ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาสามฝั่งแกน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zxcvbn~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนหัวข้อ"บรรณานุกรม" เป็น"เชิงอรรถ" และเพิ่มหัวข้อ"บรรณานุกรม"
Zxcvbn~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเชิงอรรถ
บรรทัด 1:
'''พญาสามฝั่งแกน'''เป็นเจ้าผู้ครองนครแห่ง[[ราชวงศ์เม็งราย]]ลำดับที่ 8 และเป็นลำดับที่ 32 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช ประสูติเมื่อ พ.ศ. 1941 ครองราชสมบัติ 31 ปี ทิวงคต พ.ศ. 1990 สิริพระชนมายุได้ 49 พรรษา<ref>ลำจุล ฮวบเจริญ. (2550). '''เกร็ดพงศาวดารล้านนา'''.(กรุงเทพฯ: The Knowledge Center, 2550), หน้า132.</ref>
 
== พระนามพญาสามฝั่งแกน ==
ในตำนานเก่าแก่แต่โบราณมีการเรียกนามของพญาสามฝั่งแกนต่างกันไปนาๆ เช่น “ ดิษฐกุมาร” หรือ “เจ้าดิส” ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ “พระเจ้าสามปรายงค์แม่ใน” ในตำนานไม่ปรากฏนาม และ “พญาสามประหญาฝั่งแกน” ในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ของสรัสวดี อ๋องสกุล<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. '''ประวัติศาสตร์ล้านนา'''. (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ ลิชชิ่ง,2539), หน้า 141</ref> เป็นต้น
 
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดเมธังกราวาส จังหวัดแพร่ กล่าวถึงที่มาของพระนามพญาสามฝั่งแกนว่า ทรงได้รับการตั้งพระนามตามสถานที่ประสูติ ช่วงนั้นพระราชมารดาของพระองค์ทรงครรภ์ได้ 8 เดือน เจ้าแสนเมืองมาพาไปประพาสตามหัวเมืองต่างๆ ถึงสิบสองปันนาลื้อ พอล่วง 7 เดือนผ่านไป จึงเสด็จกลับมาที่พันนาสามฝั่งแกน และประสูติราชบุตรที่นั่น ในปัจจุบันสันนิษฐานว่าอยู่ที่ ตำบลอินทขิล อำเภอ แม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ โดยบริเวณเมืองเก่านี้มีแม่น้ำสามสาย ได้แก่ 1. แม่น้ำแกน 2. แม่น้ำปิง และ3. แม่น้ำสงัด หรืองัด
 
บรรทัด 49:
ฝ่ายกองทัพฮ่อไปตั้งอยู่เมืองยองสิบสองพันนาลื้ออาฬวิเชียงรุ้ง เมืองแรมนานได้ 3 ปี ไพร่พลเมืองแตกฉานออกอยู่ป่าอยู่เถื่อน ไม่เป็นบ้านเป็นเมือง เจ้าพญาสามฝั่งแกนจึงมอบหมายให้เจ้าขุนแสนลูกพระยาวังพร้าวเป็นแม่ทัพ ยกพลขึ้นไปรบฮ่อยังเมืองยอง ฮ่อทั้งหลายก็พ่ายหนีไป เจ้าขุนแสนตามตีฮ่อไปถึงที่สุดดินแดนสิบสองพันนาแล้ว ก็กลับมาตั้งทัพอยู่เมืองยอง ให้ตั้งเวียง ณ ตำบลดอนดาบสทิศตะวันออกเมืองยองเรียกว่า เวียงเชียงใหม่ ครั้งนั้นพระยาแสนฟ้าเมืองอาฬวิเชียงรุ้งและเมืองแรมเมืองเขมรัฐ ก็มากระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นไมตรีกับเจ้าขุนแสน แล้วจึงปักปันเขตแดนแว่นแคว้นเชียงรุ้งกับเชียงแสนต่อกัน ตั้งแต่น้ำโอน้ำดำลงมาภายใต้เป็นแดนเมืองยอง และเมืองยองเป็นเมืองขึ้นเชียงใหม่แต่นั้นมา เจ้าขุนแสนจึงตั้งเจ้าเมืองยองเป็นที่พระยาอนุรุธ เป็นประธานแก่เมืองทั้งหลาย อยู่อุปัฏฐากมหาธาตุเจ้าจอมยองตามโบราณประเพณีแต่ครั้งพระยาอโสกราชตั้งไว้ และเมืองนี้เป็นเมืองอุปัฏฐากมหาธาตุเจ้ามาแต่โบราณกาล พลเมืองทั้งหลายหากเป็นข้าพระธาตุทั้งสิ้น เหตุฉะนั้น จึงไม่ต้องส่งส่วย นอกจากบรรณาการปีละครั้ง
 
