ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอสีติมหาสาวก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
== หลักการเลือกพระอสีติมหาสาวก ==
หลักการโดยเลือกพระสาวก 80 รูปแล้วจัดเป็นพระอสีติมหาสาวก จากการเลือกพระสาวกแล้วจึงจัดเป็นพระมหาสาวกก่อน โดยยึดถือตามคุณธรรม และความสามารถ คือความชำนาญในอภิญญาสมาบัติ และความแตกฉานใน ปฏิสัมภิทาเป็นหลัก โดยไม่เกี่ยวกับพรรษา และอายุ และด้วยเหตุนี้เองจึงปรากฏว่าได้จัดฆราวาสที่เป็นพระอรหันต์เข้าเป็นพระมหาสาวกด้วย 1 ท่านคือพระพาหิยะ
ส่วนการคัดเลือกแล้วจัดให้เป็นพระอสีติมหาสาวกนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า [[กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] ทรงวินิจฉัยไว้โดยทรงเสนอเกณฑ์สำหรับพิจารณา ไว้ว่า พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นเอตทัคคะสงเคราะห์พระปัญจวัคคีย์ 4 พระองค์เข้าด้วย พระอุรุเวลกัสสปะ สงเคราะห์พระกัสสปะน้องชายอีก 2 พระองค์เข้าด้วย พระโมฆราชเป็น เอตทัคคะสงเคราะห์พระคณะเดียวกัน อีก 15 พระองค์เข้าด้วย อีกเกณฑ์หนึ่ง สงเคราะห์พระสาวกผู้มีชื่อระบุไว้ในเริ่มประกาศพุทธศาสนา แต่ไม่ได้ระบุอยู่ในจำนวน เอตทัคคะ คือ พระยสะกับพระสหายอีก 4 พระองค์ โดย 2 เกณฑ์นี้ได้พระสาวก [[เอตทัคคะ]] 41 พระสาวกสหจรแห่ง เอตทัคคะ ๒๓ พระองค์ ในเริ่มแรกประกาศพระพุทธศาสนา 1 สหจร 4 รวมเป็น 69 พระองค์ อีก 11 พระองค์เป็นพระสาวกที่จัดเข้าโดยหาเกณฑ์มิได้ แต่มีนามระบุอยู่ในช่วงกลางของการประกาศพระพุทธศาสนาบ้าง ในช่วงท้ายของการประกาศพระพุทธศาสนาบ้าง จากหลักการเลือกที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงวินิจฉัยไว้นี้ สรุปได้ว่า
 
ส่วนการคัดเลือกแล้วจัดให้เป็นพระอสีติมหาสาวกนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า [[กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] ทรงวินิจฉัยไว้โดยทรงเสนอเกณฑ์สำหรับพิจารณา ไว้ว่า
# กำหนดเอาพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะเป็นหลัก แล้วรวมพระสหจรในกลุ่มของท่านเข้าด้วยนี้เป็นเกณฑ์แรก ส่วนเกณฑ์ที่ 2 กำหนดเอาพระสาวกผู้มิได้เป็นเอตทัคคะ แต่มีชื่อระบุไว้ในปฐมโพธิกาล ตามหลักการเลือกนี้ เกณฑ์แรก ได้พระสาวก 64 รูป เกณฑ์ที่ ๒ ได้พระมหาสาวกอีก 5 รูป รวมเป็นได้พระมหาสาวก 69 รูป
* พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นเอตทัคคะ (สงเคราะห์พระกลุ่มปัญจวัคคีย์ อีก 4 องค์เข้าด้วย)
* พระอุรุเวลกัสสปะ (สงเคราะห์พระกัสสปะน้องชายอีก 2 องค์เข้าด้วย)
* พระโมฆราชเป็นเอตทัคคะ (สงเคราะห์พระคณะเดียวกัน อีก 15 องค์เข้าด้วย)
อีกเกณฑ์หนึ่ง สงเคราะห์พระสาวกผู้มีชื่อระบุไว้ในเริ่มประกาศพุทธศาสนา แต่ไม่ได้ระบุอยู่ในจำนวนเอตทัคคะ คือ พระยสะกับพระสหายอีก 4 พระองค์
 
โดย 2 เกณฑ์นี้ได้พระสาวก [[เอตทัคคะ]] 41 พระสาวกสหจรแห่งเอตทัคคะ 23 องค์ ในเริ่มแรกประกาศพระพุทธศาสนา 1 สหจร 4 (รวมเป็น 69 องค์) ส่วนพระสาวกอีก 11 องค์ เป็นพระสาวกที่จัดเข้าโดยหาเกณฑ์มิได้ แต่มีนามระบุอยู่ในช่วงกลางของการประกาศพระพุทธศาสนาบ้าง ในช่วงท้ายของการประกาศพระพุทธศาสนาบ้าง
 
จากหลักการเลือกที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงวินิจฉัยไว้นี้ สรุปได้ว่า
 
# กำหนดเอาพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะเป็นหลัก แล้วรวมพระสหจรในกลุ่มของท่านเข้าด้วยนี้เป็นเกณฑ์แรก ส่วนเกณฑ์ที่ 2 กำหนดเอาพระสาวกผู้มิได้เป็นเอตทัคคะ แต่มีชื่อระบุไว้ในปฐมโพธิกาล ตามหลักการเลือกนี้ เกณฑ์แรก ได้พระสาวก 64 รูป เกณฑ์ที่ 2 ได้พระมหาสาวกอีก 5 รูป รวมเป็นได้พระมหาสาวก 69 รูป
# ที่เหลืออีก 11 รูปนั้น จัดเข้าโดยไม่มีหลักเกณฑ์ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงวินิจฉัยว่า คงเป็นด้วยต่างอาจารย์ต่างเลือกกันจัดเข้าตามมติของตน เพื่อให้ครบ จำนวน 80 จึงต่างรายชื่อกัน”
 
เส้น 21 ⟶ 30:
ทั้งนี้เพราะธัมมปทัฏฐกถา ก็ดี สุมังคลวิลาสินี ก็ดี ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีคำว่า “มหาสาวก” และ ‘อสีติมหาสาวก’ ปรากฏอยู่ล้วนเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในลังกา หรือในยุคที่การศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกากำลังรุ่งเรือง โดยพระอรรถกถาจารย์ผู้มีชื่อเสียงคือพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี พ.ศ. 900-1000 พุทธศาสนิกชนในยุคนั้นและยุคต่อมาทั้งพระและฆราวาส ต่างนิยมยกย่องในตัวพระอสีติมหาสาวกมาก คัมภีร์มหาวงศ์กล่าวว่า
 
พระเจ้าพุทธทาสแห่งลังกามีพระราชบุตร 8 องค์ล้วนทรงสุรภาพแกล้วกล้าการรณรงค์สงคราม ทรงขนานนามพระกุมารนั้นตามพระอัชฌาสัยของพระองค์ให้คงนามพระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย พระเจ้าพุทธทาสองค์นี้ ได้แวดล้อมด้วยพระราชบุตรทั้งหลายอันทรงพระนามตาม พระอสีติมหาสาวกว่า สารีบุตร เป็นอาทิ พระองค์ทรงรุ่งเรืองอยู่ ดูประหนึ่งว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น
 
== รายนามพระอสีติมหาสาวก ==