ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7201927 สร้างโดย 110.168.218.35 (พูดคุย)
บรรทัด 20:
 
== ประวัติ ==
'''หลวงประดิษฐไพเราะ''' มีนามเดิมว่า'''ศร''' เกิดเมื่อวันที่ [[6 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2424]] ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ตำบลดาวดึงส์ [[อำเภออัมพวา|อ.อัมพวา]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม|สมุทรสงคราม]] เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง บิดาของท่านคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของ[[พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)|พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)]]<ref>[http://x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=5537 "ทำเนียบศิลปิน ท้องถิ่นอัมพวา"]</ref>
 
== ความสามารถทางดนตรี ==
ศร สามารถตีฆ้องวงใหญ่ได้เองตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เริ่มเรียนปี่พาทย์เมื่ออายุ 11 ปี ตีระนาดได้รวดเร็ว มาตั้งแต่เด็ก โดยมีบิดาเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาปี่พาทย์ให้จนกระทั่งมีความสามารถในการประชันวงถึงขั้นมีชื่อเสียงไปทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลอง จากการได้ออกแสดงฝีมือนี้เองทำให้ชื่อเสียงของนายศร เป็นที่เลื่องลือในหมู่นักดนตรีมากขึ้น โดยเฉพาะในงานใหญ่ครั้งแรก คือ "งานโกนจุกเจ้าจอมเอิบ" และ เจ้าจอมอบ ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ [[จังหวัดเพชรบุรี]]นั้น ฝีมือระนาดเอกของนายศรปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด คือ การได้ตี "ไหว" คำว่า "ไหว" นี้เป็
 
ในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวาย[[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่[[วังบูรพาภิรมย์]] ทำหน้าที่คนระนาดเอกประจำ ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นายศร ศิลปบรรเลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น''หลวงประดิษฐไพเราะ'' มีราชการในกรมมหรสพ ถือศักดินา 400<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1033.PDF พระราชทานบรรดาศักดิ์], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 5 กรกฎาคม 2468, หน้า 1033</ref> เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1151_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1151-2</ref> แล้วได้รับพระราชทานยศเป็น''หุ้มแพร'' ในวันที่ 13 กรกฎาคม ศกเดียวกัน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1152.PDF พระราชทานยศ], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1152</ref> ทั้งนี้ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน แต่เพราะฝีมือและความสามารถของท่านเป็นที่ต้องพระหฤทัยนั่นเอง
 
ครั้นถึงปี [[พ.ศ. 2469]] ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง [[กระทรวงวัง]] ท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] รวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรละออองค์เถา และ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น
ในปี [[พ.ศ. 2443]] ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวาย[[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่[[วังบูรพาภิรมย์]] ทำหน้าที่คนระนาดเอกประจำ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นายศร ศิลปบรรเลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น''หลวงประดิษฐไพเราะ'' มีราชการในกรมมหรสพ ถือศักดินา 400<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1033.PDF พระราชทานบรรดาศักดิ์], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 5 กรกฎาคม 2468, หน้า 1033</ref> เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1151_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1151-2</ref> แล้วได้รับพระราชทานยศเป็น''หุ้มแพร'' ในวันที่ 13 กรกฎาคม ศกเดียวกัน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1152.PDF พระราชทานยศ], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1152</ref> ทั้งนี้ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน แต่เพราะฝีมือและความสามารถของท่านเป็นที่ต้องพระหฤทัยนั่นเอง
 
ครั้นถึงปี [[พ.ศ. 2469]] ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง [[กระทรวงวัง]] ท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] รวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรละออองค์เถา และ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น
 
หลวงประดิษฐไพเราะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ [[8 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2497]] รวมอายุ 73 ปี
เส้น 46 ⟶ 44:
 
== ภาพยนตร์ "โหมโรง" และ ละครโทรทัศน์ "โหมโรง" ==
 
ชีวประวัติของท่านเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง'''[[โหมโรง (ภาพยนตร์)|โหมโรง]]''' ออกฉายในปี [[พ.ศ. 2547]] ซึ่งได้รับรางวัลมากมายในประเทศ และยังได้รับเลือกในฐานะ Official Selection จากประเทศไทย ในการเข้าชิงสาขาภาพยนตร์[[ภาษาต่างประเทศ]]ยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลอะแคเดมีอีกด้วย และได้รับการดัดแปลงซ้ำเป็น[[โหมโรง (ละครโทรทัศน์)|ละครโทรทัศน์]] ออกฉายทาง[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]] เมื่อ [[พ.ศ. 2555]]
 
== งาน ๑๓๐ ปีชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ ==
 
ในปี 2554 เป็นปีที่ตรงกับวาระ 130 ปี ชาตกาลของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) [[จังหวัดสมุทรสงคราม]]เป็นถิ่นกำเนิดของศิลปินด้านดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ ครู[[เอื้อ สุนทรสนาน]] [[ทูล ทองใจ]] รวมถึงหลวงประดิษฐไพเราะ หรือ ศร ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากภาพยนตร์เรื่อง "[[โหมโรง]]" และถือได้ว่าท่านเป็นตำนานดนตรีไทย โดยเฉพาะทาง “[[ระนาดเอก]]” ที่มีฝีมือดีเยี่ยม มีผลงานเพลงที่แพร่หลายฝากไว้จนถึงทุกวันนี้ ก็มีพื้นเพเป็นชาวสมุทรสงคราม
 
จังหวัดสมุทรสงครามจึงร่วมกับ [[มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)]] องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เทศบาล[[ตำบลอัมพวา]] อบต.สวนหลวง ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม และหน่วยงานต่างๆ กำหนดจัดงาน '''ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ 1''' ระหว่างวันที่ 45-7 สิงหาคม 2554 ณ อุทยาน ร. 2 โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ และ[[วัดภุมรินทร์กุฎีทอง]] เพื่อรำลึกและเชิดชูเกียรติท่าน รวมทั้งเผยแพร่ผลงานดนตรีไทยให้กับเยาวชนได้รู้จักและสืบทอดต่อไป<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000095136 รำลึกหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ในงาน "ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา" ]</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

{{เรียงลำดับ|ประดิษฐไพเราะ}}
{{อายุขัย|2424|2497}}
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง]]