ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายปากน้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 59:
ค่าโดยสารไปกลับราคา 1 บาท ส่วนรายสถานีคิดค่าโดยสารระยะสถานี สถานีละ 1 เฟื้อง มีขนาดราง 1.00 เมตร ขบวนรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วยตู้โดยสารสี่ตู้ และโบกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้ มีระดับชั้นที่นั่งสองระดับคือชั้นสองและชั้นสามเท่านั้น ทั้งนี้ตลอดหนึ่งชั่วโมงของการเดินทางจะต้องผ่านสะพานข้ามคูคลองจำนวนมากซึ่งสะพานส่วนใหญ่ทำจากไม้ มีเพียงบางส่วนที่เป็นไม้กับเหล็ก<ref name= "ไซเบอร์"/>
 
การเดินรถในระยะแรก ใช้[[หัวรถจักรไอน้ำ]] ผลิตโดยบริษัท ''[[Krauss & Co of Munich]]''<ref name="ไซเบอร์">{{cite web |url=http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww523/pamaiuthid/pamaiuthid-web2/topic/topic3.htm|title=รถไฟสายปากน้ำ|author= |date=|work= |publisher=โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย|accessdate=28 เมษายน 2557}}</ref> จาก[[มิวนิก|เมืองมิวนิก]] [[ประเทศเยอรมนี]]<ref name="reurnthai"/> จนกระทั่ง พ.ศ. 2468 จึงได้เปลี่ยนเป็น[[รถรางไฟฟ้า]]เช่นเดียวกับ[[รถรางในกรุงเทพฯ]]<ref name= "เรื่องเก่า"/> อย่างไรก็ตามกิจการทางรถไฟสายปากน้ำต้องประสบกับการขาดทุนด้านทางราชการจึงให้เงินกู้ยืม ถือเป็นครั้งแรกที่ให้บริษัทต่างชาติกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาทางรถไฟสายแรกของไทยให้ดำเนินกิจการต่อไปได้<ref name= "เรื่องเก่า"/>
 
ในปี พ.ศ. 2492-3 ทางรถไฟสายปากน้ำได้มีการใช้รถรางไฟฟ้าจากบริษัทนิปปอนชาเรียวของญี่ปุ่นแทนการใช้รถจักรไอน้ำด้วยมีประสิทธิภาพกว่าประกอบกับกำลังได้รับความนิยม<ref name= "ไซเบอร์"/> โดยได้เปิดการเดินรถพร้อมกับรถไฟฟ้าของโตเกียว<ref name="ปราการ">{{cite web |url=http://www.prakannews.com/pn/index.php?option=com_k2&view=item&id=69:%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&tmpl=component&print=1|title=แท่นอนุสรณ์ และรถรางสายปากน้ำ|author= |date=22 มีนาคม 2557|work= |publisher=ปราการนิวส์ออนไลน์|accessdate=1 พฤษภาคม 2557}}</ref> ลุมาจนถึงช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] รถรางสายปากน้ำได้รับความเสียหายเนื่องจาก[[สายเคเบิลไฟฟ้า]]ถูกตัดขาดที่บริเวณบางจาก แต่ก็ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยพนักงานรถรางจะต้องปีนขึ้นไปบนหลังคารถแล้วบังคับ[[แหนบรับไฟ]]ให้สามารถรับกระแสไฟฟ้าได้โดยตลอด ในขณะที่รถผ่านบริเวณจุดที่เกิดความเสียหายเพื่อให้รถรางสามารถวิ่งต่อได้จนถึงปลายทาง<ref name= "ไซเบอร์"/>
 
หลังสิ้นสุดสัมปทาน การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ซื้อเส้นทางรถไฟสายดังกล่าวมาดำเนินกิจการระยะหนึ่ง<ref name= "ไซเบอร์"/> และท้ายที่สุดได้มีการยกเลิกทางรถไฟสายนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ในรัฐบาล[[จอมพล]] [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] มีคำสั่งให้รื้อทางรถไฟและถมคลองสร้างเป็น[[ถนนพระราม 4]] และ[[ถนนทางรถไฟสายเก่า]]<ref name= "เรื่องเก่า"/>
 
== เหตุการณ์สำคัญ ==