเมริกันจัดให้ลินคอล์นเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจวบจนปัจจุบัน<ref name="Ranking Our Presidents">[http://history-world.org/pres.pdf "Ranking Our Presidents"]. James Lindgren. November 16, 2000. International World History Project.</ref><ref name=gallup>[http://www.gallup.com/poll/146183/Americans-Say-Reagan-Greatest-President.aspx "Americans Say Reagan Is the Greatest President"]. Gallup Inc. February 28, 2011.</ref>