ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเวียงแหง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Naresuanthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Naresuanthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
''(คัดลอกตามต้นฉบับ'') ...''ระยะทางแต'''เมืองน้าย จะ'''มาเถึง '''แมนำคง''' มาได้ 5 ทาง ....ทางหนึ่งค่างต่วันออกเฉยิงไต เดืนแต '''เมืองนั่าย''' ทางคืนนึงเถึง'''เมืองปัน''' แตเมืองปันมาทางคืนนึงเถึง '''ถัผาแดง''' ตกแมนำคง ทางนีเดืนง้ายเปนทางไหญ ไก้ล '''เมืองเชยิงไห้ม'''พ่มากลัวกองทัพเมอิงเชยิงไห้ม จะยกไปทางนีจึงมาตังด่านทีฝังแมนำคง '''ถ้าผาแดง''' แหงนึง ที '''เมืองปัน''' แหงนึง พ่มาพัลตเปลยีนกันมาลาตระเวนไมขาษ...''
 
เรียบเรียงใหม่ได้ดังนี้ " ระยะทางแต่'''เมืองนาย''' จะมาถึง'''แม่น้ำคง('''สาละวิน) มาได้ 5 ทาง... ทางหนึ่งข้างตะวันออกเฉียงใต้ เดินแต่ '''เมืองนาย''' ทางคืนหนึ่ง ถึง '''เมืองปั่น''' แต่เมืองปั่นมาทางคืนหนึ่ง ถึง '''"ท่าผาแดง'''" ตะวันตกแม่น้ำคง ทางนี้เดินง่าย เป็นทางใหญ่ ใกล้'''เมืองเชียงใหม่''' พม่ากลัวกองทัพเมืองเชียงใหม่จะยกไปทางนี้'''จึงมาตั้งด่าน'''ที่ฝั่งแม่น้ำคง '''ท่าผาแดง''' แห่งหนึ่ง ที่ '''เมืองปั่น''' แห่งหนึ่ง พม่าผลัดเปลี่ยนกันมาลาดตระเวณไม่ขาด.."
*
เส้น 39 ⟶ 40:
 
