ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาเก๊า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
→‎ประวัติ: 00000000000000000000
บรรทัด 69:
มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่าง[[คริสต์ศตวรรษที่ 16]] และ [[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูด[[ภาษาจีนกวางตุ้ง|ภาษากวางตุ้ง]]เป็นภาษาแม่ [[ภาษาจีนกลาง|ภาษาแมนดาริน]] [[ภาษาโปรตุเกส]] และ[[ภาษาอังกฤษ]]ก็มีพูดด้วย โดยกว้าง ๆ [[ชาวมาเก๊า]] (''Macanese'') หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง [[ชนพื้นเมือง]]ในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว สิ่งดึงดูดใจของมาเก๊าอีกอย่างหนึ่งคือ อุตสาหกรรม[[การพนัน]]และ[[กาสิโน]] นักพนันจาก[[ฮ่องกง]]มักจะเดินทางวันเดียวไปมาเก๊า โดยมีบริการเรือโดยสารระหว่างมาเก๊าและฮ่องกงตลอดวันทุกวัน
 
== ประวัติ ==
มาเก๊าเริ่มมีความสำคัญในช่วงเวลาที่มหาอำนาจยุโรปขยายอำนาจทั้งทางการเมืองและการค้าเข้ามายัง[[เอเชีย]] โปรตุเกสได้เริ่มสำรวจเส้นทางการค้าเข้ามาในเขตเอเชียและทำการค้ากับจีน [[ญี่ปุ่น]] และ[[เกาหลี]] พ่อค้าและนักเดินเรือชาวโปรตุเกส ได้ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่มาเก๊าเป็นจำนวนมาก ทำให้มาเก๊ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างโปรตุเกสกับจีน ในช่วงแรกโปรตุเกสได้ทำสัญญาเช่ามาเก๊าจากจีน ต่อมาก็ประกาศให้มาเก๊าเป็นส่วนหนึ่งใน[[จังหวัดโพ้นทะเลของโปรตุเกส]] (Overseas province of Portugal) โดยที่จีนไม่ได้ตอบรับอย่างเป็นทางการ จนกระทั่ง [[พ.ศ. 2430]] จีนยกดินแดนมาเก๊าให้โปรตุเกสอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นการตอบแทนที่โปรตุเกสช่วยจีนปราบปรามโจรสลัดในเขตทะเลจีนใต้
 
เมื่อปี พ.ศ. 2517 รัฐบาลโปรตุเกสได้ให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคมของตนทั้งหมด โปรตุเกสแสดงเจตจำนงแน่วแน่ที่จะคืนดินแดนมาเก๊าให้แก่จีน และประกาศรับรองอย่างเป็นทางการว่าจีนมีอธิปไตยเหนือมาเก๊า อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาดังกล่าว [[จีน]]มีภารกิจในการเจรจาเรื่องการรับมอบ[[ฮ่องกง]]จาก[[อังกฤษ]] จึงไม่ได้เข้ามาจัดการเรื่องปัญหามาเก๊า [[โปรตุเกส]]จึงประกาศรับรองสถานะของมาเก๊าเพียงฝ่ายเดียว ในปี พ.ศ. 2522 จีนกับโปรตุเกสได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูต และจีนได้รับรองอย่างเป็นทางการว่า ดินแดนมาเก๊าเป็นดินแดนของจีนภายใต้การบริหารของโปรตุเกส จนถึงวันที่ [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2542]] โปรตุเกสได้ส่งมอบมาเก๊าคืนแก่จีน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะใช้ระบบ “หนึ่งประเทศสองระบบ” (one country, two systems) และมาเก๊ามีสถานะเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนเป็นเวลา 50 ปี ไปจนถึงปี พ.ศ. 2592 หรือ ค.ศ. 2049 มาเก๊าจะกลับสู่การปกครองของจีนอย่างเต็มรูปแบบเหมือนเมืองอื่นในจีนทั่วไป
 
== ประชากร ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มาเก๊า"