เจ้าขุนแสนจัดการเมืองยองสำเร็จแล้ว ก็พาเอาเชลยฮ่อและช่างฟ้อนหอกฟ้อนดาบลงมาถวายเจ้าพญาสามฝั่งแกนยังเมืองนครพิงค์เชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่ทรงพระโสมนัสยินดียิ่งนักจึงสถาปนาเจ้าขุนแสน ให้เป็นเจ้าพระยาศรีสุวรรณคำล้านนาไชยสงครามครองเมืองชัยบุรีเชียงแสน เป็นใหญ่แก่ล้านนาเชียงแสนทั้งมวล มีอาณาเขตฝ่ายใต้ตั้งแต่น้ำตกแม่ของ ฝ่ายตะวันตกถึงริมน้ำแม่คง ฝ่ายเหนือถึงน้ำโอน้ำดำ ฝ่ายตะวันออกถึงดอยหลวงเชียงชีเป็นอาณาเขตมลฑลเชียงแสนส่วนหนึ่ง<ref>ประชากิจกรจักร์, พระยา, 2507'''พงศาวดารโยนก'''. (พระนคร : 316คลังวิทยา, 2507),หน้า 316-319</ref>
 
== สิ้นสุดสมัยพญาสามฝั่งแกน==
 
ในปีพ.ศ. 1952 ท้าวลกราชบุตรของพญาสามฝั่งแกนทรงครองเมืองพร้าวอยู่ไม่นานเท่าใด ก็ทำความผิดอาชญาจนพระบิดาทรงพิโรธ ให้นำตัวไปไว้ยังเมืองยวมใต้ ต่อมาในปีพ.ศ. 1985 ได้เกิดเหตุการณ์ กบฏท้าวลกชิงราชสมบัติ ทำให้รัชสมัยพญาสามฝั่งแกนถึงคราวสิ้นสุด
 
เส้น 126 ⟶ 125:
* ชุ่ม ณ บางช้าง.(2526).กำแพงเมืองและประตูเมืองเชียงใหม่. ใน (บก.), '''ล้านนาไทย อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ [เชียงใหม่ 2526-27]''' (หน้า80-92). เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์.
* ประชากิจกรจักร, พระยา. (2507). '''พงศาวดารโยนก'''. (พิมพ์ครั้งที่ 5). พระนคร : คลังวิทยา.
* ประชาไทย. (2548). '''มหัศจรรย์เวียงเจ็ดลิน ของดีที่ถูกลืม'''. ค้นวันที่ 4 สิงหาคม 2550, จากhttp://www.prachatai.com/05web/th/home/page2
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.phpmod=mod_ptcms01&ContentID=385&SystemModuleKey=People&System_Session_Language=Thai.
* ลำจุล ฮวบเจริญ. (2550). '''เกร็ดพงศาวดารล้านนา'''. กรุงเทพฯ: The Knowledge Center.
* สงวน โชติสุขรัตน์. (2508). '''ตำนานเมืองเหนือ'''. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.