* เป็นเส้นทางรับเจ้าพม่าจากแม่น้ำสาละวิน ณ '''"ท่าผาแดง"'''มายังเมืองเชียงใหม่ในสมัย[[พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]) ปี พ.ศ. 2408<ref>[[หอสมุดแห่งชาติ]], หนังสือและคัดบอกเมืองเชียงใหม่ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย เส้นรงค์(ดินสอ หรดาล) จ.ศ.๑๒๒๗ เลขที่ ๒๗๒ หมวดจดหมายเหตุ ก.ท. ร.๔</ref> โดยเจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตร แห่งเมืองเชียงใหม่ มีหนังสือกล่าวโทษพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ มายังพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เพื่อกราบบังคมทูลถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความดังนี้(คัดลอกตามต้นฉบับ)
...." ''ทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงข้าพระเจ้าเปน '''เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ เจ้าราชบุตร''' สำรับรักษา เขตรแดนเมืองเชียงใหม่'' ''ด้วย'''เจ้าเชียงใหม่''' ใม่ตั้งอยู่ในทศมิตราชธรรมประเพนีและพระบรมราโชวาทพระราชบัญญัติแลคำอะธีถานถือน้ำพระพิพัตรสัจา ประการหนึ่งทุกวันนี้ เจ้าบุรียรัตน บุตรเขยเจ้าเชียงไหม่แลเจ้าราชภาคีนัย เปนที่ปฤกษา '''เกนให้นายบุญทากับไพร่'''มากน้อยเท่าใดไม่ทราบไปรักษา '''เมืองแหง''' ให้ถางตะลอดกระทั่งถึงริมน้ำ '''ท่าผาแดง''' ครั้นอยู่มาพม่านายไพร่เปลียนชื่อเปนขุนนางเงี้ยว(ไทใหญ่) ถือหนังสือฉบับหนึ่งเข้ามาทาง '''ท่าผาแดง''' มาถึง'''เมืองแหง''' ส่งพม่านายไพร่ เข้ามาถึงเมืองเชียงไหม่ เจ้าเชียงไหม่เกนให้ท้าวพระยารับตอ้นพม่าไปที่ภักข้าหลวงมายั้งอยู่แต่ก่อน เจ้าเชียงไหม่เลี้ยงดูเปนอันมาก กับให้พิทักษรักษายิ่งกว่าข้าหลวงมาแต่ก่อน'' '''''ประการหนึ่งคบคิดเปนมิตรไมตรีกับพม่าข้าศึกแลให้ช้างสองช้าง ปืนคาบสิลา 8 บอก''' กับคนใช้ในเมืองเชิยงไหม่สองคนผัวเมียกับหนังสือฉบับหนึ่ง ข้อความในหนังสือประการใดข้าพเจ้าไม่ทราบ แล้ว'''เจ้าเชียงไหม่เกนให้แสน ท้าวกับไพ่ร ในเมืองเชียงไหม่ส่งแลพีทักษรักษาพม่ากลับคืนไปทาง''' '''เมืองแหง''' ถึง '''ท่าผาแดง''' ประการหนึ่งเจ้าเชียงไหม่กดขี่คุมเหงข้าพเจ้า แสน ท้าว พระยา อนาประชาราษฎรได้ความเดือษรอ้นเปนอันมาก '''ครั้นเดือน 12 เกนไพร่ประมาณ 700-800 ว่าจะไปถางที่ส่งพม่ากลับคืนออกไป''' '''แลเจ้าเชียงไหม่ทำไมตรีกับพม่าข้าศึกแลเกนคนไปทำทาง''' ข้อราชการอันนี้เจ้าเชียงไหม่ก็หาได้ปฤกษาข้าพเจ้าไม่ ขอท่านได้นำเอาข้อความอันนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรรุนาแด'''พระบาทสมเดจ์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเดจ์พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว''' ให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย สิ่งประการใดข้าพเจ้าจะดีมีความชอบ ขอบุญปัญา ฯพัณฯ สมุหนายกเปนที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าดว้ย

บอกมา ณ วนั 3 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลูสัปตศก.''."
 
* เป็นเส้นทางการค้าระหว่างเชียงใหม่ กับ พม่า ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5) ปี พ.ศ. 2417<ref>กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.2 12 ก. ใบบอก หนังสือพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ กราบบังคมทูล เรื่องให้จัดการรักษาเขตแดนตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417</ref> ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2416 รัฐบาลสยาม กับรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองพม่าในขณะนั้น ได้ลงนามในสัญญาไมตรีเพื่อส่งเสริมการพาณิชย์ ที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "สัญญาเชียงใหม่"โดยมีสาระประการหนึ่งว่า
''....สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามจะให้เจ้าเชียงใหม่ตั้งด่านกองตระเวณ และให้มีเจ้าพนักงานกำกับริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นเขตแดนเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นของฝ่ายสยามแล้วและให้มีโปลิศ(ตำรวจ)ตั้งอยู่พอสมควร จะได้ระงับห้ามโจรผู้ร้าย และการอื่นๆที่เป็นสำคัญ..ต่อมาพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ พระเจ้าเชียงใหม่ มีศุภอักษรกราบบังคมทูลรายงานสมเด็จพระปิยมหาราช ดังนี้ ..ป่าไม้ขอนสักในแขวงเมืองเชียงใหม่ ริมแม่น้ำคง ซึ่งเรียกว่าแม่น้ำสาละวินต่อเขตแดนเมืองมรแมน เมืองยางแดง เมืองปั่น เมืองปุ เมืองสาด มี 8 ตำบลที่ลูกค้าเดินไปมาค้าขายเป็นเส้นทางใหญ่อยู่ 8 เส้นทาง ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดบุตร หลาน ท้าว พระยา คุมไพร่ไปตรวจตราระวังโจรผู้ร้ายอยู่เนืองๆ...

