ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตักบาตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''การตักบาตร''' คือประเพณีอย่างหนึ่งที่[[ชาวพุทธ]]ปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล [[พระภิกษุ]]จะถือ[[บาตร]]ออก[[บิณฑบาต]]เพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ
 
ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน
 
== กฎของพระภิกษุเกี่ยวกับการตักบาตร ==
พระภิกษุนั้นจะออกบิณฑบาตทุกวัน อันเนื่องมาจากกฎของพระภิกษุมีอยู่ว่า พระภิกษุไม่สามารถที่จะเก็บอาหารข้ามคืนได้
 
เวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาต พระภิกษุจะใช้ 2 มือประคองบาตรเอาไว้แล้วเดินในกิริยาสำรวม พระภิกษุจะไม่เอ่ยปากขออาหารจากผู้คน หรือแสดงกิริยาในการขอ หรือยืนรอ (นอกจากได้รับนิมนต์ให้รอ) โดยส่วนมากแล้วเวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาตคือ ตั่งแต่ช่วงเช้ามืด (ประมาณ 5 นาฬิกา อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้บ้างเล็กน้อยในแต่ละท้องที่) จนถึงก่อน 7 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุฉันอาหารมื้อเช้า เมื่อเวลามีคนให้ทาน (ใส่บาตร) พระภิกษุต้องรับทานที่คนให้ทั้งหมด ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งของที่จะนำมาใส่บาตร ควรเป็นดังนี้
 
# สิ่งที่จะนำมาใส่บาตร เป็นสิ่งของที่เป็นกับปิยะ เช่น ควรเป็นอาหาร เพื่อให้พระฉันได้ เช่น ข้าวสุก (คำว่า บาตร แปลว่าข้าวตก) กับข้าวที่ปรุงสุกแล้ว จุดประสงค์ในการบิณฑบาตร คือต้องการอาหาร มายังให้ร่างกายมีชีวิตให้อยู่ได้ เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อนำมาบริโภคตามใจ (กิเลส) ปรารถนา จึงไม่ควรใส่มากจนเหลือเฟือ อาหารที่ใส่ควรเป็นอาหารที่มีประโชน์ต่อร่างกาย
# เนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ เรียกว่า มังสัง 10 อย่าง ได้แก่ มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว
# เนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการที่บุคคลคนนั้นตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อที่จะเอาเนื้อมาถวายพระภิกษุโดยเฉพาะ และพระภิกษุรู้ว่าเนื้อนั้นมาจากการฆ่าเพื่อที่จะนำมาถวายตนโดยเฉพาะข้อนี้เป็นพุทธบัญญัติ หลังจากพระเทวทัต เสนอให้พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อตลอดชีวิต แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ให้เป็นไปตามศรัทธาของแต่ละคน
และไม่ห้ามพระภิกษุฉันเนื้อในกรณี 3 ประการ คือ ไม่รู้ว่าเขาฆ่า, ไม่เห็นเขาฆ่า, ไม่ได้ยินว่าเขาฆ่าเพื่อเรา
# ผลธัญพืชที่มีเมล็ด บุคคลที่ตักบาตรไม่สามารถถวายผลธัญพืชที่มีเมล็ดได้ เพราะถือว่าเมล็ดนั้นยังสามารถที่จะให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าจะถวายต้องเอาเมล็ดออกก่อน ข้อนี้มาจากพุทธบัญญัติที่ห้ามไม่ให้พระภิกษุทำครัว เพราะการทำครัว จะต้องมีการฆ่า การพรากของสีเขียวหรือพืชคาม ภูตคาม "ภูตคาม" หมายถึง ต้นไม้ ใบหญ้า พีชที่มีรากติดอยู่ที่พื้นดิน ภิกษุตัดหรือทำให้หลุดจากลำต้นหรือทำให้พ้นจากพื้นดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ "พีชคาม" หมายถึง พีชที่เขาตัดมาจากต้น แต่ยังงอกได้ หรือเมล็ดพีชที่งอกได้ภิกษุทำลายต้องอาบัติทุกกฎ
# วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ข้าวสาร, แป้ง ผัก ปลา เนื้อสัตว์ เพราะตามหลักของศาสนานั้นไม่อนุญาตที่จะให้พระภิกษุประกอบอาหาร (ตามข้อ4){{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
<gallery>
ไฟล์:Almsbowl2.jpg‎|บาตร
</gallery>
 
