ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิวซิดิดีส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50:
== บุคลิก ==
 
ทิวซิดิดีส ยกย่องชื่นชม [[เพริคลีส]] และยอมรับพลังดึงดูดแห่งบุคลิกภาพที่เพริคลีสใช้ความคุมชาวเอเธนส์ แต่ท่านแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรังเกียจ ที่มีต่อพวกนักปลุกระดมทางการเมืองที่คอยติดตามเพริคลิส ทิวซิดิดีสไม่เห็นด้วยกับทั้งม็อบฝูงชนในระบอบประชาธิปไตย และแนวคิดประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างอย่างที่เพริคลีสสนับสนุน เพียงแต่ท่านเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ หากว่าประเทศมีผู้นำที่ดีและมีความสามารถอย่างเพริคลีส<ref name="ThII65">Thucydides, [[swikisource:History of the Peloponnesian War/Book 2#2:65|2.65]]</ref> อย่างไรก็ดี ทิวซิดิดีส เขียนบรรยายเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างเป็นภาวะวิสัย ท่านพูดถึงความล้มเหลวของตัวท่านเองในฐานะแม่ทัพใน[[สมภูมิแอมฟิโพลิส]] แต่บางทีท่านก็อดไม่ได้ที่จะตำหนินักการเมืองที่คอยปลุกปั่นประชาชน เช่น [[คลีออน]]<ref name="ThIII36">Thucydides, [[s:History of the Peloponnesian War/Book 3#3:36|3.36]]</ref> <ref name="ThIV27">Thucydides, [[swikisource:History of the Peloponnesian War/Book 4#4:27|4.27]]</ref> เนื่องมาจากว่าคลีออนเป็นศัตรูทางการเมืองของท่าน และตัวท่านเองไม่ค่อยศรัทธาระบอบประชาธิปไตยนัก
 
== ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ==
บรรทัด 65:
ความแตกต่างหลัก ๆ ข้อหนึ่งระหว่างงานเขียนประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีสและงานเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ก็คือ งานเขียนของทิวซิดิดีสจะประกอบด้วยคำพูดสนทนา และคำแถลงแบบเป็นทางการ หรือรวมเอาคำให้การที่มีความยาวพอสมควรไว้ ซึ่งตัวทิวซิดิดีสเองยอมรับว่าบทสนทนาพวกนี้เป็นเนื้อหาที่ไม่ได้ตรงกับคำพูดจริงๆทั้งหมด แต่เป็นการ"บูรณะ" (reconstruct) ขึ้นใหม่ตามคำให้การของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือความจำของตัวเขาเอง โดยนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเชื่อว่าทิวซิดิดีสใส่ความเห็นของตนลงไปด้วยในคำพูดเหล่านั้น หรือตามความเข้าใจและการตีความของเขาเองต่อเนื้อหาของสิ่งที่พูดว่าควรเป็นอย่างไร อย่างไรก็ดีนี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสมัยนั้น ที่จะรักษาความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งที่เคยพูดไว้ได้ เพราะหากทิวซิดิดีสไม่ทำเช่นนั้น เนื้อหาของบทสนทนาทางประวัติศาสตร์คงจะไม่เหลือรอดอยู่เลย ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของยุคสมัยใหม่ที่ทีเทคโนโลยีที่สามารถบันทึกและเก็บรักษาเอกสารคำให้การจำนวนมากๆ ดังนั้นทิวซิดิดีสจึงไม่แค่เพียง “เขียนตามหลักฐาน” แต่เป็นการช่วยไม่ให้แหล่งข้อมูลบอกเล่าด้วยปากถูกลืมเลือนไปโดยสิ้นเชิงด้วย ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดชิ้นนึงของบันทึกคำบอกเล่าที่ทิวซิดิสรักษาไว้ ได้แก่ คำสุทรพจน์ไว้อาลัยผู้ตายในสงครามของ[[เพริคลีส]] หรือ [[สุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส]] (Pericles' funeral oration) ซึ่งเป็นตำอธิบายและเชิดชูคุณค่าทางศีลธรรมของสังคมประชาธิปไตย จากปากของ[[เพริคลีส]] ผู้เป็นรัฐบุรุษและผู้นำของชาวเอเธนส์ และถือเป็นงานวรรณกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนนึงของข้อความนั้นเป็นภาษิตว่า:
 
{{คำพูด|<big>''โลกทั้งใบคือสุสานของมนุษย์ผู้ลือนาม บุรุษพวกนี้มิได้เพียงแค่ถูกระลึกถึง โดยแนวเสาหินหรือเพียงคำไว้อาลัยในแผ่นดินของตนเอง แต่ยังถูกจดจำในต่างแดน ในความทรงจำที่มิใช่เพียงบันทึกบนแผ่นศิลา หากเป็นในหัวใจและความนึกคิดของผู้คนแม้จะอยู่ต่างถิ่น''</big>|สุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีสต่อชาวเอเธนส์<ref name="ThII22">Thucydides, [[swikisource:History of the Peloponnesian War/Book 2#2:43|2.43]]</ref>}}
 
===บุกเบิกแนวคิด[[สัจนิยม]]ทางประวัติศาสตร์===
 
{{คำพูด|<big>''ความถูกผิดชอบธรรม (δίκαιος) ตามความเข้าใจของนรชนในโลกนี้ เป็นเรื่องที่เคารพปฏิบัติก็แต่ระหว่างฝ่ายที่ถูกผูกมัดด้วยธรรมเนียมนั้นเหมือนๆกัน แต่ผู้แข็งแกร่งย่อมทำได้ตามที่ตนสามารถ ในขณะที่ผู้อ่อนแอมีแต่ต้องทนรับ''</big>|บทสนทนาระหว่างผู้ถือสารของจักรวรรดิเอเธนส์และผู้ปกครองนครเมลอส<ref name="ThV89">Thucydides, [[swikisource:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:89|5.89]]</ref>}}
 
ทิวซิดิดีสพิจารณาว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถามทางจริยธรรมเสมอไป ท่านตั้งคำถามว่าความยุติธรรมและจารีตประเพณีจะมีบทบาทอย่างไร ต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งมีอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญ? นักสัจจะนิยมมักจะตั้งแง่กับการนำประเด็นทางศีลธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ และบางคนก็เถียงว่าไม่มีพื้นที่ให้กับคำถามทางศีลธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมิฉะนั้นก็อ้างว่ารัฐอธิปไตยย่อมมี "ศีลธรรมของตนเอง" ที่แตกต่างไปจากศีลธรรมตามจารีตประเพณี ด้วยเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงมองธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเห็นแก่ตัว และมักคล้อยไปทางความหลงมัวเมาในอำนาจ จนมักจะเอาประโยชน์ส่วนตัวมาอยู่เหนือหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมอยู่ตลอดเวลา