'''ทางเมืองแหง เป็นเมืองร้าง''' ทางลูกค้าเดินมาแต่ '''เมืองพม่า''' '''ให้คนเมืองกึด'''(บ้านเมืองกื้ด ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำแตง ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)ไปตั้งด่านตระเวณ 50 คน..
''* เป็นเมืองหน้าด่านปกป้องชายแดน โดยพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร มาจัดการเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2427 และมีรับสั่งให้พระยามหามหิทธิวงษา เจ้าเมืองฝาง ไปจัดการตั้ง
เส้น 50 ⟶ 55:
* เป็นเส้นทางราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ.108 ของคณะพระวิภาคภูวดล(James Fitzroy McCarty.) เจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรกของไทย ใน พ.ศ. 2432<ref>รวมบทความประวัติศาสตร์(2539) ฉบับที่ 18 เรื่อง รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ. 108</ref> ดังรายงานของ'''นายแถลงการวิตถกิจ'''(เป็นชื่อบรรดาศักดิ์)ที่เสนอต่อพระวิภาคภูวดล ดังนี้
 
..." ''ข้าพเจ้านายแถลงการวิตถกิจ ทำริโปด(Report)ระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตร์หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ในปีรัตนโกสินทร์ศก 108 ยื่นต่อพระวิภาคภูวดล เจ้ากรมฉบับหนึ่ง

... วัน 3(วันอังคาร)ที่ 4 กุมภาพัน เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 มินิต(นาที) จึงได้ทำเซอร์เวต่อไป เวลาเช้า 4 โมง 30 มินิต ถึงที่เซอร์แดน '''เมืองทา''' '''เมืองแหง''' ต่อกัน แต่ที่เขตร์แดนต่อกันนั้น มีสำคัญเป็นยอดดอยกิ่วก่อ ต่อไปเวลา บ่าย 1 โมง 41 มินิต ถึง '''บ้านแหงเหนือ''' มีเรือนประมาณ 30 หลัง ทำนาแลไร่รับประทาน ต่อไปจนเวลาย่ำค่ำแล้ว 56 มินิต ถึง '''เมืองแหงใหม่''' เรือนประมาณ 70 หลัง คนประมาณ 200 คน ทำนาแลไร่รับประทาน ยุด(หยุด) พักวัดดาว แล้วนอนคืนหนึ่ง...."''
 
* เป็นเมืองชายแดนที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่พระยาดำรงค์ราชสีมา เจ้าเมืองปาย(อ.ปาย แม่ฮ่องสอน) ฟ้องกล่าวโทษเจ้าเมืองแหง('''แสนธานีพิทักษ์''')ว่าคบคิดกับ "เจ้าฟ้าเมืองนาย" "เมืองปั่น" "เมืองเชียงทอง" "เมืองปุ"(พม่า) จะนำกำลังมารบชิงเมืองปาย และเมืองงาย(เชียงดาว) รวมทั้งจะก่อการขบถต่อราชอาณาจักรสยาม ใน พ.ศ. 2438<ref>กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.58/163 เรื่อง เมืองแหงวิวาทกับเมืองปาย ร.ศ.114 ขอขอบคุณ ดร.อนุชาติ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เอื้อเฟื้อประสานสำเนาไมโครฟลิ์ม เรื่อง เมืองแหงวิวาทเมืองปาย จำนวน 83 หน้ากระดาษ A 4 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มาให้ข้าพเจ้านายชัยยง ไชยศรี ได้เรียบเรียง</ref> ทั้งนี้เรื่องราวได้รายงานตามลำดับชั้น จาก พระยาดำรงค์ราชสีมา เจ้าเมืองปาย,นายน้อยบัววงษ์ พระยารองกรมมหาดไทยเมืองนครเชียงใหม่,เจ้าราชวงษ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย กรมทหารเมืองนครเชียงใหม่,พระยาทรงสุรเดช ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง, สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย, พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ราชเลขานุการในรัชกาลที่ 5 , พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช.
เส้น 57 ⟶ 64:
 
