ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แถบอักษรข่าววิ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
== ในประเทศไทย ==
ในประเทศไทย เริ่มมีการใช้แถบตัวอักษรข่าววิ่งครั้งแรกโดย [[เนชั่นทีวี]] แต่เป็นการเสนอข่าวแบบพาดหัวข่าวเดี่ยว ทีละหนึ่งข้อความข่าว ด้วยการเลื่อนตัวอักษรทีละตัวจากทางซ้ายไปทางขวาตามลำดับในช่วงเดียว โดยได้ใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ประมาณปลายปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2544 (ใช้งานมาจนถึงกลางปี พ.ศ. 2554) ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 [[โมเดิร์นไนน์ทีวี]] (ปัจจุบันคือ [[ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี]]) เริ่มใช้แถบตัวอักษรข่าววิ่งโดยข่าวที่อยู่ในแถบตัวอักษรวิ่งจะแสดงต่อเนื่องกัน โดยแต่ละข่าวจะเว้นช่องว่างเป็นช่วงกว้าง ต่อมาสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องอื่นๆ เริ่มมีการใช้แถบตัวอักษรข่าววิ่งตามลำดับ
 
=== ไทยทีวีสีช่อง 3 ===
บรรทัด 17:
 
==== แบบที่ปรากฏในรายการอื่นที่มิใช่รายการข่าว ====
เริ่มใช้ครั้งแรกในช่วง การชุมนุมของ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] พ.ศ. 2553 ระยะแรกจะไม่มีพื้นหลัง ต่อมาจึงใส่พื้นหลังเป็นสีเขียวเช่นเดียวกับแบบที่ปรากฏในรายการข่าวในช่วงนั้น จนถึงต้นปี พ.ศ. 2556 จึงเปลี่ยนเป็นแถบสีขาว ส่วนตัวอักษรเป็นสีเขียว เช่นเดียวกับแบบที่ปรากฏในรายการข่าว แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นแถบสีน้ำเงิน (ในบางวันเป็นสีแดง) ตัวอักษรสีขาว และในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 สถานีฯ ก็ได้ใช้แบบแถบวิ่งตามแบบรายการข่าว
 
ข่าวที่ปรากฏในแถบอักษรวิ่งแบบดังกล่าว มักเป็นข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภายในกองทัพบก ข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ รวมถึงคำขวัญรณรงค์ต่างๆ ตลอดจนแจ้งการถ่ายทอดสดกีฬา เป็นต้น
บรรทัด 26:
มีใช้ 3 แบบ นอกจากนี้ยังใช้ในขณะเผยแพร่ละครรอบบ่าย แต่ไม่มีพื้นหลัง
 
=== ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีทเอชดี ===
''ดูเพิ่มเติมที่[[สำนักข่าวไทย #แถบอักษรข่าววิ่ง]]''
 
=== เอ็นบีที ===
ใช้ 5 แบบ โดยแบบแรกใช้พื้นหลังสีม่วงก่อน โดยคั่นข่าวแต่ละชิ้นด้วยตราราชการของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] ภายหลังเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเข้ม ต่อมาในปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่ใช้ชื่อ[[เอ็นบีที]] ก็ใช้สีฟ้าตามแบบสมัย[[สทท. 11]] แบบที่ 3 ใช้สีเทา ส่วนแบบที่ 4 เมื่อมีการเปลี่ยนโลโก้แบบปัจจุบัน ก็เปลี่ยนสีเป็นสีเทา แล้วจึงเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแบบปัจจุบัน โดยครั้งล่าสุด ต้นปี พ.ศ. 2560 สทท.ปรับรูปแบบแถบอักษรข่าววิ่งใหม่เพื่อรองรับการออกอากาศระบบ HD แทนที่แถบอักษรข่าววิ่งแบบเดิมที่ใช้มาเกือบสิบปี
 
อนึ่ง ในช่วงระหว่างปี 2553 ก็มีการเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าอ่อน ก่อนที่จะกลับมาเปลี่ยนเป็นสีม่วงตามปกติ
บรรทัด 39:
=== ไทยพีบีเอส ===
==== สำหรับรายงานข่าว ====
สำหรับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เดิมมีแถบอักษรข่าววิ่ง ใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 (แต่เป็นรูปแบบที่เคยใช้สมัยยังเป็น[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]] และ[[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]) ต่อมาในช่วงต้นปี 2557 จึงนำแถบอักษรข่าววิ่งมาใช้อีกครั้ง โดยใช้สีเทาเป็นสีพื้นหลัง (ช่วงปี พ.ศ. 2558 ช่วงที่มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ppสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[[ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ไทยพีบีเอสได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ มาประดับบนหน้าจอพร้อมกับโทรทัศน์ช่องอื่นๆ มีการเพิ่มนาฬิกาดิจิทัลแบบไม่แสดงวินาทีบนแถบสีเทาเข้มฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว จนกระทั่งพ้นวาระงานเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว จึงนำแถบนาฬิกาออก)
 
==== แถบขัอมูลหุ้น (ปัจจุบันยกเลิกแสดงแถบข้อมูลตลาดหุ้นไปแล้ว) ====
บรรทัด 64:
วอยซ์ทีวีเริ่มนำแถบอักษรข่าวมาใช้ในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2557]] ในรายการพิเศษเพื่อรายงานสด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557]] โดยใช้รูปแบบแสดงครั้งละ 1 ข่าวทีละหัวข้อโดยใช้การเลือน (Crossfade) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับแถบแสดงข้อความที่ผู้ชมส่งผ่านระบบข้อความสั้น (SMS) จนกระทั่งหลังจากวอยซ์ทีวีชนะการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิทัลประเภทช่องข่าว แถบอักษรข่าวกลับมาใช้อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2559]] โดยเป็นแถบอักษรวิ่งปกติ คั่นข่าวแต่ละชิ้นด้วยสัญลักษณ์รายการข่าว Voice News ใช้พื้นสีแดง (ต่อมาเป็นแถบสีน้ำเงิน และแถบสีเทา ช่วงหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) โดยจะปรากฏแถบอักษรนี้ในรายการข่าวทุกรายการรวมถึงข่าวต้นชั่วโมง
 
=== เนชั่นทีวี 22 ===
=== สำหรับการรายงานข่าว ===
บรรทัด 77:
เนชั่นแชนแนล ได้นำข้อความจาก[[ทวิตเตอร์]]ของสถานีโทรทัศน์ ที่ใช้สำหรับการเสนอข่าวสารและการสนทนาระหว่างกัน มาปรากฏผ่านหน้าจอทางสถานีโทรทัศน์ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน [[พ.ศ. 2552]] {{อ้างอิง}} อนึ่ง ตั้งแต่วันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2555]] เนชั่นแชนแนล ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่ชื่อว่า[[โซเซียลทีวี]] (Social TV)เป็นเทคโนโลยีที่เผยแพร่ข้อความทวิตเตอร์จากผู้ชม ด้วยลักษณะตารางหลายชั้น แล้วพิธีกรรายการข่าวสามารถใช้มือสัมผัสเลื่อนขึ้นบนแต่ละช่องแนวตั้งได้ด้วย เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวการติดตต่อทางทวิตเตอร์ของผู้ชม บนหน้าจอโทรทัศน์มอนิเตอร์ มาเผยแพร่ขณะที่ออกอากาศรายการสด (ทั้งนี้ ได้มีการเผยแพร่ผ่านทางรายการ ข่าวข้นรับอรุณ ในวันออกอากาศนั้น เป็นครั้งแรก)
 
=== แถบแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ ===
บรรทัด 87:
เมื่อเปลี่ยนเป็นเนชั่นทีวีในต้นปี 2557 แถบตัวอักษรแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นแถบ 2 ชั้น ชั้นบน (สีน้ำเงิน) เป็นแถบข้อมูลดัชนีและข่าวประชาสัมพันธ์ของ[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] (ปัจจุบันแสดงเพียงข้อมูลดัชนีแต่เพียงอย่างเดียว) แถบชั้นบนจะแสดงสลับไปมา และ ชั้นล่าง (สีฟ้า) เป็นแถบแสดงข้อมูลหลักทรัพย์เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ จะเปลี่ยแปลงระบุเป็นหน่วย %+,-
 
ปัจจุบัน (ตั้งแต่กลางปี 2558) แถบตัวอักษรแสดงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ได้ลดลงเหลือเพียงชั้นเดียว โดยเป็นแถบสีขาว แสดงข้อมูลราคาหลักทรัพย์รายตัวตามหมวดธุรกิจ และแถบด้านขวามือโดยเป็นสีน้ำเงิน แสดงข้อมูลดัชนีล่าสุด โดยขยายการแสดงไปในทุกรายการ โดยประกบกับแถบอักษรข่าววิ่งตามปกติ(จึงดูเสมือนเป็นแถบตัววิ่ง 2 ชั้น คล้ายคลึงกับของ สถานี [[CNBC]]) หรือแถบข้อความที่[[ผู้ชมส่งผ่านระบบข้อความสั้น]] (SMS) ในบางรายการ
 
=== ช่องเวิร์คพอยท์ ===