ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 67:
เป็นที่น่าสังเกตว่า [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์_(ช่วง_บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] ได้เร่งรัดให้มีการประหารชีวิต แม้ว่าการสอบสวนจะยังไม่เสร็จสิ้นลง ทั้งคณะผู้ตัดสินไม่ยอมให้พระปรีขากลการประกันตัวออกมาสู้คดี รวมทั้งไม่ให้เบิกความพยานฝ่ายจำเลย ความขัดแย้งระหว่างตระกูลบุนนาคและอมาตยกุลที่มีมาแต่ก่อน จึงอาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ครั้งนี้ <ref>โรงถลุงแร่ทองคำเมืองปราจีน สมัยรัชกาลที่ 5.(2559). โพลส์ทูเดย์. http://www.posttoday.com/local/scoop/432071</ref> กล่าวคือ
# '''ความขัดแย้งในการทักท้วงการซ่อมแซมวัดพระเชตุพน''' เมื่อครั้ง[[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] ผู้เป็นบิดา เริ่มรับราชการในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยความที่ท่านมีความสนใจในด้านวิชาช่าง ค่อนข้างเป็นคนหัวก้าวหน้า และมีนิสัยตรงไปตรงมา ท่านได้ทักท้วงการซ่อมแซมอุโบสถวันพระเชตพน ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระยาศรีพิพัฒน์โกษาธิบดี (ทัศ บุนนาค) ว่า การดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องและอาจพังถล่มลงมาได้ แต่พระยาศรีพิพัฒน์โกษาธิบดี (ทัศ บุนนาค) นั้นไม่เชื่อ การก่อสร้างจึงดำเนินต่อไป จนในที่สุดกำแพงได้ถล่มทับคนงานที่ก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น รัชกาลที่ 3 ได้ยกย่อง[[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] ว่า เป็นผู้มีความสามารถมากกว่าผู้ใหญ่บางคน จึงทำให้ตระกูลบุนนาคเสียหน้า และเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างตระกูลบุนนาคและอมาตยกุล
# '''การเมืองในยุคสมัยประเด็นทางการเมือง''' ด้วยการเมืองในขณะนั้นแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ฝ่าย 1 คือ วังหลวง ฝ่าย 1 คือ วังหน้า และฝ่าย 1 คือ สมเด็จเจ้าพระยาฯ สำหรับตระกูลอมาตยกุลนั้นอยู่ฝ่ายวังหลวงหรือ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] แต่ตระกูลบุนนาคนั้นอยู่ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาเจ้าพระยาฯ ในครั้งนั้น แต่ละฝ่ายต่างก็พยายามชิงอำนาจซึ่งกันและกัน เมื่ออมาตยกุลกับบุนนาคอยู่คนละฝ่าย จึงทำให้ทั้ง 2 ตระกูล เกิดการแข่งขันกันเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง จนนำไปสู่ความขัดแย้ง
# '''การพิจารณาคดีพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)''' ซึ่งเป็นญาติสนิทของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยคดีนี้ [[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] และพระยาเจริญราชไมตรี และหลวงพิจารณ์จักรกิจหรือในเวลาต่อมาคือพระยาเพชรพิชัย น้องชายของพระปรีชากลการ ทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นคนในตระกูลอมาตยกุลได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการชำระคดีความการทุจริต จนในที่สุดก็ได้ตัดสินโทษพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) ซึ่งประกอบด้วย ประหารชีวิต เฆี่ยน และริบราชบาทว์ ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างตระกูลทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่มีสูงมากในเวลานั้น ทำให้โทษประหารของพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) เหลือจำคุกตลอดชีวิต
# '''การสมรสกับแฟนนี่ นอกซ์''' ด้วยความที่ แฟนนี่ นอกซ์ เป็นลูกสาวของกงศุลอังกฤษซึ่งมีอำนาจมากในขณะนั้น จึงทำให้ผู้มีอำนาจต้องการได้นางไปเป็นภรรยา ซึ่งก็อยู่ในความคาดหวังของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเช่นกัน ทว่า พระปรีชากลการกลับได้นางไปครอบครอง ซึ่งทำให้ตระกูลอมาตยกุลมีอำนาจทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายวังหลวงที่มีต่อฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความบาดหมางระหว่าง 2 ตระกูล ถึงจุดแตกหัก