''เขียน ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๔
ข้าพเจ้าพระยาดำรงค์ราชสีมา ผู้ว่าราชการเมืองปาย ปฏิบัตินมัศการกราบเรียนองค์เป็นเจ้าอยู่หัวเจ้าราชวงษ ซึ่งสำเร็จราชการกรมมหาดไทย ทหารเมืองนครเชียงใหม่ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๔ ข้าพเจ้าได้ "จับยับ"เอาพวกคนใช้ "ปู่เมอุก" พ่อเมืองแหง ปล่อยมาฟังร้ายดีใน เมืองปาย นี้ ๓ คนด้วยกัน ผู้ ๑ ชื่ออ้ายพุด ผู้๑ ชื่ออ้ายคำ ผู้หนึ่งชื่ออ้ายยี่ ...ด้วยตัวอ้ายสามคนที่พ่อเมืองแหงใช้มานั้น ข้าพเจ้าได้จับเอาตัวอ้ายสามคนนั้นใส่เหล็กไว้ในเมืองปาย นี้แล้ว ครั้นข้าพเจ้าจึงถามอ้ายสามคนด้วยราย เมืองแหงเป็นขโมยนั้นอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่ จึงให้การว่า
ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๔ ปู่เมอุก ผู้เป็นพ่อเมืองแหง ได้บังคับ ปู่เถิกซะ "เป็นแก่" ปู่แย แลราษฎรในเมืองแหง คนรวม ๓๐ คนซ้ำบังคับให้ปู่จองมองเป็นแก่ คุมพวกคนนักเลงนอกเขตรเมืองแหงนั้นรวมคน ๓๐ คน พวกนักเลงกับพวกคนเมืองแหงสมรวมสองรายเป็นคน ๖๐ คน นี้ยกออกไปตั้งกองทัพลวงเอาฆ่าคนที่ "เมืองแพนปู" พวกเมืองแหง ว่าอย่างนี้ ให้ปู่เถิกซะกับปู่จองมองผู้เป็นแก่สองแก่ยกเอาคน ๖๐ คน มายัง "เมืองแพลน" ครั้นเข้ามาอยู่เมืองแพลนแล้วนั้นพวกบ้านเมืองเป็นความเดือดร้อน "แพลนห้วยป่ามุง" "แม่ละนายางไม้แดง" ซ้ำพากันมารวมเป็นขะโมย รวมทั้งมวนประมาณจะมีสัก ๑๐๐ คนเสศอยู่ ครั้นมาตีเมืองปาย "บ่อแตกบ่อป่าย" บ่อหนีแล้วขะโมย เมืองแหงจึงแตกตื่น "ป่ายหนี"กลับคืนมา"แผว"เมืองแหงคืนที่เก่า ขะโมยพวกเมืองแหงแผวคืนเมือแล้วนั้นเขาพากันมาจับภ่อดูคนตายถูกปืน มีโป่คำลายหนึ่งกับโป่คำไสสองคนเท่านั้นแล้ว เห็นตายอยู่ริมหัวบ้านพระยาดำรงค์ เขาพูดกันว่าดังนี้ ตั้งแต่เขามาตีเมืองปายแล้วนี้ โป่สุก กับโป่จองมอง "ก็บ่อหันแล้ว" เขาว่ามันไปเชียงใหม่ ได้ยินเขาพูดกันว่าอย่างนี้แล้ว พวกบ้านเมืองแพลน เมืองน้อย บ้านห้วยป่ามุงก็หนีคืนเมือหา ปู่เมอุก พ่อเมืองแหงๆ มีอาญาให้คนทั้งหลายคนเก่าคนแก่แม่หญิงลูกอ่อนไปอยู่ "บ้านสันป่าแปลกยาว" นั้นเสีย คนหนุ่มทั้งหลายก็พากัน "เกิ๊ดที่ทางปล่อง" "ทางปล่องห้วยหก" ปู่น้อยแสนเป็นแก่ไปเกิ๊ดเฝ้าอยู่คนสัก ๑๐ คนเสศ "ทางปล่องสันกำแพง" หื้อปู่กองยาติโกลวดไปอยู่เฝ้าคน ๑๐ เสศ ทาง"ปล่องน้ำบ่อหมาเลีย" นั้นหื้อโป่กำแลกเป็นแก่ไปเกิ๊ดเฝ้าอยู่ท่า(ถ้า)เห็นคนเมืองปายฟันตายนั้นเสี้ยง(ให้หมด) อย่าให้ลุกสักคน ในเวียงหื้อโป่แยคุมพวกคนนักเลง ๔๐ คน อยู่เฝ้าได้ยินเสียงปืนออกตำบลใด หื้อออกรับตำบลนั้น พ่อเมืองแหง เกณฑ์คนกันไว้อยู่อย่างนี้แล้วเดี๋ยวนี้แล้ว
ข้อ ๒ ข้าพเจ้าอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่ รู้จักนั้นมีคนของ "ปู่อำนาจจะเล" "ส่างยี" "เมืองนาย"นั้น ๒๕ คน กับปู่เถิกซะเมืองแหง ๑ โป่จาง ๑ โป่มอง ๑ ปู่น้อยสวน ๑ ปู่เมยาแม่หองจู ๑ ปู่กันณะผีเถื่อน ๑ อ้ายคำคนในเรือนพ่อเมืองแหง ๑ อ้ายพุดคนในเรือนพ่อเมืองแหง ๑ อ้ายกันณะหลานพ่อเมืองแหง ๑ อ้ายจิณ ๑ อ้ายซางทุน ๑ อ้ายอ๋อ ๑ ตังแกลาย ๑ สลอบตัน ๑ จองเคื่อง ๑ บัวสุ ๑ บัวคำใส ๑ บ้านหนองน้อย ๑ คนที่ข้าพเจ้าสามคนรู้จักเท่านี้
 
