ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายปากน้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 46:
 
== ประวัติ ==
ทางรถไฟสายปากน้ำดำเนินการโดย '''กอมปานีรถไฟ''' หรือ '''บริษัทรถไฟปากน้ำ''' บริหารงานโดย[[พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)]] [[ชาวเดนมาร์ก]]<ref name= "กรุงเทพ"/> และ[[พระนิเทศชลธี (แอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช)]] ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479 เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434 <ref>[http://web.archive.org/20060919012701/www.geocities.com/railsthai/paknam.htm รถไฟสายปากน้ำ]</ref> มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น [[ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์]] ครั้งนั้น[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434<ref name= "เรื่องเก่า"/>
 
เมื่อทางรถไฟสายปากน้ำแล้วเสร็จเปิดเดินขบวนรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436<ref name= "กรุงเทพ"/> (ร.ศ. 112) [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดบริการ และเสด็จขึ้นประทับโดยสารขบวน[[รถไฟพระที่นั่ง][ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=265692 ตามรอย หัวจักรรถไฟสายปากน้ำ ทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย]</ref> ในพิธีเปิดการเดินรถครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี[[พระราชดำรัส]] ปรากฏความตอนหนึ่งว่า<ref name= "เรื่องเก่า"/>
 
<blockquote>"...เรามีความยินดีที่ได้รับหน้าที่อันเป็นที่พึงใจ คือจะได้เป็นผู้เปิดรถไฟสายนี้ ซึ่งเป็นที่ชอบใจและปรารถนามาช้านานแล้วนั้น ได้สำเร็จสมดังประสงค์ลงในครั้งนี้ เพราะเหตุว่าเป็นรถไฟสายแรกที่จะได้เปิดในบ้านเมืองเรา แล้วยังจะมีสายอื่นต่อ ๆ ไปอีกจำนวนมากในเร็ว ๆ นี้ เราหวังว่าจะเป็นการเจริญแก่ราชการและการค้าขายในบ้านเมืองเรายิ่งนัก..."</blockquote>
<blockquote>''พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว''</blockquote>
 
== การเดินรถ ==