ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิวซิดิดีส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 71:
===บุกเบิกแนวคิด[[สัจนิยม]]ทางประวัติศาสตร์===
 
{{คำพูด|<big>''ความถูกผิดชอบธรรม (δίκαιος) ตามความเข้าใจของนรชนในโลกนี้ เป็นเรื่องที่เคารพปฏิบัติก็แต่ระหว่างฝ่ายที่ถูกผูกมัดด้วยธรรมเนียมนั้นเหมือนๆกัน แต่ผู้แข็งแกร่งย่อมทำได้ตามที่ตนสามารถ ในขณะที่ผู้่อ่อนแอมีแต่ต้องทนรับ''</big>|บทสนทนาระหว่างผู้ถือสารของจักรวรรดิเอเธนส์และผู้ปกครองนครเมลอส<ref name="ThV89">Thucydides, [[wikisources:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:89|5:.89]]</ref>}}
 
ทิวซิดิดีสพิจารณาว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถามทางจริยธรรมเสมอไป ท่านตั้งคำถามว่าความยุติธรรมและจารีตประเพณีจะมีบทบาทอย่างไร ต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งมีอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญ? นักสัจจะนิยมมักจะตั้งแง่กับการนำประเด็นทางศีลธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ และบางคนก็เถียงว่าไม่มีพื้นที่ให้กับคำถามทางศีลธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมิฉะนั้นก็อ้างว่ารัฐอธิปไตยย่อมมี "ศีลธรรมของตนเอง" ที่แตกต่างไปจากศีลธรรมตามจารีตประเพณี ด้วยเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงมองธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเห็นแก่ตัว และมักคล้อยไปทางความหลงมัวเมาในอำนาจ จนมักจะเอาประโยชน์ส่วนตัวมาอยู่เหนือหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมอยู่ตลอดเวลา
 
ด้วยสาเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงคิดว่าสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ - ซึ่งไม่มีกลไกถาวรจะมาสร้างและบังคับใช้กฎเกณฑ์ทางจารีต หรือศีลธรรม - เป็นพื้นที่ที่แต่ละรัฐต้องรับผิดชอบความอยู่รอดของตัวเอง และมีอิสระเสรีเต็มที่ที่จะกำหนดผลประโยชน์ และแสวงหาอำนาจ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นพื้นที่อนาธิปไตย (anarchy) ที่อำนาจมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดย[[บทสนทนาเมเลียน]] (Melian Dialogue)ระหว่างคณะฑูตชาวเอเธนส์ และผู้ปกครองของนครเมลอส โดยขณะที่ฝ่ายเมลอสพยายามป้องกันความเป็นอิสระภาพของตนโดยอ้างหลักความยุติธรรม และความชอบธรรม<ref name="ThV90">Thucydides, [[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:90|5.90]]</ref> ผู้ถือสารจากเอเธนส์กลับเตือนให้ผู้ปกครองของเมลอสตระหนักถือแสนยานุภาพทางการทหารที่เหนือกว่าของเอเธนส์ ที่สามารถจะทำให้เมลอสพินาศได้ทุกเมื่อ<ref name="thV101>Thucydides,
[[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:101|5.101]]</ref>
 
แนวคิดสัจจะนิยมอธิบายว่า ประเทศทั้งหลายย่อมพยายามทำการทุกอย่างเพิ่มพูนอำนาจของตน และจะกระทำการใดๆเพื่อคาน หรือยับยั้งอำนาจของรัฐอื่นที่อยู่ในข่ายที่อาจเป็นภัยก้าวร้าวต่อความมั่นคงของรัฐตน ด้วยเหตุนี้สงครามจึงอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อประเทศที่เคยทรงอำนาจมาก่อนเห็นว่ารัฐอีกรัฐหนึ่งกำลังขยายอำนาจคุกคามความมั่นคงของตนมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีวิธีการอื่นที่จะหยุดการเพิ่มพูนทางอำนาจของรัฐที่ตนเห็นว่าเป็นปรปักษ์ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทิวซิดิดีสจึงระบุว่าสาเหตุของสงครามเพโลพอนนีเซียน เกิดจากการถ่ายเทอำนาจระหว่างสองขั้วอำนาจหลักของนครรัฐกรีก คือ ฝ่าย[[สันนิบาตดีเลียน]]ภายใต้การนำของเอเธนส์ฝ่ายหนึ่ง และฝ่าย[[สันนิบาตเพโลพอนนีเซียน]]ที่อยู่ภายใต้แสนยานุภาพทางทหารของสปาร์ตา (ซึ่งเป็นผู้นำทางการสงครามในภูมิภาคนี้มาแต่โบราณ) อีกฝ่ายหนึ่ง หรือพูดอีกอย่างคือ ทิวซิดิดีสเชื่อว่าการขยายอำนาจของเอเธนส์จนขึ้มมาเป็นจักรวรรดิ์ทางทะเล ทำให้ฝ่ายสปาร์ตาตัดสินใจเข้าสู่สงครามกับเอเธนส์<ref>[[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 1#1:23|1.23]]</ref>