ข้อ ๓ ปู่เมอุกพ่อเมืองแหง มีอาญาบอกกล่าวให้ "พวกแย" พวกเมืองแหงแลพวกคนนักเลงทั้งหลายว่าเรารอฟัง "ขุนทอน"ลงไปเชียงใหม่กลับคืนมาก่อน ถ้าว่าเจ้านายเมืองเชียงใหม่ ยังจะมาตีรบทำลายหื้อเราอยู่เป็นแน่นั้นเราดีรีบเร็ว "ไปตีเมืองปาย เมืองคอง เมืองงาย"ก่อน เจ้านายบ่อมาแผวเตื้อนี้ก็จะตีหื้อทันก่อนกองทัพเชียงใหม่ ปู่เมอุกว่าอย่างนี้ อีกข้อหนึ่งถ้าเจ้านายเชียงใหม่ยกทัพขึ้นมาเมืองปายแล้ว แลเจ้านายยังบ่อยกทัพเลิกกลับคืนเมือแล้วนั้นเราค่อยยกทัพเราเมืองแหงไปตีเมืองปายหื้อจงได้ ครั้นบ่อได้บ่อยอมปู่เมอุกพ่อเมืองแหงว่าอย่างนี้
อีกข้อหนึ่งปู่เมอุก พ่อเมืองแหงว่าเรารอฟัง "พวกคนนักเลงเมืองตะวันตกจะอยู่แถม ๒๐๐ นั้นแผวมาเราก่อน" ครั้นคนพวกนั้นแผวเราแล้วจะตีจะรบเมืองใดก็เป็นที่ลองใจเรานั้น ปู่เมอุกพ่อเมืองแหงว่าอย่างนี้หื้อพวกคนทั้งหลายอยู่
อีกข้อหนึ่งตุลาการเฒ่าแก่เมืองปายซ้ำถามอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่นั้นว่า "เมืองคอง" ก่อนนั้นดู ขะโมยที่ไหนไปตี อ้ายพุดจึงให้การว่าขะโมยเมืองแหงไปตีดังเก่า โดยเมืองคองนั้นปู่เมอุกพ่อเมืองแหง มาบังคับใช้หื้อปู่จองมองเป็นแก่คุมพวกนักเลง ๓๐ คนไปตี ครั้นปู่จองมองออกจากเมืองแหงไปตามพ่อเมืองแหงบังคับนั้นแล้ว พ่อเมืองแหงมีหนังสือหื้อปู่เติกกับอ้ายตาเอาหนังสือไปส่งหื้อเมืองคองว่าเราได้ยินข่าว "ขโมยคนแอ๋" ลงมาตามเมืองคองนี้ หื้อเมืองคองได้ตระเตรียมไว้กลัวเสียเปรียบแก่ ผู้ร้าย หนังสือตอบส่งข่าวว่าดังนี้ ครั้นหนังสือถึงตะวันแลงนี้ "ครั้นมืดสลุ้ม"ขะโมยก็เข้าตีเมืองคองแล้วซ้ำเลยลงไปตี "บ้านป้อมแม่เดิมปูนตา" ข้าพเจ้าอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่ รู้เห็นนั้นเสี้ยงคำให้การมีเท่านี้

ข้าพเจ้า อ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่ จึงลงลายมือให้ตุลาการเมืองปายไว้เป็นสำคัญต่อพ่อตังแกน้อยจองใจ ๑ จองลาย ๑ จองคำ ๑ พกากณกอ ๑ จุมมู น้อยลิน คงคำให้การไว้ (ลายนิ้วมือ)อ้ายคำ อ้ายยี่ อ้ายพุด
 
ข้อ ๑ แถม เมื่อคนเมืองแหงมาตีเมืองปายนั้น "ปู่อำนาจจะเล" "เมืองนาย" ก็มีอยู่เมืองแหงนั้นนอนที่เรือนตังแกลาย คนปู่อำนาจมีปู่ตาเสือ ๑ น้อยคำ ๑ ยังลงมาตีเมืองปายอยู่ ครั้นหมู่เมืองแหงแตกป่ายแผวเมืองแหงแล้วสามวันปู่อำนาจจึงยกออกจากเมืองแหง "ปิ๊กเมือ" ข้อ ๑ แถมศักราช ๑๒๕๖ ภอเดือนสี่เงี้ยว(ไทใหญ่)ปู่แสนคนเมืองนายเอาเงิน ๑๕๐๐ แถบมาหาปู่เมอุกหาซื้อช้าง ปู่เมอุกก็ได้ซื้อช้างทางเมืองเชียงใหม่สองตัว ผู้ ๑ แม่ ๑ ซ้ำปี๊กคืน "ปี๊กคืน"มาอยู่ที่ปู่เมอุกพ่อเมืองแหงดังเก่า แล้วปู่เมอุกซ้ำบังคับขุนปัน ๑ ปันนียะ ๑ กับคนหนูโมสองคน บ่อรู้จักชื่อที่ส่งถึง "เจ้าฟ้าเมืองนาย" แล้ว "เจ้าฟ้าเมืองนาย"หื้อเงินเขา ๔ คน ๔๐๐ แถบแล้ว "เจ้าฟ้าเมืองนาย"ซ้ำหื้อเงินมาที่ปู่แสนแถมเป็นเงิน ๕๐๐ แถบ ปู่แสนซ้ำปิ้กเข้าที่ปู่เมอุกพ่อเมืองแหงแถม ปู่แสนก็เอาเงินมา "เล่นลวงเสียปักตก" ปู่แสนนั้นก็มีอยู่ในเมืองแหงรวมคน ๓ คน ปู่แสน ๑ ปู่ยี่ ๑ ปู่แสง ๑ คนสามคนนี้เขาพูดว่า ครั้นบ่อได้คืนเงิน ๕๐๐ แถบ นี้ "บอเมือได้" เช่นได้คืนเงิน ๕๐๐ แถบนี้คืนจึงจะเมือได้เขาพูดว่าอย่างนี้ เวลามาตีเมืองปายนั้นเขาก็มาต่อยเพื่อนอยู่
 
