ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 125:
ในปีเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. 1805) ได้มีการจัดตั้ง[[กลุ่มแนวร่วมที่สาม]]ในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมือง[[บูลอญ]]ใน[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จาก[[ยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์]] ที่ได้ชื่อว่าเป็น''"สงครามสามจักรพรรดิ"''
 
ในปี ค.ศ. 1806 [[ปรัสเซีย]]ได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ ซึ่งเป็นแผนการที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง ''"จิตวิญญาณแห่งโลก"'' ของ[[เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกล|เฮเกล]]มาใช้ แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็สามารถกวาดล้างกองทัพ[[ปรัสเซีย]] ที่การรบใน[[สมรภูมิอิเอนา]] (Battle of Iéna)ได้ในที่สุด (ซึ่งได้ความยินดีเป็นสองเท่าจากชัยชนะของ[[ดาวูต์]] ที่เมือง[[โอเออสเต็ดท์]]ในช่วงเวลาเดียวกัน) แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาพระองค์ได้ทรงเดินทัพข้าม[[โปแลนด์]]และสิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเมือง[[ทิลสิท]]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1807 กับ[[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย|จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)
 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น นั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในสมรภูมิเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย