ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฆ่าคน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6301431 โดย Nullzero: spam website ด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{issues|ต้องการอ้างอิง=yes|โปร=yes|ปรับภาษา=yes|ไม่เป็นสารานุกรม=yes}}
 
{{กล่องข้อมูล อาชญากรรมไทย}}
 
'''การฆ่าคน''' (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็น[[อาชญากรรม]]ประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี
 
== "การฆ่าคน" และ "ฆาตกรรม" ==
 
คำว่า "การฆ่าคน" เป็นศัพท์บัญญัติของ[[ราชบัณฑิตยสถาน]] ให้ใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า "murder"<ref>http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php</ref>
 
เส้น 14 ⟶ 11:
 
== ภูมิหลังเกี่ยวกับการฆ่าคน ==
 
การถือว่าการฆ่าคนเป็นความผิดอาญา ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดในประมวลกฎหมายพระเจ้าเออร์-นัมมู (Ur-Nammu) กษัตริย์ชาวสุเมเรียน โดยประมวลกฎหมายดังกล่าวตราขึ้นในระหว่างประมาณ 2100 ปีถึง 2050 ปีก่อน ค.ศ. มาตราหนึ่งบัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดกระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้วไซร้ ผู้นั้นต้องระวางโทษประหารชีวิต"
 
ใน[[ศาสนาเอบราฮัม|ศาสนาเอบราฮัม (Abrahamic Religions)อับราฮัม]] การฆ่าคนถือเป็นสิ่งต้องห้าม โดยปรากฏอยู่ใน[[บัญญัติ 10 ประการ]]ที่พระเจ้ามอบแก่[[โมเสส]]บนยอดเขาเซนาย<ref>http://www.latinvulgate.com/verse.aspx?t=0&b=5&c=27</ref> <ref>http://www.hebrewoldtestament.com/B05C027.htm#V24</ref>
 
ตามกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ การฆ่าคนถือเป็นความผิดสาธารณะ (public wrong) <ref>http://www.yale.edu/lawweb/avalon/blackstone/bk4ch14.htm</ref>
 
== นิยามทางนิติศาสตร์ ==
 
นิยามของ "การฆ่าคน" นั้น ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีเช่นประเทศอังกฤษเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเขียนเอาไว้ตายตัว เพียงรับรู้กันว่าเป็นความผิดอุกฉกรรจ์ก็เพียงพอแล้ว และในกรณีเช่นนี้ คำตัดสินก่อน ๆ ของศาลมักใช้เป็นที่พิจารณาว่าการฆ่าคนตามกฎหมายจารีตประเพณีนั้นถือเอาการกระทำเช่นไรบ้าง ส่วนประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายเช่นประเทศไทยมักมีการบัญญัตินิยามของ "การฆ่าคน" เอาไว้อย่างตายตัว และนิยามอาจแก้ไขได้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่เป็นไป
 
=== องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการฆ่าคน ===
 
การฆ่าคนพิจารณาจากองค์ประกอบขั้นพื้นฐานสองประการดังต่อไปนี้
 
เส้น 35 ⟶ 29:
 
=== ข้อพิจารณาเพิ่มเติม ===
 
# การฆ่าคนโดยไม่เจตนาหรือไม่ได้หวังผลร้าย มักถือว่าเป็นการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา
# การฆ่าคนโดยชอบด้วยกฎหมาย (เช่น การประหารชีวิต หรือการทำให้คนตายโดยคำสั่งของผู้บังคับบัญชา) และการทำคนตายโดยอุบัติเหตุ ถือเป็นการทำให้คนตายโดยเจตนา ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมแล้วแต่กรณี เป็นต้นว่า
เส้น 43 ⟶ 36:
 
=== ผู้เสียหาย ===
 
ตามกฎหมายถือว่า ผู้เสียหายต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น และต้องเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างที่มีความผิดเกิดขึ้น
 
เส้น 49 ⟶ 41:
 
=== เหตุบรรเทาโทษ ===
 
ในบางประเทศกำหนดให้บุคคลไม่สมประกอบซึ่งกระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับการบรรเทาโทษ หรือให้ถือว่าเป็นการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา
 
เส้น 55 ⟶ 46:
 
==== ความวิกลจริต ====
 
จำเลยในคดีฆ่าคนอาจไม่ต้องถูกสอบสวนหรืออาจไม่ต้องรับโทษ หากพบว่าจำเลยวิกลจริต เป็นต้นว่า ป่วยเป็นโรคจิตพิการ (mental disorder) โรคจิตเภท (schizophrenia) หรือโรคสมองเสื่อม (dementia)
 
เส้น 76 ⟶ 66:
 
== องค์ประกอบที่ถือว่าเป็นการฆ่าคนอันมีโทษตามกฎหมาย ==
 
ตามกฎหมายจารีตประเพณี การฆ่าคนมักเป็นการกระทำโดยเจตนาร้ายอันไตร่ตรองมาก่อน (malice aforethought)
 
เส้น 89 ⟶ 78:
 
=== องค์ประกอบของความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามกฎหมายไทย ===
 
กฎหมายไทยได้บัญญัติองค์ประกอบความผิดฐานฆ่าผู้อื่นไว้ในมาตรา 288 ประมวลกฎหมายอาญาดังนี้ "มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี"
 
เส้น 193 ⟶ 181:
 
== ความผิดเกี่ยวกับการฆ่าคนตามกฎหมายไทย ==
 
สามารถจำแนกความผิดเกี่ยวกับการฆ๋าคนตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย (ปอ.) และกฎหมายอื่นของไทยที่เกี่ยวข้องได้ดังต่อไปนี้
 
เส้น 237 ⟶ 224:
== ดูเพิ่ม ==
* [[การฆ่าตัวตาย]]
* [[การโยนออกนอกหน้าต่าง]]
* [[บัญชรฆาต]]
 
 
[[หมวดหมู่:ฆาตกรรม| ]]
[[หมวดหมู่:มนุษยฆาต]]
[[หมวดหมู่:ความผิดอาญา]]
[[หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต]]
[[หมวดหมู่:อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ]]
[[หมวดหมู่:บาป]]