ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิวซิดิดีส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 73:
ทิวซิดิดีสพิจารณาว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถามทางจริยธรรมเสมอไป ท่านตั้งคำถามว่าความยุติธรรมและจารีตประเพณีจะมีบทบาทอย่างไร ต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งมีอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญ?<ref>{{cite article|first=W. Julian|last=Korab-Karpowicz|title=Stanford Encyclopedia of Philosophy|chapter=Political Realism in International Relations|url=https://plato.stanford.edu/entries/realism-intl-relations/#ThucImpoPowe|publisher=Standford University|accessdate=2017-06-07}}</ref> นักสัจจะนิยมมักจะตั้งแง่กับการนำประเด็นทางศีลธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ และบางคนก็เถียงว่าไม่มีพื้นที่ให้กับคำถามทางศีลธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมิฉะนั้นก็อ้างว่ารัฐอธิปไตยย่อมมี "ศีลธรรมของตนเอง" ที่แตกต่างไปจากศีลธรรมตามจารีตประเพณี ด้วยเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงมองธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเห็นแก่ตัว และมักคล้อยไปทางความหลงมัวเมาในอำนาจ จนมักจะเอาประโยชน์ส่วนตัวมาอยู่เหนือหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมอยู่ตลอดเวลา<ref>''ibid.''</ref>
 
[[Fileไฟล์:Attica 06-13 Athens 50 View from Philopappos - Acropolis Hill.jpg|thumb|อะโครโพลิส ในกรุงเอเธนส์]]
[[Fileไฟล์:Sparta ruins.PNG|thumb|<center>ซากปรักหักพังในสปาร์ตา]]
 
ด้วยสาเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงคิดว่าสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ - ซึ่งไม่มีกลไกถาวรจะมาสร้างและบังคับใช้กฎเกณฑ์ทางจารีต หรือศีลธรรม - เป็นพื้นที่ที่แต่ละรัฐต้องรับผิดชอบความอยู่รอดของตัวเอง และมีอิสระเสรีเต็มที่ที่จะกำหนดผลประโยชน์ และแสวงหาอำนาจ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นพื้นที่อนาธิปไตย (anarchy) ที่อำนาจมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ<ref>''ibid.''</ref> แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดย[[บทสนทนาเมเลียน]] (Melian Dialogue)ระหว่างคณะทูตชาวเอเธนส์ และผู้ปกครองของนครเมลอส โดยขณะที่ฝ่ายเมลอสพยายามป้องกันความเป็นอิสรภาพของตนโดยอ้างหลักความยุติธรรม และความชอบธรรม<ref name="ThV90">Thucydides, [[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:90|5.90]]</ref> ผู้ถือสารจากเอเธนส์กลับเตือนให้ผู้ปกครองของเมลอสตระหนักถือแสนยานุภาพทางการทหารที่เหนือกว่าของเอเธนส์ ที่สามารถจะทำให้เมลอสพินาศได้ทุกเมื่อ<ref name="ThV101">Thucydides,
บรรทัด 85:
 
อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากบันทึกมหาสงครามเพโลพอนนีเซียนทั้งเล่มของท่าน จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีส ไม่ได้เป็นนักสัจจะนิยมสายแข็ง แต่ท่านกลับมุ่งแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า อำนาจย่อมนำไปสู่ความกระหายที่จะแสวงหาอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากไม่ถูกบั่นทอนเสียบ้างโดยสำนึกของความยุติธรรม ซึ่งความมัวเมาในอำนาจและความมั่งคั่งทางวัตถุของจักรวรรดินี้ อาจกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่จะเอามาใช้เพื่อหาเสียงเข้าสู่อำนาจ จนประเทศชาติถูกชักนำไปสู่ความหายนะ ซึ่งนี่ก็เป็นชะตากรรมแบบเดียวกับที่เอเธนส์เผชิญในที่สุด เพราะชาวเอเธนส์ถูกชักนำให้มีความหยิ่งยโส คิดถึงแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่ใส่ใจพิจารณาถึงความชอบธรรมทางจารีตประเพณีในการกระทำของตน พวกเขาจึงประเมินกำลังตัวเองสูงเกินไป และในที่สุดความกระหายอำนาจนั้นก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้ต่อสปาร์ตาคู่อริ ดังนี้จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีวก็เอาภาพรวมของประวัติศาสตร์ มาอธิบายการล่มสลายของจักรวรดิเอเธนส์ว่าเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดต่อๆกันมาเป็นอนุกรม เพราะถูกชักจูงโดยความโลภและขาดสติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้ายกับวรรณกรรมโศกนาฏกรรมของกรีก ด้วยเหตุนี้นักวิชาการสมัยใหม่จึงเริ่มแคลงใจที่จะจัดให้ ทิวซิดิดีส เป็นบิดาของสัจนิยมการเมือง (real politik) เหมือนอย่างในอดีต
[[Fileไฟล์:Thucydides-bust-cutout ROM.jpg|thumb|รูปครึ่งตัวของทิวซิดิดีส ตั้งอยู่ ณ [[Royal Ontario Museum]], [[โทรอนโท]]]]
 
นักวิชาการด้านกรีกโบราณ [[จาเคอลีน เดอ รอมิยี]] (Jacqueline de Romilly) เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาในทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมของเอเธนส์ เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทิวซิดิดีสเพ่งความสนใจมากที่สุด และเธอชี้ว่าท่านวางงานเขียนประวัติศาสตร์ของตนไว้ ในบริบทของความคิดแบบกรีกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ของเธอกระตุ้นให้นักวิชาการหลายคน หันมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมมองของทิวซิดิดีส ที่มีต่อ ''Realpolitik'' หรือแนวคิดสัจนิยมการเมือง จนระยะหลังมานี้ ความเชื่อว่าตัวทิวซิดิดีสเป็น "บิดาของสำนักความคิดสัจนิยมการเมือง" ถูกสั่นคลอนอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการบางท่านรวมทั้ง [[ริชาร์ด เน็ด เลอโบ]] (Richard Ned Lebow) เห็นว่างานเขียนของทิวซิดิดีส อาศัยและอ้างอิงแนวคิดในบทกวีมหากาพย์ และ[[โศกนาฏกรรม]]ในวรรณกรรมกรีกอย่างมาก จนถึงขนาดว่าจะยกให้ท่านเป็น "นักประพันธ์โศกนาฏกรรมคนสุดท้าย"<ref>Richard Ned Lebow, ''The Tragic vision of Politics'' (Cambridge University Press, 2003), p. 20.</ref> ก็ไม่ผิดนัก ในมุมมองนี้ พฤติกรรมที่ไร้ศีลธรรม และอัปยศ หรือ [[ฮิวบริส]] (ὕβρις) ของชาวเอเธนส์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องพบกับความหายนะ