อ้ายพุดแจ้งความให้การแถมเท่านี้.
เส้น 81 ⟶ 92:
สืบมาถึงองค์อยู่เกล้าฯได้ขึ้นเป็นเจ้าครอบครองอำในกายขันธ์ทั้ง ๕ แห่งข้าพเจ้านั้นแล้ว เจ้าอยู่หัวก็ได้ชุบเลี้ยงโปรดให้ ข้าพเจ้าได้ขึ้นมารักษาราชการหื้อมันกว้างศอกออกวา ว่าฉันนี้ ข้าพเจ้าก็ได้อยู่มาได้ ๑๑ ปี แลสติสัจจาเจ้าอยู่หัวก็มีในห้องในบุญข้าพเจ้าแล้ว แต่ข้าพเจ้าจะมีใจคดเลี้ยวต่อพระเจ้าอยู่หัว แลจะไปเปนโจรขโมยกับบ้านกับเมืองก็หาบอมี
 
การที่ว่าขโมยผู้ร้ายนั้นเปรียบว่า '''“ข้า”'''หากมีทุกบ้าน '''“ข้าหาร”('''ทหาร) มีทุกเมือง แต่ไปที่ใดๆก็ดี "พาหน"เมืองปายก็ป่าวแยงหนังสือลงมาขายหน้าข้าพเจ้า ถึงเจ้าจอมทุกปีทุกเดือนแล้วคิดเปนทัพศึก แลว่าข้าพเจ้าเมืองแหงจะลงไปรบที่เจ้าเมืองปายที่แต้ก็หากเป็นข้าเจ้าเดียวเจ้าหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ทั้งมวน(มวล)เหมือนกัน ถ้าว่ามาตีมันป่าย(พ่าย)ทางเมืองปายแต้มันก็สังมีหนังสือ ๓/๗ ถ้าบ่อบอกหื้อข้าพเจ้าได้รู้ควรดีช่วยกันเสาะหา แต่จะเป็นผู้ร้ายในบ้านใดเมืองใด มันไปทางใดก็ล้างภอมาบอกฮื้อข้าพเจ้าได้รู้ว่าเกิดมีในเมืองแหงก็ดี ก็ควรจะได้ปฤกษาช่วยกันตอบก็ดีได้พร้อมกันทั้งสองก่อน ถ้าเพื่อนไปเยียะไปชิงคุยที่ไหน ก็ว่าเป็นโจรขโมยเมืองแหง
 
ถ้าจะมาเขี้ยว(เคี่ยว)น้ำเอาตัวแต่ก็บอได้ปอยแปงหนังสือ มาไหว้ษา อยู่บอขาดวันหนึ่ง พระข้าเจ้าไปค้าในเมืองปายมันก็ "จับยับเอา" แล้วเฆี่ยนตีผูกมัด ว่าเพื่อนเปนขโมย ว่าฉันนี้ โดยพระยาดำรงมากล่าวโทษข้าพเจ้านั้นเจ้าอยู่เกล้าฯก็หาได้มีหนังสืออาจญามาเรียกเอาตัวข้าพเจ้ามาถามไม่แต่เจ้าอยู่เกล้าฯ ก็ฟังคำคืนคำขายพระยาดำรง มาฉ้อ ฉะนี้
 
ข้าพเจ้าทั้งหลายเปนท้าวแก่ก็ที่หวันหวั่นยั่นกลัวเสียแล้ว เหตุคำก็ดี ภอดีไหว้ษาอยู่ก็บ่อได้ไหว้ษาเสียแล้ว แลถึงที่ภออยู่บก ได้กินบ่อได้ "กวาก็บ่อได้" ไปก็บ่อได้ เพราะความมีบ่อได้ไหว้ษา เหตุเจ้าจอมก็บ่อได้ถามเสียแล้ว จึงได้พาเอาลูกน้องพ้องปาย หนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ห้วย อยู่เหมือง อยู่แล้ว พึงดีอยู่พึงดีไปนั้น ก็ขอเจ้าอยู่หัวพอมีบุญได้โปรดข้าพเจ้า จะได้มานมัศการใต้ฝ่าพระบาท ควรประการใดสุดแล้วแต่จะโปรด ''''
๑๒๕๗ ตัว''