== วิธีการตักบาตร ==
=== การตักบาตรโดยทั่วไป ===
ผู้คนที่นำของที่เอามาตักบาตรจะยืนรออยู่ตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน ส่วนมากของที่ผู้คนใช้นิยมตักบาตรเป็นหลักคือข้าว โดยก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึงจะมีการนำถ้วยข้าวจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึงพระภิกษุจะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตรแล้วเปิดฝาบาตร ก่อนที่จะตักบาตรคนที่ตักบาตรจะต้องถอดรองเท้าก่อน จากนั้นคนที่ตักบาตรจะนำทานที่ตนมีถวายพระ เมื่อให้เสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร (โดยปกติแล้วจะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ ซึ่งผิดตามพระธรรมวินัย เพราะจะทำให้พระอาบัติ) ขณะที่ให้พรคนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้นอาจจะทำขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้) หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
 
=== การตักบาตรในวันพระ ===
ในวันพระ ทุกขึ้น/แรม 8/15ค่ำ โดยทั่วไปพระภิกษุจะไม่มีการออก[[บิณฑบาต]] ผู้คนจะนำทานไปถวายที่วัด และวันนั้นพระภิกษุจะมีการเทศนาธรรมที่วัด โดยคตินิยมการเข้าวัดทำบุญนั้นน่าจะมีมาแต่สมัยพุทธกาลที่ชาวพุทธไปวัดเพื่อรับฟังพระธรรมเทศนาและถืออุโบสถศีล ในอดีตการไปทำบุญตักบาตรที่วัดวันพระนับว่าเป็นการไปพบปะเพื่อนฝูงญาติมิตรและแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชนที่ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันยังพอหาพบได้บางตามหมู่บ้านในแถบชนบท
 
ในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความเร่งรีบเช่น[[กรุงเทพ]] บางวัดจะมีการเทศนาที่วัดอย่างเดียวโดยไม่มีการจัดทำบุญตักบาตร ส่วนพระสงฆ์จะออกเดินบิณฑบาตเพื่อโปรดชาวพุทธตามปกติ
 
<gallery>
ไฟล์:Watkung 01.jpg‎|ชาวพุทธผู้ศรัทธานิยมถอดรองเท้าและนั่งกับพื้นเวลาตักบาตรเพื่อเป็นการแสดงความเคารพในทาน
ไฟล์:Making merit Buddhist holy day in Vientiane.jpg|โดยทั่วไปในวันพระนั้น พระภิกษุจะไม่ออกรับบิณฑบาต โดยพุทธศาสนิกชนจะไปตักบาตรที่วัดแทน
</gallery>
 
== เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการตักบาตร ==
[[ไฟล์:Buddhist child 13.jpg‎|right|150px|]]
* คำว่าตักบาตรนั้น สามารถที่จะเรียกว่าใส่บาตรก็ได้ ในบางที่มีคนสงสัยว่าตกลงแล้วเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตรกันแน่ - ก็ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระ แต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนจึงนำข้าวสารหรือของอื่นๆ ใส่ถุงหรือกล่อง เมื่อถึงเวลาตักบาตรจะได้สะดวกที่จะหยิบของใส่ได้ทันที คำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน - สรุปว่าใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง
* ตามปกติผู้คนจะถือว่า ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุดตามกำลังที่หาได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อพิเศษเล็กน้อยเกี่ยวกับทานที่ให้ (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) เช่น ข้าวที่ถวายพระนั้นควรจะเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ยิ่งข้าวร้อนเท่าไหร่บุญกุศลจะยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น, ถวายน้ำตาลแก่พระเพื่อที่จะส่งผลให้ชีวิตคู่มีความหวานสดชื่นดั่งน้ำตาล เป็นต้น
* นอกจากอาหารแล้ว ผู้ที่ตักบาตรสามารถนำของใช้ต่างๆ ที่พระสงฆ์จำเป็นแก่การดำรงชีพมาถวายพระได้ด้วย เช่น เครื่องเขียน, สบู่, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, น้ำยาสระผม ซึ่งน้ำยาสระผมมีผู้คนไม่น้อยที่เข้าใจว่าพระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ความจริงแล้วน้ำยาสระผมมีความจำเป็นต่อพระสงฆ์ในการทำความสะอาดหนังศีรษะ
* ปกติแล้วทานที่ให้มักจะเป็นอาหาร แต่ในบางท้องที่รูปแบบทานที่ให้บางครั้งอาจเป็นทานในรูปแบบอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทศกาลสำคัญด้วย เช่น ในวันออกพรรษาที่ จ. สระบุรี จะมีการตักบาตรดอกไม้ ผู้คนจะนำดอกไม้มาใส่บาตร หรือในเดือนยี่ที่ ต. หนองโน อ. เมืองสระบุรี จะมีพิธีตักบาตรข้าวหลามจี่ เป็นต้น
{{clear}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
{{จบอ้างอิง}}
 
{{วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย}}
 
{{เรียงลำดับ|ตักบาตร}}
[[หมวดหมู่:ทานพิธีในศาสนาพุทธ]]